Author Topic: โรคเก๊าท์ ที่แสนจะเจ็บปวด  (Read 8421 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


เทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ กำลังจะมาถึง ซึ่งแน่นอนว่า การรวมญาติมิตรเป็นสิ่งที่หลายบ้านทำกันเป็นธรรมเนียม

และอีกสิ่งที่ลูกหลานมักได้ยินจากในวงข้าว คงหนีไม่พ้นคำบ่นจากอาการเจ็บปวดออดๆ แอดๆ ของข้อเข่าข้อขา ที่ผู้หลักผู้ใหญ่พูดกันไม่หยุดปาก

สำหรับอาการปวดข้อส่วนใหญ่ มักมากจาก โรคเก๊าท์ ซึ่งในวันนี้ อีแมกกาซีนขอชวนคุณมาทำความรู้จักกับโรคนี้ เพื่อเป็นการป้องกันตนเอง และดูแลคนที่คุณรัก

โรคเก๊าท์ คืออะไร

โรคเก๊าท์ เกิดจากภาวะที่กรดยูริคในเลือดมีปริมาณสูงเกินไป โดยเกินกว่าที่จะอยู่ในเลือดของรูปสารละลายได้ จึงมีการตกตะกอนสะสมอยู่ตามที่ต่างๆ โดยเฉพาะในอวัยวะที่มีอากาศเย็นกว่าบริเวณอื่นย เช่น ตามข้อ ทำให้ข้ออักเสบ หรือ ตามศอก นิ้ว ติ่งหู ตาตุ่ม หลังเท้า จนทำให้ปุ้มก้อนเกิดขึ้น

สำหรับสาเหตุของโรคก็มาจากร่างกายมีกรดยูริคสูงเกินเป็นเวลานาน ผู้ชายระดับยูริคจะสูงตั้งแต่ในช่วงวัยรุ่น แต่ผู้หญิงด้วยฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศจะทำให้ไม่สูงมากนัก แต่จะสูงขึ้นเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน อย่างไรก็ตามระดับยูริคที่สูงจะไม่ทำให้เกิดอาการ แต่จะสะสมให้ตกตะกอน จนเริ่มมีอาการทางข้อเมื่อกรดยูริคในเลือดสูงไปประมาณ 10-20 ปีแล้ว

ทั้งนี้ ยูริคในเลือดที่สูงกว่าร้อยละ 90 ซึ่งเกิดจากร่างกายผลิตเอง ไม่มีความจำเป็นให้ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ต้องงดอาหารที่มียูริคสูง เนื่องจากการกินอาหารที่มียูริคสูง เช่น เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก ก็ไม่ได้ทำให้เกิดโรคเก๊าท์แต่อย่างใด และโรคเก๊าท์ที่พบมากในผู้ป่วยสูงอายุก็มักมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง ซึ่งจำเป็นต้องงดอาหารหวาน อาหารเค็มอยู่แล้ว การให้ผู้ป่วยเก๊าท์งดอาหารบางประเภทลงอีก อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารอะไรได้เลย จนเหมือนการทรมานผู้ป่วย

กรดยูริคในร่างกาย?

กรดยูริคในร่างกายเกิดจากกสารพิวรีน หรือนิวคลิโอโปรตีน ที่เป็นส่วนประกอบของอาหารที่บริโภค โดยเป็นกรดยูริคที่เกิดจากสาเหตุภายนอก จำนวนพิวรีนที่เกิดจากอาหารบริโภคจะเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนพิวรีนที่มีในอาหาร ถ้าบริโภคอาหาร เครื่องในสัตว์จะทำให้มีกรดยูริคสูงขึ้น อาหารบางชนิดกระตุ้นให้ระบบทางเดินอาหารให้ทำงานเพิ่มมากขึ้นจะทำให้มีกรดยูริคเพิ่มมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า กรดยูริคจะเปลี่ยนแปลงไปตามอาหารบริโภคที่มีโปรตีน การออกกำลังกาย และตามการทำงานของต่อมต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร

นอกจากนี้ ยังเกิดจากสารพิวรีน ที่ได้จากการสลายตัวของพวกเซลล์ของอวัยวะในร่างกาย เป็นกรดยูริคที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย โดยกรดยูริคที่เกิดจากส่วนนี้ ย่อมจะเปลี่ยนไปตามการสลายตัวของอวัยวะ เช่น เซลล์มีการทำงานมากขึ้น หรือมีการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น

อาการของโรค

อาการของเก๊าท์ที่สำคัญคือ ข้ออักเสบ ซึ่งมักเกิดบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า หรือข้อเท้า โดยข้อที่อักเสบจะบวม แดง ร้อน และปวดมาก แต่ถ้าข้อที่ปวด ไม่บวม แดง ร้อน หรือมีอาการไม่ชัดเจนอาจไม่ใช่เก๊าท์ โดยมากอาการของโรคมักเป็นข้อเดียวและมีอาการอักเสบอยู่ประมาณ 5-7 วัน อาการจะค่อยๆ ทุเลาไปจนหายสนิท ระหว่างที่ไม่มีอาการจะไม่มีความผิดปกติใดๆ ให้เห็น เมื่อข้ออักเสบขึ้นใหม่จะมีอาการเช่นเดิมอีก ซึ่งอาการจะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นมากขึ้น อาการข้ออักเสบก็จะเป็นมากขึ้นหลายข้อ นอกจากนี้ ยังอาจเป็นนานและรุนแรงขึ้น รวมทั้งเกิดปุ่มก้อนของยูริคสะสมมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยในระยะนี้มีโอกาสเป็นไตวายร่วมด้วย

เก๊าท์ รักษาได้

สำหรับโรคเก๊าท์จะแบ่งการรักษาออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่

1.การรักษาข้ออักเสบ

ในช่วงนี้แพทย์จะใช้ยาลดการอักเสบของข้อก่อน โดยใช้ยาโคลชิซิน หรือยาแก้ปวดลดอักเสบ เพื่อลดอาการปวดข้อและอักเสบ จนกว่าจะหายปวด นอกจากนี้ ผู้ป่วยเก๊าท์ในระยะข้ออักเสบ ห้ามนวดบริเวณที่ปวดเด็ดขาด เพราะจะทำให้ข้ออักเสบรุนแรงขึ้นและหายช้าลงได้

2.ลดกรดยูริคในเลือด

เป็นการใช้ยาลดกรดยูริคในผู้ป่วยที่มีข้ออักเสบมากกว่า 1 ครั้ง โดยการกินยาดังกล่าวจำเป็นต้องกินยาต่อเนื่องสม่ำเสมอไปนานหลายปี ทั้งนี้เพื่อลดระดับยูริคในเลือดลง ทำให้ตะกอนยูริคที่สะสมอยู่ละลายออกจนหมดผู้ป่วยจะสามารถหายจากโรคเก๊าท์ได้ แต่ก็มีข้อควรระวังคือ ยาลดกรดยูริค มีผลข้างเคียงที่แม้จะพบไม่มาก แต่อาจทำให้เกิดผื่นแพ้ยารุนแรง นอกจากนี้ การกินยาไม่สม่ำเสมอยังเสี่ยงต่อการแพ้ยามาก ดังนั้น ผู้ป่วยที่ไม่สามารถจะกินยาสม่ำเสมอได้ ไม่แนะนำให้กินยาดังกล่าว

สำหรับผู้ที่เป็นเก๊าท์แล้ว อาจต้องเคร่งครัดทำตามคำสั่งของแพทย์ แต่ถ้าโรคเก๊าท์ยังไม่มาเยือน คุณก็สามารถป้องกันได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหาร ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น โปรดติดตามอีแมกกาซีนกันให้ดีๆ

ลิขสิทธิ์บทความของ e-magazine.info

ติดตามบทความ สุขภาพ หรืออ่าน แมกกาซีน

ที่มาข้อมูล : www.e-magazine.info


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)