Author Topic: เอเรียนสเปซระบุ 'ไทยคม6' เสี่ยงสูงหากใช้บริการจรวดราคาถูก  (Read 959 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


เอเรียนสเปซ โชว์ศักยภาพผู้นำจรวดดาวเทียม 18 ดวงต่อปี หลังย้ายฐานปล่อยโซยุสมาที่เฟรนซ์เกียนา ขณะที่ตลาดโลกมีการปล่อยดาวเทียมอยู่ที่ 26 ดวง ระบุไทยคม6 มีความเสี่ยงถึง 30% หากใช้บริการจรวดมือใหม่ ถึงแม้ราคาจะถูกกว่ามาก พร้อมหาสล็อตให้หากเปลี่ยนใจ
       
       นายริชาร์ด โบว์ส ผู้อำนวยการประจำภูมิภาค เอเรียนสเปซ กล่าวว่า ในวันที่ 20 ต.ค. จะเป็นวันเริ่มปฎิบัติการในการปล่อยจรวดโซยุสที่เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับรัสเซีย ภายใต้โครงการสตาร์เซ็ม ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2539 สำหรับปล่อยจรวดที่มีพิสัยบรรทุกขนาดกลาง เป็นครั้งแรกจากฐานปล่อยจรวดที่ศูนย์อวกาศเกียน่า ณ เฟรนซ์เกียนา
       
       ก่อนหน้านี้จะการปล่อยจรวดดังกล่าวจะกระทำที่ฐานปล่อยจรวดเมืองไบโคนูร์ ประเทศคาซัคสถาน ภายในจรวดจะปล่อยดาวเทียมระบบนำทางของยุโรปที่ชื่อกาลิเลโอ IOV-1 PFM และดาวเทียม FM2 ที่มีชื่อว่า ทิอิส กับนาตาเลีย เข้าสู่วงโคจรโลกที่ระดับความสูงกว่า 23,000 กิโลเมตร โดยดาวเทียมทั้ง 2 สร้างขึ้นจากกลุ่มบริษัทที่นำโดยแอสเทรียม จีเอ็มบีเอช
       
       สาเหตุที่มีการย้ายการยิงจรวดโซยุสมานั้น มีหลายๆ สาเหตุ ตั้งแต่ทำเลที่ตั้งของเฟรนซ์เกียนาถืออยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรที่สุด ทำให้การบังคับให้ดาวเทียมเข้าสู่ตำแหน่งวงโคจรทำได้ง่ายและประหยัดเชื้อเพลิงของตัวดาวเทียมในการบังคับเข้าสู่วงโคจรที่ต้องการ
       
       ต่อจากนี้ไป ทางเอเรียนสเปซได้ย้ายฐานทั้งหมดเกี่ยวกับการยิงจรวดโซยุสที่เกิดจากโครงการ สตาร์เซ็ม มาที่เฟรนซ์เกียนาทั้งหมด เมื่อรวมกับการเตรียมความพร้อมในการสร้างฐานยิงจรวดขนาดเล็กที่เรียกว่า เวก้าที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปีหน้า ก็จะทำให้ฐานปล่อยจรวดที่เฟรนซ์เกียนากลายเป็นฐานปล่อยจรวดที่พร้อมที่สุด
       
       โดยสามารถปล่อยจรวดได้ตั้งแต่ขนาดเล็ก ขนาดกลางด้วยจรวดโซยุส และขนาดใหญ่กับจรวดเอเรียน 5
       
       นายริชาร์ดกล่าวอีกว่า การมีโซยุสเข้ามาน่าจะทำให้เอเรียนสเปซมีศักยภาพในการปล่อยจรวดที่สูงขึ้น 10-15% โดยในปีแรกนี้คาดว่าจะมียิงจรวดที่บรรจุดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรประมาณ 2-4 ดวง แต่ในอนาคตเชื่อว่าจะมีจำนวนที่เพิ่มขึ้น เมื่อรวมกับขีดความสามารถในการยิงจรวดเอเรียน 5 ในแต่ละปีประมาณ 7 ครั้ง แต่ละครั้งบรรจุดาวเทียมขนาดใหญ่ได้ถึง 2 ดวง
       
       ทำให้เอเรียนสเปซมีความสามารถในการปล่อยดาวเทียมตกประมาณปีละ 16-18 ดวง ขณะที่จำนวนดาวเทียมทั่วโลกที่มีการปล่อยสู่วงโคจรในแต่ละปีตกอยู่ประมาณ 20-25 ดวง ส่งผลให้ทางเอเรียนสเปซมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 50% เป็นอันดับหนึ่งของโลก ตามมาด้วยบริษัทในรัสเซียที่ใช้จรวดชื่อไอแอลเอสที่มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 40% ที่เหลือเป็นรายเล็กๆ ที่มีการยิงจรวดไม่มากนัก
       
       “ที่ผ่านมาเอเรียนสเปซยิงดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรไปแล้วกว่า 298 ดวง โดยมากกว่า 50% เป็นดาวเทียมเชิงพาณิชย์ ขณะที่จรวดโซยุสประสบความสำเร็จมาแล้วถึง 23 ครั้ง”
       
       ส่วนกรณีที่ทางประเทศไทยมีแผนที่จะยิงดาวเทียมไทยคม 6 ขึ้นสู่วงโคจรประมาณปี 2556 (ค.ศ.2013) โดยไปใช้บริการของจรวดที่ชื่อ สเปซเอ็กซ์ ไม่ใช่เอเรียนสเปซซึ่งทางบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ใช้บริการมาตั้งแต่ไทยคม 1 จนถึงไทยคม 5 นั้น นายริชาร์ด ให้ความคิดเห็นว่า น่าจะเป็นเรื่องงบประมาณที่จำกัด ซึ่งทางเอเรียนสเปซก็เคารพในการตัดสิน
       
       "แต่ก็ถือเป็นความเสี่ยงเหมือนกันกับการที่เลือกจรวดที่ยังไม่เคยยิงขึ้นสู่ท้องฟ้า โดยทั่วไปแล้ว ความเสี่ยงจากการยิงจรวดครั้งแรกจะอยู่ประมาณ 30% กว่าจะรู้ผลก็ต้องยิงขึ้นก่อนถึงจะรู้"
       
       ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการยิงดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรแต่ละครั้งจะตกเฉลี่ย 100 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะต้องขึ้นอยู่กับน้ำหนักของดาวเทียมด้วย
       
       นายริชาร์ด กล่าวต่อว่า การเข้ามาพูดถึงการย้ายฐานยิงจรวดโซยุสครั้งนี้ในประเทศไทย ส่วนหนึ่งก็เพื่อที่จะสื่อสารว่า ทางเอเรียนสเปซมีศักยภาพในการยิงจรวดไม่ว่าจะเป็นขนาดกลางหรือใหญ่ ในกรณีที่ประเทศไทยอาจจะเปลี่ยนใจมาใช้บริการของเอเรียนสเปซในภายหลัง ซึ่งรวมถึงความพร้อมที่จะจัดสรรช่วงเวลาในการปล่อยจรวดซึ่งค่อนข้างจะเต็มให้กับไทยคม6 ได้
       
       “ถ้าหากไทยคม 6 ต้องการใช้บริการของบริษัท ก็สามารถที่จัดสรรหาสล็อตวันในการยิงให้ได้”
       
       Company Relate Link :
       Ariane Space

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)