Author Topic: เคราะห์ซ้ำกรรมซัด “โซนี่” ปิดโรงงาน-โดนแฮก-ขาดทุนยับ  (Read 1150 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      โซนี่ (Sony) ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สัญชาติญี่ปุ่นรายงานผลประกอบการปี 2010 ขาดทุนยับเยิน 2.59 แสนล้านเยน (ราว 9.6 หมื่นล้านบาท) คาดว่าจะเริ่มกลับมามีกำไรอีกครั้งปี 2011 ไม่หวั่นใจแม้จะมีมรสุมข่าวโดนแฮกเกอร์ถล่มต่อเนื่องทั่วโลก รวมถึงการถูกสั่งปิดโรงงานผลิตสินค้าในประเทศญี่ปุ่นหลังโศกนาฏกรรมแผ่นดินไหวและสึนามิ ซึ่งทำให้สูญเงินหลายหมื่นล้านเยน
       
       มาซารุ คาโตะ (ในภาพ) ประธานฝ่ายการเงินของโซนี่ แถลงรายละเอียดผลประกอบการปี 2010 ซึ่งสิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2011 ที่ผ่านมาว่า แม้ความเสียหายจากการปิดโรงงานในประเทศญี่ปุ่นเพราะเหตุแผ่นดินไหวและสึนามินั้นเป็นหนึ่งในเหตุที่ทำให้โซนี่ขาดทุนสูงในปีนี้ แต่โซนี่ก็สามารถทำยอดขายและกำไรจากการดำเนินงานได้สูงขึ้นต่อเนื่อง ทั้งหมดนี้คาดว่าโซนี่จะสามารถกลับมาทำกำไรทะลุ 8 หมื่นล้านเยน (ราว 2.96 หมื่นล้านบาท) ได้ในปีนี้ ซึ่งจะสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2012|
       
       “แม้จะขาดทุน แต่กำไรจากการดำเนินงานของโซนี่นั้นเพิ่มขึ้นเป็น 1.99 แสนล้านเยน จาก 3.18 หมื่นล้านเยนในปีก่อน เช่นเดียวกับยอดขายที่เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งแม้จะมีผลกระทบด้านลบจากเหตุแผ่นดินไหว แต่โซนี่ก็สามารถทำยอดขายทีวี LCD และอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ได้เพิ่มขึ้น”
       
       การประกาศตัวเลขขาดทุนนี้ถือเป็นข่าวร้ายของโซนี่ หลังจากการเคราะห์ร้ายถูกภัยแผ่นดินไหวและสึนามิเล่นงานจนทำให้โซนี่ต้องสั่งปิดโรงงานผลิตเครื่องเกมเพลย์สเตชัน (PlayStation) และทีวีในประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา โรงงานผลิตสินค้าที่เสียหายทำให้มูลค่าสินทรัพย์บริษัทมีมูลค่าลดต่ำลงแบบก้าวกระโดด แถมห่วงโซ่การผลิตยังเสียหาย และส่งผลต่อการสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งความเสียหายเหล่านี้ถูกคำนวณแล้วในไตรมาสที่ 4 ที่ผ่านมา
       
       เบื้องต้นคาดว่าโซนี่จะได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นราว 2.2 หมื่นล้านเยน (ราว 8.1 พันล้านบาท) คาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายตามมาอีก 1.2 หมื่นล้านเยนซึ่งเกี่ยวข้องกับโรงงานและการประกันภัยในอนาคต
       
       โซนี่แถลงการณ์ด้วยความมั่นใจว่า ยอดจำหน่ายสินค้าโซนี่ในปีนี้ (เริ่มต้นวันที่ 1 เมษายน 2011) จะทะลุ 7.5 ล้านล้านเยน คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้น 4.4% ไม่หวั่นใจแม้โซนี่จะยังมีปัญหาความปลอดภัยในระบบบริการ PlayStation Network และ Sony Online Entertainment เพราะปัญหาคารังคาซังระหว่างโซนี่กับกลุ่มแฮกเกอร์ในสหรัฐฯ ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าจะทำให้โซนีได้รับผลกระทบอย่างมากเพราะขาดความน่าเชื่อถือจากผู้บริโภค
       
       เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปที่กรณีพิพาทระหว่างโซนีและ “จอร์จ ฮอตซ์” แฮกเกอร์ชื่อดังซึ่งพยายามเจาะระบบเครื่องเล่นเกม โซนี่ เพลย์สเตชัน 3 โดยนำส่วนที่ใช้เก็บข้อมูลของระบบรักษาความปลอดภัยที่อยู่ในเฟิร์มแวร์เพลย์สเตชัน 3 ซึ่งเรียกว่า “รูทคีย์” ออกมาเผยแพร่บนโลกออนไลน์เพราะต้องการให้ผู้ใช้รายอื่นสามารถทลายข้อจำกัดที่โซนี่พยายามเอาเปรียบผู้บริโภคด้วยการปิดกั้นไม่ให้ผู้ใช้สามารถดัดแปลงระบบได้เอง ทำให้โซนี่ คอมพิวเตอร์ เอนเตอร์เทนเมนต์ อเมริกา ได้ยื่นฟ้องจอร์จ ฮอตซ์ รวมถึงเพื่อนแฮกเกอร์เมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งแม้จะยอมความได้แล้วเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม แต่สงครามระหว่างแฮกเกอร์กับโซนี่ก็ยังเกิดขึ้นต่อเนื่องในขณะนี้
       
       ไม่ว่าโซนี่จะพยายามออกเฟริมแวร์มาอุดช่องโหว่ที่บรรดาแฮกเกอร์ได้สร้างไว้ รวมถึงการระงับบัญชีผู้ใช้ที่ออนไลน์บนเครื่องเกมที่ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ก็ไม่เป็นผลเพราะระบบบริการ PlayStation Network และ Sony Online Entertainment ก็ยังถูกเจาะจนทำให้ข้อมูลผู้ใช้งานและรหัสผ่านกว่า 100 ล้านบัญชีถูกแฮกไป โดยตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีข่าวการถูกแฮกเกอร์เจาะระบบเว็บไซต์โซนี่มิวสิคประเทศกรีซ และญี่ปุ่น เว็บไซต์โซนี่อีริคสันแคนาดา ไม่เว้นแม้แต่เว็บไซต์โซนีไทยก็ถูกเจาะระบบเพื่อใช้เป็นฐานในการขโมยข้อมูลบัตรเครดิตลูกค้าโซนีเช่นกัน ทั้งหมดนี้มีการประเมินว่าจะทำให้โซนี่เสียหายไปมูลค่ามากกว่า 170 ล้านเหรียญสหรัฐ
       
       ผู้บริหารโซนี่ไม่กล่าวถึงผลกระทบด้านลบจากปัญหาการถูกแฮกระบบที่เกิดขึ้น โดยระบุเพียงว่าธุรกิจที่อาจจะไม่ทำกำไรในปีนี้ คือ ธุรกิจทีวี เนื่องจากการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงในตลาด เบื้องต้นคาดว่าผลิตภัณฑ์หลักที่จะทำรายได้ให้โซนี่ในปีนี้คือ ชิปเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งปีนี้โซนี่จะยังเน้นการจัดการแบบดั้งเดิมคือการลดต้นทุนทั้งการผลิตและต้นทุนคงที่ รวมถึงการผลิตสินค้านำสมัยเพื่อให้สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูงกว่า
       
       Company Related Link :
       Sony

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)