Author Topic: ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 4 ยุทธหัตถี  (Read 2865 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai

<a href="https://www.youtube.com/watch?v=w5qzEboH9kc" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=w5qzEboH9kc</a>

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 4 ยุทธหัตถี ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 4 ยุทธหัตถี ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 4 ยุทธหัตถี


ชื่ออังกฤษ   King Naresuan 4
ชื่อไทย   ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 4 ยุทธหัตถี
ประเภทหนัง   Epic/History
ผู้กำกับ   -
ผู้แต่ง   -
วันที่เข้าฉาย   26 May 2011
ความยาวหนัง   -
นักแสดง   -
เรทภาพยนตร์ - ไทย
(ดูรายละเอียด)   ภาพยนตร์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้และควรส่งเสริมให้มีการดู
เรทภาพยนตร์ - สากล   -
สถานที่ถ่ายทำ   -
ภาษา   -
เว็บไซต์   -
    
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 4 ยุทธหัตถี | เรื่องย่อ
          พูทธศักราช 2124 พระเจ้านันทบุเรง หรือ นานเตี๊ยบาเยง ได้ขึ้นเสวยราชย์เหนือแผ่นดินพุกามประเทศสืบต่อจากพระเจ้าหงสาวดีช้างเผือกบุเรงนอง นับแต่วันที่ก้าวขึ้นครองบัลลังก์ พระองค์ได้ทรงตั้งปณิธานว่าจะแผ่ผ่านกฤดาภินิหารมิให้เป็นรองพระราชบิดา เมื่ออยุธยาประเทศแยกตัวเป็นเอกราช พระองค์จึงจำต้องยาตราทัพไปกำราบปราบลงมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง ภารกิจนี้นับเป็น “การแผ่นดิน” แต่ลึกลงไปในมโนสำนึกของนันทบุเรงนั้นยังหมายพระทัยจะเอาชนะแต่เฉพาะ พระนเรศซึ่งเป็นเสมือนคู่ปรับต่างวัย ภารกิจนี้เป็น “เรื่องส่วนตัว” ที่พัวพันกลืนไปกับกิจของแผ่นดิน และเหนือสิ่งอื่นใดยังตั้งพระทัยที่จะเอาชนะใจพระสุพรรณกัลยา ผู้เป็นองค์ประกันในแผ่นดินของพระองค์เอง โดยทางหนึ่งนั้นพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงต้องรบทั้ง “ศึกนอก” ในต่างแดน ขณะที่ อีกทางหนึ่งก็ต้องรับ “ศึกใน” เพื่อชนะใจพระพี่นางในพระนเรศ มิให้น้อยหน้าหรือเป็นรอง พระราชบิดา ศึกนอกศึกใน-ศึกรบศึกรักนี้เข้มข้นยิ่งนัก

          ศึกนันทบุเรงในปีพุทธศักราช 2127 เป็นศึกใหญ่ ไพร่พลพม่ารามัญที่ยกมารวมแล้ว ไม่ต่ำกว่า 240,000 คน สมเด็จพระนเรศจึงทรงใช้พระนครศรีอยุธยาเป็นชัยภูมิรับศึก ด้วยทรงเห็นว่าเป็นต่อด้านที่ตั้ง และเมื่อทัพข้าศึกเข้าเหยียบชานพระนครก็ทรงใช้ยุทธวิธีตั้งรับในเชิงรุก ผสานกลศึกการรบที่แหวกจารีตของพระองค์ในหลายคราว ไม่ว่าจะเป็นการนำทัพเรือนหมื่นคาบพระแสงดาบขึ้นหักค่ายพม่า หรือเมื่อต้องสัประยุทธ์กับคู่ปรับเก่า “ลักไวทำมู” ผู้มีเพลงรบเป็นเลิศ โดยฝ่ายพม่าใช้กลพยุหะ “ฉนาง” ที่แฝงความพลิกแพลงอัศจรรย์ด้วยการประสานกำลังทหารดาบดั้งและหอกใหญ่เป็นพิชัยยุทธ เพื่อล้มทัพม้าและล้อมจับพระนเรศ

          แต่แล้วราชันพม่าก็พ่ายศึกพระนเรศย่อยยับ ความปราชัยในครั้งนั้นได้โหมไฟแค้นของ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงเป็นเท่าทวี เมื่อมิอาจระบายโทสะกับผู้ใดในแผ่นดินอยุธยาได้ พระองค์ก็หันมาชำระแค้นกับพระสุพรรณกัลยาองค์เชลย บำบัดอารมณ์รักที่ไม่สมหวังและอารมณ์แค้นที่ คุกรุ่นลงในคราวเดียว

          ท้ายที่สุด พระเจ้านันทบุเรงก็ทรงมีบัญชาให้พระมหาอุปราชา-ยุพราชแห่งหงสาวดียกทัพไปตีกรุงศรีอยุธยาเป็นการล้างแค้นในปีพุทธศักราช 2135 สงครามในครั้งนั้นเป็นที่รู้จักกันในนาม “สงครามยุทธหัตถี” การที่พระเจ้านันทบุเรงมิได้ทรงยกทัพไปกระทำการด้วยพระองค์เอง ก็ด้วยทรงบาดเจ็บสาหัสในศึกครั้งก่อนและพระอาการก็มิได้ทุเลาพอจะให้ออกทำศึกได้ ครั้งนั้น พระมหาอุปราชาทรงนำทัพใหญ่ยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ เพื่อเปิดศึกใหญ่กับอยุธยา

          ภาพยนตร์ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ภาคอวสาน ไม่ได้อวสานที่การ สิ้นพระชนม์ของพระมหาอุปราชากลางสมรภูมิศึกยุทธหัตถี ด้วยพระเจ้านันทบุเรงผู้กระหายสงครามยังมิทรงลดทิฐิที่จะหักเอาแผ่นดินอยุธยา ทั้งยังฝากรอยแค้นซ้ำสองด้วยการปลิดชีวิตพระสุพรรรณกัลยาหลังทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระราชโอรส ศึกสองแผ่นดินจึงพลิกมาเป็นศึกสองกษัตริย์ที่รบเพื่อรักษาเอกราชระคนไปกับการรบเพื่อชำระแค้น สงครามหลังศึกยุทธหัตถีจึงเป็นทั้งสงครามเลือดและสงครามอารมณ์ที่เผ็ดร้อนกว่าทุกสงครามที่ขับเคี่ยวกันมา


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)