Author Topic: พีซีแบรนด์ไทยผนึกผู้ผลิตชิ้นส่วน บี้ภาครัฐออกTORเปิดช่องสินค้าไทยเข้าประมูล  (Read 919 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Reporter

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1093
  • Karma: +8/-0
  • Gender: Male
    • ซ่อมคอมเชียงใหม่

กลุ่มผู้ผลิต "พีซีแบรนด์ไทย" ผนึกกำลังสร้างโอกาสการแข่งขันในตลาดงานประมูลภาครัฐ ฉวยจังหวะรัฐบาลหนุนหน่วยงานราชการใช้สินค้าไทย เดินเครื่องเจรจาผู้ผลิตชิ้นส่วนช่วยสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานสินค้า พร้อมดันสมาคม "เอทีซีไอ" ออกหน้าร่อนหนังสือถึงหน่วยงานราชการทั่วประเทศ เพื่อให้รับรู้ข้อมูลจากมติ ครม. ในการสนับสนุนสินค้าไทยอย่างเต็มที่ เพื่อผลักดันให้หน่วยงานต่างๆ ออกทีโออาร์ที่เปิดโอกาสให้พีซีแบรนด์ไทยเข้าร่วมประมูล


นายภานุวัฒน์ ขันธโมลีกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สุพรีม ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด และในฐานะประธานกลุ่มผู้ผลิตคอมพิวเตอร์แบรนด์ไทย ภายใต้สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยuสารสนเทศไทย (เอทีซีไอ) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่ได้มีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้หน่วยงานราชการซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศ หรือที่เจ้าของเป็นคนไทยโดยเคร่งครัดนั้น ถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้อุตสาหกรรมพีซีโลคอลแบรนด์มีโอกาสกลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง จากที่ผ่านมาต้องประสบปัญหา เพราะไม่สามารถแข่งขันกับอินเตอร์แบรนด์ได้ และที่เป็นปัญหาหลักคือหน่วยงานราชการต่างๆ เขียนทีโออาร์ปิดกั้นไม่ให้โลคอลแบรนด์สามารถเข้าประมูลได้

"อย่างไรก็ตาม มติ ครม.ดังกล่าวเป็นเพียงการเปิดไฟเขียวเท่านั้น แต่หน่วยงานราชการต่างๆ จะปฏิบัติตามนโยบายแค่ไหนนั้นเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการโลคอลแบรนด์จะต้องรวมพลังกันเข้าไปเพื่อผลักดันให้นโยบายดังกล่าวสัมฤทธิผล" นายภานุวัฒน์กล่าวและว่า

ดังนั้นกลุ่มผู้ผลิตพีซีแบรนด์ไทยจึงมีแผนขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ซึ่งในเบื้องต้นได้มีการหารือในกลุ่มผู้ประกอบการโลคอล แบรนด์หลักๆ 4 ราย คือเอสวีโอเอ, เอ็มพีพี, เพลินจิต คอมพิวเตอร์ และสุพรีมฯ ซึ่งมีมติร่วมกันที่จะช่วยกันสร้างอนาคตให้กับอุตสาหกรรมพีซีโลคอลแบรนด์ คือทั้ง 4 รายต้องพัฒนาสินค้าที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีมาตรฐานตามระเบียบพัสดุ สำนักนายกรัฐมนตรี เพราะตามระเบียบพัสดุ การจะกำหนดสเป็กมาตรฐานต่างๆ ใน ทีโออาร์ อาทิ มาตรฐาน มอก.1956 หรือ มอก.1561 จะต้องมีผู้ผลิตอย่างน้อย 3 รายที่ได้มาตรฐานดังกล่าว เพื่อที่จะได้ไม่เป็น การเขียนข้อกำหนดเพื่อล็อกสเป็ก ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้ผลิตที่จะต้องดำเนินการให้ได้ตามข้อตกลง

ประเด็นต่อมา คือจะจัดทำเอกสารถึงหน่วยงานราชการระดับกรมกองทั่วประเทศ รวมถึงหน่วยงานระดับท้องถิ่นอย่าง อบต. อบจ. ในนามสมาคมเอทีซีไอ เพื่อให้หน่วยงานราชการต่างๆ รับทราบข้อมูลของมติ ครม.ที่ออกมา เพราะหน่วยงานราชการส่วนใหญ่ก็ยังไม่ทราบข้อมูล พร้อมกับนำเสนอข้อมูลความพร้อมของกลุ่มผู้ผลิตพีซีแบรนด์ไทยภายใต้ระเบียบพัสดุ

นอกจากนี้ในส่วนของบริษัทก็มีทีมงานมอนิเตอร์ในส่วนของการทำประชาพิจารณ์ทีโออาร์ของหน่วยงานราชการต่างๆ เพื่อตรวจสอบว่าได้มีการเปิดโอกาสให้พีซีโลคอลแบรนด์สามารถเข้าร่วมประมูลหรือไม่ เช่น ขณะนี้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคก็มีโครงการจัดซื้อคอมพิวเตอร์กว่า 2,000 เครื่อง ทางกลุ่มก็จะพยายามเข้าไปผลักดันเพื่อให้พีซีโลคอลแบรนด์มีโอกาสเข้าร่วมประมูลด้วย

นายภานุวัฒน์กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากหน่วยงานราชการส่วนใหญ่มักจะกำหนดสเป็กคอมพิวเตอร์ โดยใช้มาตรฐานต่างประเทศ คือเอฟซีซีและยูแอล ทำให้ผู้ผลิตพีซีแบรนด์ไทย มีภาระค่าใช้จ่ายในการที่จะต้องส่งคอมพิวเตอร์แต่ละรุ่นไปทดสอบมาตรฐานรุ่นละกว่า 1 แสนบาท ดังนั้นที่ผ่านมาทางกลุ่มผู้ผลิตพีซีแบรนด์ไทยจึงได้มีการเจรจากับผู้ผลิตชิ้นส่วนต่างๆ อาทิ ฮาร์ดดิสก์และเคส รวมทั้งอินเทลให้ช่วยสนับสนุนเงินทุนในการยื่นขอมาตรฐาน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของแต่ละแบรนด์ และต่อไปก็อาจจะหารือเพื่อสนับสนุนการทำตลาดในรูปแบบต่างๆ มากขึ้น ถ้าทิศทางตลาดไปได้ดี อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้ผู้ผลิตพีซีโลคอล แบรนด์ต้องทำงานร่วมกัน เพื่อช่วยกันสร้างอุตสาหกรรมให้เข้มแข็ง

ด้านนายสนธิญา หนูจีนเส้ง ผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า สำหรับมติ ครม.ที่ประกาศให้หน่วยงานราชการเคร่งครัดในการจัดซื้ออุปกรณ์จาก ผู้ประกอบการในไทยนั้นนับเป็นเรื่องที่ดี ทำให้พีซีโลคอลแบรนด์ในไทยมีโอกาสที่จะเข้าร่วมแข่งขันในตลาดอีกครั้งหนึ่ง สำหรับ อินเทลปัจจุบันมีการดูแลและติดต่อกับทางโลคอลแบรนด์อยู่ตลอด ซึ่งตอนนี้โลคอล แบรนด์ก็มีความตื่นตัวอย่างมาก นอกจากเตรียมสินค้าเพื่อให้ได้มาตรฐานแล้ว หลายรายยังประเมินเรื่องไลน์การผลิตของผู้ประกอบการในไทยด้วยว่าเพียงพอหรือไม่ เพื่อเตรียมตัวรับมือกับปริมาณการผลิตที่อาจจะเพิ่มขึ้นในอนาคต จากปัจจุบันกำลังผลิตของทุกแบรนด์รวมกันประมาณ 5-6 หมื่นเครื่อง/เดือน

รวมถึงมีความพยายามกระตุ้นให้หน่วยงานราชการเขียนร่างข้อกำหนดคุณสมบัติ (ทีโออาร์) ให้เข้มงวดในประเด็นดังกล่าวมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจว่ามติ ครม.ที่ออกมาสามารถบังคับใช้ได้จริง

ที่มา: matichon.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)