Author Topic: ติดตั้งแผงวงจร ซอฟต์แวร์ – ระบบซีเคียวริตี้รุ่งสวนทาง จับชีพจรโทรคมไตรมาสสอง  (Read 961 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Reporter

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1093
  • Karma: +8/-0
  • Gender: Male
    • ซ่อมคอมเชียงใหม่

ติดตั้งแผงวงจร ซอฟต์แวร์ – ระบบซีเคียวริตี้รุ่งสวนทาง จับชีพจรโทรคมไตรมาสสองมือถือทรง-โปรเจ็กต์ยื้อ-

พูดกันถึงแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ เรื่องภาพรวมเศรษฐกิจที่ดีขึ้นยังคงต้องรอคอยต่อไป  แม้วันล่วงเลยมากลางไตรมาสที่สองแล้ว ภาคอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ไม่ได้รับผลมากมายนัก แต่ต่างกิจการต่างรูปแบบดำเนินการ ก็รับผลไปต่างๆกัน ที่หนักหนาที่สุดก็ไม่พ้นรายใหญ่ที่อุ้ยอ้าย และปรับตัวช้าอย่างวิสาหกิจ
 ขณะที่ยักษ์มือถือแค่เพียงประคองตัว ต่างกับผู้กำชัยที่มีสินค้าบริการหลากหลาย และอิงกระแสสังคมและการเมืองที่สั่นคลอนไปอีกหลายปี

วิเชียร เมฆตระการ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส  กล่าวกับ Telecom Journal ถึงสถานการณ์กลางไตรมาสที่สองปีนี้ว่า   สถานการณ์ทั่วไปของอุตสาหกรรมตลาดมือถือในภาพรวมของบริษัทคือทรงตัวและมีแนวโน้มบวกเล็กน้อยเท่านั้น

ทั้งนี้ การใช้งานในการโทรเข้าและออกผ่านโครงข่ายของบริษัท ในปีนี้พบว่าปริมาณการใช้งานลดลงไปบ้าง เพราะภาพรวมประชาชนต้องการจำกัดค่าใช้จ่าย  ระมัดระวังในการใช้งานมากขึ้นบ้าง

อย่างไรก็ตามไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่ได้รับผลกระทบ เพราะปัจจุบันบริการสื่อสารผ่านมือถือเป็นความจำเป็นพื้นฐาน  การใช้งานโทรศัพท์มือถือเพื่อการติดต่อและใช้เป็นเครื่องมือช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางติดต่อสื่อสาร และแม้อุตสาหกรรมอื่นจะได้รับผลกระทบมาก
 เช่นการส่งออกที่ขาดออร์เดอร์สั่งสินค้า  และกิจการทยอยลดคนงานออกจากระบบ  แต่เปลี่ยนเป็นการรองานที่บ้านหรือรับงานนอกระบบมากขึ้นทั้งสองส่วน ทำให้ความจำเป็นในการใช้งานมือถือไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

                สำหรับแนวโน้มช่วงครึ่งปีจากนี้ไป  คือการเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและการเมืองต่อธุรกิจอย่างใกล้ชิด เพราะแนวโน้มการเมืองยังไม่นิ่งและไม่สามารถประเมินได้ว่า จะเลวร้ายลงไปกว่านี้ได้ถึงขนาดไหน หรือจะปรับตัวดีขึ้น

บริษัทอยู่ระหว่างการปิดงบประมาณไตรมาสแรกของปีนี้อยู่    แต่ก็ยังมั่นใจว่าจะสามารถเติบโตเพิ่มขึ้น 6 % จากปีที่ผ่านมาได้ แม้ตัวเลขดังกล่าวจะเติบโตลดลงจากปีที่ผ่านมาซึ่งเติบโต 7-8 %

วิเชียร กล่าวว่า  จำนวนผู้ใช้บริการใหม่ในตลาดรวมนั้นเชื่อว่าปีนี้ตัวเลขไม่น่าจะเกิน 8 ล้านราย ในส่วนของโอกาสในการทำธุรกิจใหม่ลงตลาด แม้ว่าที่ผ่านมาบริษัทจะเป็นผู้ให้บริการที่ทดลองทำ 3G ด้วย HSPA เป็นรายแรกในตลาดที่ทำที่เชียงใหม่ก่อนและในบางส่วนกลางเมืองในกรุงเทพฯ แต่บริษัทก็ไม่ได้โหมทำการตลาดมากมายในส่วนนี้ เพราะการทำบริการในความถี่เดิมมีข้อจำกัดในทรัพยากรความถี่มาก และอยู่ในสัมปทานเก่า ซึ่งบริษัทยังให้ความหวังกับการที่กทช.เตรียมออกประกาศหลักเกณฑ์การให้ใบอนุญาตบริการ 3Gในความถี่ใหม่อยู่

เขากล่าวด้วยว่า สถานการณ์การทำบริการ3G ในความถี่เดิม หรือ HSPA หากคู่แข่งอย่างดีแทค หรือทรู มูฟ ได้รับไฟเขียวอย่างชัดเจนจาก กสท ก็เชื่อว่าอาจจะไม่ทุ่มลงทุนมากมายเต็มที่นัก

อย่างไรก็ตาม วันนี้ทั้งสองรายยังไม่สามารถเดินแผนลงทุนได้ เพราะยังติดกับเรื่องที่บอร์ดกสท กำลังอยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนบอร์ดใหม่  แม้ว่าก่อนหน้านี้ทาง กทช.จะอนุญาตทั้งในเรื่องการจัดสรรเกลี่ยความถี่เดิมที่กสท มีอยู่ เพื่อให้เกิดความถี่ช่วงที่สามารถจัดสรรให้กับทรู มูฟ ไปใช้ทดลองทำบริการได้มาหลายเดือนแล้ว และกทช.ยังอนุญาตให้ทั้งสองรายนำเข้าอุปกรณ์HSPA เพื่อมาติดตั้งทำบริการทดสอบนี้ได้แล้วก็ตาม

ส่วนภาพรวมการแข่งขันในอุตสาหกรรมโอเปอเรเตอร์มือถือจากนี้ไป  เชื่อว่าทั้งหมดมุ่งรักษาฐานลูกค้าเป็นหลักเพื่อป้องกันลูกค้าไหลออกจากระบบมากกว่าการดำเนินงานแบบอื่น  เพราะภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ประกอบกับตลาดคนมีมือถือใช้วันนี้เกือบครบ 100 % แล้ว การหาลูกค้าใหม่เข้ามาในระบบยากขึ้น

“การทำสงครามราคาอย่างไร้เหตุผลจะมีโอกาสต่ำมากที่จะเห็นในปีนี้ เพราะผู้ประกอบการมีต้นทุนค่าไอซีค้ำอยู่การแข่งขันในช่วงที่ผ่านมาและในช่วงครึ่งปีหลังจะเป็นการแข่งขันโทร.ถูกในเครือข่ายเพื่อจูงใจลูกค้าใช้งานในเครือข่ายเพื่อลดต้นทุนไอซี และผู้ประกอบการจะหันมารักษาฐานลูกค้าเก่ามากยิ่งขึ้น “ บอร์ดเอไอเอส กล่าว

ด้านบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สุภกิจ วรรธนะดิษฐ์  หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านการพาณิชย์  กล่าวว่า ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้  ทรู มูฟ ยังไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากเศรษฐกิจตกต่ำ โดยตัวเลขรายได้และปริมาณการใช้งานยังเป็นบวกต่อเนื่อง และเชื่อว่าผลกระทบจะส่งผลต่อธุรกิจโทรศัพท์มือถือน้อย

ทรู มูฟ ยังยืนยันเหมือนที่เคยกล่าวไว้ในหลายเวทีว่า ปีนี้จะยังสามารถเติบโตได้ แม้การเติบโตจะเป็นเพียงตัวเลขหลักเดียว แต่ก็ถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดีเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่นๆ และคาดว่าจำนวนลูกค้าใหม่ในอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นประมาณ 5-8 ล้านรายในปีนี้ ส่วนการแข่งขันมองว่าผู้ประกอบการทุกรายจะหันมาให้ความสำคัญเพื่อรักษาฐานลูกค้าในระบบมากยิ่งขึ้น       

ฮัทช์โทรฟรี 1500 บาท

ขณะที่ผู้ให้บริการรายเล็กอย่างฮัทช์  ยังคงสร้างสีสันในกระแสที่ซบเซาด้วยการออกโปรโมชั่นใหม่

สุภวัส พรหมวิทักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดระบบพรีเพด บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย หรือฮัทช์ กล่าวว่า บริษัทจัดแคมเปญโทร.ฟรีเดือนละ 1,500 บาท โดยร่วมมือกับบริษัท ไวร์เลส แอ๊ดวานซ์ ซิสเต็ม ผู้ผลิตและจำหน่ายโทรศัพท์มือถือG-Net บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย ผู้ผลิตและจำหน่ายมือถือ ไอ-โมบาย และบริษัท นิวเทล คอร์ปอเรชั่น ผู้ผลิตและจำหน่ายมือถือเวลล์คอม

ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวเพื่อต้องการกระตุ้นการใช้งานตลาดบัตรเติมงิน (พรีเพด) และการ ใช้งานระบบซีดีเอ็มเอให้เพิ่มมากขึ้น โดยนำกลยุทธ์ราคามาเป็นจุดขายเพื่อแข่งขันกับผู้ให้บริการรายใหญ่ทั้ง 3 รายได้ คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค และบริษัท ทรูมูฟ

สำหรับสาเหตุที่ฮัทช์ต้องชูเรื่องราคาเป็นจุดขายมาโดยตลอดนั้น เพราะเสียเปรียบคู่แข่งทั้งสามรายที่เป็นระบบจีเอสเอ็ม ซึ่งเป็นระบบที่มีการใช้งานทั่วโลกมากกว่า และมีเครื่องรองรับมากกว่า หากเทียบกับซีดีเอ็มเอที่มีรุ่นมือถือรองรับได้น้อยกว่า ทำให้ราคาขายแพงกว่า

ทั้งนี้ เชื่อว่าแคมเปญดังกล่าวจะทำให้อัตราลูกค้าไหลออก (Churn Rate) ในระบบพรีเพดน้อยลง จากเดิมที่เฉลี่ย 3-4% ของฐานลูกค้าพรีเพดที่มีอยู่ 6 แสนราย

ทีโอที-กสท รายได้ทรุด

ท่ามกลางภาวะที่ทรงตัวของอุตสาหกรรมมือถือ และตลาดโทรคมนาคมด้านต่างๆ แต่วิสาหกิจทั้งสองอย่างทีโอทีและกสท ที่บอบช้ำมานานและอยู่ในแผนการฟื้นรายได้ หรือ turn around plan ก็ต้องลงลึกเข้าไปอีกในปีนี้  เพราะรายได้ที่เป็นรายได้หลัก ถูกเอกชนตีโต้เข้ามามากขึ้นตามลำดับ

ขณะที่การทำรายได้ใหม่และการบริหารเชิงประสิทธิผลเกิดขึ้นช้ามากกว่าการถดถอยเหล่านี้ ภาพรวมจึงต้องพึ่งพารายได้จากสัมปทานมากขึ้นด้วย

ล่าสุด แหล่งข่าวกล่าวว่า กสท โทรคมนาคม และทีโอที กำลังประสบปัญหาด้านรายได้ที่ลดลงอย่างหนักรวมกันมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท คือ กสท ลดลง 2,500 ล้านบาท ทีโอที 1.8 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ เนื่องจากปีที่ผ่านมา กสท มีรายได้ลดลงทุกบริการ โดยเฉพาะบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศซึ่งเป็นรายได้หลัก มีรายได้ 5,375.08 ล้านบาท ลดลงกว่า 2,000 ล้านบาท รายได้จากส่วนแบ่งบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ 1,541.75 ล้านบาท ลดลง 334.33 ล้านบาท รายได้บริการสื่อสัญญาณ สื่อสารข้อมูลและอินเทอร์เน็ต 7,939.26 ล้านบาท ลดลง 103.67 ล้านบาท

แม้รายได้รวมของ กสท จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าเกือบ 6,000 ล้านบาท แต่หากพิจารณาแล้วจะพบว่าไม่ใช่รายได้ที่กสทฯ ดำเนินการเอง เพราะกว่า 60% มาจากสัญญาสัมปทานและการขายหุ้นไทยโมบาย ผู้ให้บริการโทรศัพท์ระบบ 1900 เมกะเฮิรตซ์ คืนให้กับทีโอที 2,400 ล้านบาท

ขณะที่ ทีโอทีมีรายได้รวมปี 2551 ที่ 52,568 ล้านบาท ลดลง 18,618.67 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2550 ที่มีรายได้ 71,186.67 ล้านบาท โดยรายได้หลักมากกว่า 50% มาจากสัมปทานเช่นเดียวกัน

ระเฑียร ศรีมงคล โฆษกบอร์ดทีโอที กล่าวว่า ยอมรับว่าทีโอทีตกอยู่ในสถานะขาดทุน หากไม่รวมรายได้จากสัญญาสัมปทาน แต่เชื่อว่าแผนยุทธศาสตร์ฟื้นฟูองค์กรมูลค่า 6.4 หมื่น ล้านบาท จะช่วยให้ทีโอทีดีขึ้นภายใน 5-6 ปี

ก่อนหน้านี้ Telecom  Journal ได้เปิดประเด็นไว้แล้วว่า กสท มีผลดำเนินงานที่ฟ้องอาการว่าหนักหนาสาหัสที่สุดในรอบทีผ่านมา  เพราะแค่ 2 เดือนแรกปีนี้กำไรสุทธิลดลง 22% จากงวดเดียวกันปีก่อน และหากไม่รวมสัมปทานและสัญญาการตลาดHutch แล้วจะขาดทุนถึง 135 ล้านบาท

ขณะที่รายได้หลักของตัวเองจากโทรต่างประเทศหรือ IDD ก็ลดลงถึง 21%  จนสัดส่วนรายได้รวมที่พึ่งพาสัมปทานปัจจุบันเป็นสัดส่วนถึง 63% และแม้ปัจจุบันจะพึ่งพารายได้ที่มาจากสัมปทานถึง 63%แล้ว แต่ก็ยังมีผลดำเนินงานรวมลดลง โดยกำไรสุทธิในสองเดือนแรกเท่ากับ 1,259 ล้านบาท ลดลง 22% จากงวดสองเดือนแรกปีที่ผ่านมา ที่ทำได้ 1,619 ล้านบาท

โดยเปรียบเทียบภาพรวมแล้วพบว่า สองเดือนแรกปีนี้ มีรายได้รวม 7,977 ล้านบาทลดลง 2%  ค่าใช้จ่ายรวม 6,185 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 6% กำไรสุทธิลดลง 22%

อย่างไรก็ตามหากแยกส่วนรายได้ที่มาจากสัมปทานทั้งดีแทคและทรู มูฟ และแยกรายได้จากฮัทช์ กิจการมือถือที่กสท  ถือหุ้น   แต่เอกชนทำการตลาดในภาคกลางทั้งหมดออกไปด้วยแล้ว  จะพบความจริงว่า กสท มีรายได้ 2,724 ล้านบาท ค่าใช้จ่ารวม 2,050 ล้านบาท และขาดทุนสุทธิในสองเดือนแรกถึง 135 ล้านบาททีเดียว

เมื่อดูรายได้ของ กสท ที่ดำเนินการเองว่า ตามสายงาน business unit ของโทรต่างประเทศ ทำรายได้ในสองเดือนแรกอยู่ที่ 1,010 ล้านบาทลดลง 21%  และสายสื่อสารข้อมูลหรือ data communication ทำได้ 1,179 ล้านบาทลดลง 6%   

นอกจากนี้คือ CDMA ใน 51 จังหวัดของกสท เองทำรายได้ 130 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 65%  และธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์  มีรายได้ 38 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 17% และพัฒนาสินทรัพย์ มีรายได้ 71 ล้านบาทลดลง 1%

ภาพรวมของกสท ในปัจจุบันพึ่งพารายได้จากสัมปทานมากถึง 63% ของรายได้รวมที่เหลือคือ มาจาก ธุรกิจ สื่อสารข้อมูล 15% และจากโทรต่างประเทศ 13% จาก HUTCH 5% และรายได้อื่น 2%

นอกจากนี้หากเทียบผลดำเนินงานกับแผน turn around plan แล้ว จะพบว่าหากรวมสัมปทานแล้ว กสทจะมีรายได้รวมในสองเดือนที่ผ่านมาเป็น 15% ของแผน และมีกำไรสุทธิเป็น 14% ของแผน

แต่หากไม่รวมสัมปทานแล้วพบว่า กสท มีรายได้รวมในสองเดือนแรกปีนี้เป็น 14%ของแผน และทำกำไรสุทธิได้ติดลบถึง 19% จากเป้าที่วางไว้ในแผน

แหล่งข่าว กล่าวว่า อีกด้านหนึ่ง ปัญหาของกสท  ในวันนี้คือขาดเอกภาพในบอร์ด และมาจากตัวแทนที่มีการเมืองสนับสนุนต่างสายกัน  และยังอยู่ระหว่างการสรรหา กรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่   ที่ต้องสรุปหลังจากที่มีการเปลี่ยนกรรมการบอร์ดชุดใหม่ ซึ่งคาดว่าทั้งหมดจะสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคมนี้

FORTH  ผู้โตสวนทางด้วยความหลากหลายและอิงกระแส

พงษ์ชัย อมตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า บริษัทเป็นผู้จำหน่ายและติดตั้งกล้องทีวีวงจรปิด หรือ CCTV รายใหญ่ในตลาด ซึ่งที่ผ่านมาเป็นหนึ่งในสองรายใหญ่ที่รับงานติดตั้งให้กับทางกรุงเทพมหานคร ในหลายๆพื้นที่

ทั้งนี้ ในส่วนของกล้องวงจรปิดทั้ง 5 ตัวซึ่งอยู่ในแยกถนนที่มีคดียิงนาย สนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งสถานี ASTV และหนังสือพิมพ์ผู้จัดการนั้น ก็เป็นการติดตั้งของทางบริษัท

เขากล่าวว่า การไม่บันทึกภาพของกล้องทั้ง 5ตัวในช่วงเวลาก่อนเกิดเหตุยิงสนธิเพียง 1 วันนั้น การตรวจสอบพบว่าตัวกล้องไม่ได้ผิดปกติ เพราะเมื่อปิดสวิตช์และเปิดใหม่ก็ทำงานได้ตามปกติ

อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่เกิดปัญหาถือว่ายังไม่ได้มีการติดตั้งครบทั้งเฟส  ซึ่งกทม.กำลังจัดซื้อระบบบันทึกส่วนกลาง   และหากมีการติดตั้งซอฟต์แวร์ส่วนกลางนี้แล้ว การบันทึกจะทำในทั้งจุดที่กล้องตั้งและส่วนกลางด้วย นอกจากนี้หากมีระบบบันทึกตัวไหนขัดข้อง ก็จะส่งสัญญาณเตือนมาที่ระบบในทันทีด้วย

เขากล่าวว่า ธุรกิจหลักของบริษัทคือ โรงงานผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ชิ้นส่วนอิเล็คโทรนิกส์ แผงวงจร ซอฟต์แวร์ต่างๆ และอุปกรณ์โทรคมนาคมให้กับ vendors ขนาดใหญ่ทั่วโลก และจำหน่ายติดตั้ง ระบบไฟจราจรครบวงจร ,ระบบติดตามยานพาหนะผ่านดาวเทียม

ในส่วนของธุรกิจ  ได้เริ่มดำเนินการมากว่า 1 ปี เป็นการนำเข้าอุปกรณ์ของประเทศเยอรมัน และเข้าประมูลงานติดตั้งดูแลระบบของทางกทม.

ตลาด CCTVมีแนวโน้มที่ดีมากจากนี้ไป โดยเฉพาะในกทม.  ที่ดำเนินการติดตั้งไปในพื้นที่ต่างๆเพียง 10% เท่านั้น และกทม.มีแผนขยายการติดตั้งไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าในปีนี้น่าจะมีโครงการติดตั้งของกทม.ราว 700 ล้านบาท และบริษัท คาดหวังว่าน่าจะได้งานในส่วนกทม.ปีนี้เข้ามาไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท มากกว่าปีที่ผ่านมาหลายเท่าตัว

ก่อนหน้านี้บริษัทก็เป็นผู้ติดตั้งจอแสดงภาพเส้นทางจราจรทั่วกรุงเทพฯ ให้กับทางกทม.ด้วย

นอกจากนี้ในส่วนของอุตสาหกรรมด้านไอทีและอิเล็กทรอนิกส์ภาพรวมวันนี้  ในปีนี้ค่อนข้างดี เพราะกิจการทั้งในและต่างประเทศ หันมาลงทุนในงานด้าน ไอที  แทนกำลังคนที่ทยอยลดจำนวนลงไป

“ในต่างประเทศมีออร์เดอร์ใหญ่เข้ามาที่บริษัท เช่น Western Digital กิจการผลิตฮาร์ดไดรฟ์ของอเมริกา” พงษ์ชัย กล่าว

FORTH ถือเป็นผู้เล่นรายใหญ่รายหนึ่งในตลาดผู้ประมูลงานภาครัฐ ดยเฉพาะในทีโอที ที่ผ่านมาบริษัทชนะประมูลงาน ATA (Analog Telephone Adaptor) เชื่อมต่อกับดาวเทียม IPSTAR ในทีโอทีเพิ่มเติม   หลังจากที่เพิ่งจะลงนามโครงการขยาย broadband จำนวน 167,500 พอร์ต ของทีโอที มูลค่าโครงการ 850 ล้านบาทในรัฐบาล คมช.

                FORTH มีรายได้จากงานประมูลโครงการหน่วยงานรัฐต่างๆกว่า 1,000 ล้านบาทในแต่ละปี ซึ่งเนื้องานส่วนใหญ่เป็นโครงการจากทีโอที 

ที่มา: telecomjournal.net


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)