Author Topic: เจ.ที.หวัง พลิก เอเซอร์ สู่เบอร์ 1 คอมพ์โลก  (Read 856 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Reporter

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1093
  • Karma: +8/-0
  • Gender: Male
    • ซ่อมคอมเชียงใหม่

ผมว่าเป็นความท้าทายสำหรับบริษัทอย่างพวกเรา ท้าทายทั้งผลกำไร ท้าทายทั้งการสร้างกลยุทธ์เพื่อมัดใจกลุ่มลูกค้า

"เอเซอร์ ต้องเป็นบริษัทระดับโลก เป็นแบรนด์ระดับโลก ไม่ใช่แค่แบรนด์ไต้หวันอีกต่อไป จากนี้ไปในตลาดโลกจะมีผลิตภัณฑ์ รวมถึงชิ้นส่วนไอทีที่มาจากการวิจัย และพัฒนาของเอเซอร์ตั้งแต่ชิ้นเล็กไปจนถึงใหญ่มากกว่า 1 พันล้านชิ้นในทุกๆ ปี"
 

 "เจ.ที.หวัง" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเอเซอร์ กรุ๊ป และประธานบริษัทเอเซอร์ อิงค์ ประกาศในงานเปิดตัวยุทธศาสตร์ "มัลติแบรนด์" รุกตลาดทั่วโลก ที่ขนมาทั้งเอเซอร์, อีแมชชีน, แพคการ์ด-เบลล์ และเกตเวย์ กลางกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน


ฝ่ามรสุมไอทีติดลบ
 เขายอมรับว่า ปีนี้อาการของธุรกิจไอทีในภาพรวมระดับโลก "น่าเป็นห่วง" โดยเฉพาะตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลติดลบหนักสุดในรอบหลายปีการเติบโตลดลงต่ำสุดถึง 15-20% แต่ยังดีอยู่บ้างที่ตลาดโน้ตบุ๊ค และเน็ตบุ๊คยังเติบโตได้ระดับตัวเลขสองหลัก


 อย่างไรก็ตาม ซีอีโอ ของเอเซอร์ ยังชูประเทศในภูมิภาคเอเชียที่ยังคงน่าจับตา และถือว่าอัตราการเติบโตยังใช้ได้อยู่ ไม่ว่าจะเป็น อินเดีย มาเลเซีย จีน และแน่นอนมี "ไทย" รวมอยู่ด้วย


 "ไทยเป็นหนึ่งประเทศในภูมิภาคเอเชีย ที่มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโน้ตบุ๊คที่เติบโตสูงมาก"


 เขาบอกว่า แม้วิกฤติการเงินโลกจะคุกคามหลายธุรกิจ บางแบรนด์ต้องหายไป ช่องทางจัดจำหน่ายก็เหลือน้อยลง แต่ก็ยังเชื่อว่าไอทียังมีความจำเป็นในธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี และคอนซูเมอร์ ที่จะเป็นตัวหลักขับเคลื่อนหลักให้ตลาดไอทีภาพรวมเดินหน้าต่อไปได้


 "ผมว่าเป็นความท้าทายสำหรับบริษัทอย่างพวกเรา ท้าทายทั้งผลกำไร ท้าทายทั้งการสร้างกลยุทธ์เพื่อมัดใจกลุ่มลูกค้า"


 แม้จะยอมรับว่า เป็นปีที่ยากลำบาก แต่เอเซอร์ก็ยังคงชูยุทธศาสตร์ "มัลติแบรนด์" ที่เคยประกาศมาแล้วก่อนนี้อีกครั้ง เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดจากคู่แข่ง ที่วันนี้เป็นรองเพียง 2 รายเท่านั้น คือ เอชพี และเดลล์


สานต่อวิชั่น สแตน ชิห์
 "เจ.ที.หวัง" ถือเป็นขุนพลข้างกายของ "สแตน ชิห์" ผู้ก่อตั้งเอเซอร์ อดีตซีอีโอมือเก๋า "ชิห์" เป็นผู้พลิกตำนานเอเซอร์ จากบริษัทไต้หวันธรรมดา ขึ้นมาเป็นแถวหน้าระดับโลกด้วยการปรับระบบการบริหารใหม่ เอาท์ซอร์สจ้างทีมบริหารมืออาชีพจาก "อิตาลี" มาเป็นคนดูแลเรื่องของภาพลักษณ์แบรนด์ และกำหนดยุทธศาสตร์รุกตลาดในกลุ่มประเทศยุโรป และสหรัฐอเมริกา แทนที่จะอาศัยการเติบโตและบริหารกันเองด้วยทีมงานที่เป็นเครือญาติ


 ทันทีที่ "หวัง" เข้ามานั่งเป็นซีอีโอ เขาได้ปลุกกระแสแบรนด์ไต้หวัน "ท้าชิง" กับแบรนด์คอมพิวเตอร์ระดับโลกทันที ไม่ว่าจะเป็น เอชพี เดลล์ และเลอโนโว ทำให้เอเซอร์ อิงค์ มีรายได้รวมของกลุ่มเพิ่มขึ้นทันทีจาก 9.7 พันล้านดอลลาร์ เป็น 16.7 พันล้านดอลลาร์เมื่อปี 2551


 จากนั้นไม่นานก็ประกาศดีลเทคโอเวอร์แบรนด์คอมพิวเตอร์ดังของอเมริกาอย่างแพคการ์ด เบลล์ และเกตเวย์ จุดนี้เองทำให้เอเซอร์ พุ่งขึ้นมาติด 1 ใน 3 ของแบรนด์คอมพิวเตอร์ระดับโลกได้ทันที และเบียดเลอโนโว ในเครือไอบีเอ็มหล่นลงชาร์ทไปแบบไม่ทันตั้งตัว


ดันมัลติแบรนด์เหนือคู่แข่ง
 ผู้บริหารเอเซอร์ พยายามอย่างยิ่งที่จะดันยุทธศาสตร์ "มัลติแบรนด์" ขึ้นมาเป็น "ธงรบ" สู้กับคู่แข่งระดับโลก ด้วยความคิดที่ต้องการเลิกพึ่งยอดขายจากแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง มาเป็นการขยายการเติบโตแบบหน้ากระดาน ลดการพึ่งพาแบรนด์เดียว ซึ่งเชื่อว่าการตลาดในรูปแบบนี้น่าจะเวิร์ค และทำกำไรได้มากกว่าแบบเดิม 


 ภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าว ต้องการแยกแบรนด์ทั้งหลายออกจากกันอย่างชัดเจน แพคการ์ด เบลล์ และเกตเวย์ คือ ขุนพลด่านหน้าลุยตลาดสหรัฐ และยุโรป ด้วยคาแรคเตอร์ "เทรนดี้" แฟชั่น นำสมัย ไม่โบราณ ขณะที่ เอเซอร์ จะถูกยกขึ้นเป็นแบรนด์ที่ดูหรูหรา มีราคา เน้นความเป็นอินโนเวชั่น เจาะลูกค้ากลุ่มไฮเอนด์ทั่วโลก ส่วนอีแมชชีน ขอเป็นโปรดักท์ทางเลือกของกลุ่มเป้าหมายที่ไม่คิดมากเรื่องดีไซน์ ขอแค่ใช้งานได้เป็นพอ เน้นตลาดทั่วโลกเช่นกัน


 เขายอมรับว่า หลังประกาศแนวคิด "มัลติแบรนด์" ทำให้บทบาทของเอเซอร์ดูน่ากลัวในสายตาคู่แข่ง ยิ่งได้แพคการ์ด เบลล์ และเกตเวย์มาอยู่ในมือ ยิ่งทำให้ผลประกอบการโดยรวมเพิ่มสูงขึ้น


ครีเอทสินค้า "เรือธง" ปักหมุดผู้นำ
  เอเซอร์ ยังได้ชูโน้ตบุ๊ครุ่นใหม่ภายใต้ชื่อ "เอเซอร์ แอสไปร์ ไทม์ไลน์" ที่เปิดตัวไปทั่วโลก รวมถึงไทย ด้วยจุดเด่นที่ความบางขนาด 24 มิลลิเมตร แบตเตอรี่ใช้งานได้นานมากกว่า 8 ชั่วโมง โดยวางไว้เป็นโปรดักท์ "เรือธง" ที่ประเมินว่า ความบาง และแบตเตอรี่ที่ใช้ยาวนานจะกลายเป็น "คีย์ ซัคเซส" สำคัญของการเติบโตในตลาดโน้ตบุ๊คนับจากนี้


 "ผมเชื่อว่า คุณสมบัติความบาง และแบตเตอรี่ ของโน้ตบุ๊คจะจูงใจผู้ซื้อ และสามารถทำรายได้ให้ผู้ค้าคอมพิวเตอร์มากกว่า 50% โดยราวไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เอเซอร์ก็จะเปิดตัวโน้ตบุ๊คตระกูลดังกล่าวเพิ่มอีกไม่ต่ำกว่า 30 รุ่น เช่นเดียวกับพีซี แม้ว่าตลาดจะติดลบ ผมเชื่อว่าพีซียังไม่ตาย แต่คุณต้องหันกลับมาดีไซน์ใหม่ เน้นความบาง และเบา แบบออลอินวัน นี่จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ตลาดพีซีสามารถกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง"


 เช่นเดียวกับ แพคการ์ด เบลล์ และเกตเวย์ ที่แม้ไม่ใช่ตลาดเป้าหมายในเอเชีย แต่เอเซอร์ก็ใช้เวทีนี้ในการเปิดตัวโปรดักท์ครบไลน์เช่นกันตั้งแต่พีซี โน้ตบุ๊ค และเน็ตทอป


 ทั้งนี้ เขาด้วยบอกว่า ปีนี้จะยังคงเป็นปีของ "เน็ตบุ๊ค" ด้วยการเติบโตที่จะขึ้นมาแซงหน้าโน้ตบุ๊ค โดยอัตราขยายตัวมากกว่า 50% จาก 43% เมื่อปี 2551 


 เมื่อถามว่า ไหนๆ ก็เป็น "บิ๊ก ทรี" ของคอมพิวเตอร์โลกไปแล้ว เอเซอร์วางแผนที่จะขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของโลกเลยหรือเปล่า?


 "หวัง" ยิ้มๆ กับคำถามนี้ พร้อมบอกว่า ต้องค่อยเป็นค่อยไป เอเซอร์ต้องรักษาระดับการเติบโตเอาไว้ให้ได้อย่างต่อเนื่อง และรุกเข้าไปยังตลาดที่ตัวเองเชี่ยวชาญทั้งพีซี โน้ตบุ๊ค เน็ตบุ๊ค และขยับส่วนแบ่งการตลาดให้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เหมือนอย่างที่วันนี้โน้ตบุ๊คเอเซอร์ก็มียอดขายอยู่ในอันดับ 1 ในหลายๆ ประเทศ เช่น ประเทศไทย เป็นต้น


ที่มา: bangkokbiznews.com


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)