Author Topic: มะรุมมะตุ้ม เตือนภัยเฟซบุ๊ก  (Read 1118 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai



       ดูเหมือนว่ายิ่งเครือข่ายสังคมยอดฮิตอย่างเฟซบุ๊กเพิ่มคุณสมบัติใหม่มากขึ้นเท่าใด ผู้เชี่ยวชาญหลายวงการหลากสาขาก็จะออกมาเตือนภัยการใช้งานเครือข่ายสังคมยอดฮิตอย่างเฟซบุ๊กมากขึ้นเท่านั้น ล่าสุด ทันทีที่เฟซบุ๊กเปิดตัวระบบข้อความใหม่เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสก็ออกประกาศเตือนให้ผู้ใช้ระวังการถูกขโมยตัวตน ตามหลังการประกาศเตือนของกองทัพสหรัฐฯ ที่เรียกร้องให้พลทหารอเมริกันระวังการเปิดเผยตำแหน่งกองกำลังบนเฟซบุ๊กโดยไม่ได้ตั้งใจ เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อการปฏิบัติงานของกองทัพพญาอินทรี
       
       โซโฟส (Sophos) บริษัทรักษาความปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประกาศเตือนชาวไอทีให้ระวังตัวก่อนจะลงชื่อใช้บริการระบบข้อความใหม่ในเฟซบุ๊ก เนื่องจากพบโอกาสและช่องโหว่มากมายที่นำไปสู่ภัยถูกขโมยตัวตน ในบริการที่เฟซบุ๊กเพิ่งเปิดตัวเมื่อวันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
       
       เฟซบุ๊กเพิ่งประกาศว่าได้เพิ่มความสามารถในการรวมข้อความแชต ข้อความสั้น เครื่องมือสื่อสารเรียลไทม์อื่นๆ เข้ากับอีเมลดั้งเดิม โดยมีแผนให้สิทธิ์ผู้ใช้เฟสบุ๊กสามารถมีชื่อบัญชีอีเมลแอดเดรสลงท้ายว่า @facebook.com ได้เพื่อจัดการการรับส่งข้อความทุกประเภทแบบครบวงจร ความเคลื่อนไหวเหล่านี้ถูกเรียกรวมว่าโครงการ "Titan" และจะพร้อมให้บริการแก่ผู้ใช้เฟซบุ๊กใน 2-3 เดือนข้างหน้า
       
       เกรแฮม คลูลีย์ (Graham Cluley) ที่ปรึกษาอาวุโสด้านเทคโนโลยีของโซโฟสระบุว่า ผู้ใช้จำเป็นต้องทราบว่าคุณสมบัติใหม่ของเฟซบุ๊กมีส่วนเพิ่มความเสี่ยงในการถูกแอบอ้างชื่อบุคคลบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กมากขึ้น เพราะการเชื่อมโยงบัญชีเฟซบุ๊กเข้ากับผู้ใช้ในวงกว้างจะทำให้นักเจาะระบบมีโอกาสและมีแรงบันดาลใจในการก่อการร้ายมากขึ้น
       
       โซโฟสฟันธงว่านับจากนี้ นักเจาะระบบจะก่อการแอบอ้างชื่อบัญชีเฟซบุ๊กเพื่อส่งข้อความขยะ (บนระบบข้อความใหม่ของเฟซบุ๊ก) มากกว่าการส่งสแปมเมลในระบบอีเมลดั้งเดิมแน่นอน เนื่องจากระบบข้อความของเฟซบุ๊กนั้นเหนือกว่าอีเมลที่สามารถในการเรียกความเชื่อถือจากผู้รับ ว่าเป็นข้อความที่ส่งมาจากเพื่อนฝูงคนรู้จัก
       
       เหนืออื่นใด คลูลีย์ย้ำว่าผู้ใช้ต้องตระหนักให้ดีว่าเฟซบุ๊กจะเก็บข้อมูลการสื่อสารทั้งหมดไว้ หากผู้ใช้วางใจเฟซบุ๊กแล้วทำการสื่อสารข้อความครบวงจรบนเฟซบุ๊กจะสร้างความเสี่ยงอย่างมาก โดยเฉพาะการนำข้อมูลการสื่อสารไปใช้ในทางมิชอบทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา
       
       ทั้งหมดนี้ โซโฟสเรียกร้องให้เฟซบุ๊กพัฒนาระบบคัดกรองและรักษาความปลอดภัยในเฟซบุ๊กอย่างเข้มงวดยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้ผู้ใช้เฟสบุ๊กตกเป็นเหยื่อของวงจรรับส่งข้อความขยะ ภัยแอบอ้างบุคคล รวมถึงกลลวงฟิชชิ่งซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายด้านการเงิน ส่วนด้านผู้ใช้ โซโฟสย้ำให้สาวกเฟซบุ๊กทุกคนดูแลตัวเองด้วยการตั้งรหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดา อัปเดทซอฟต์แวร์ระบบการรักษาความปลอดภัยให้ทันสมัยอยู่เสมอ และหมั่นตรวจตราความผิดปกติของนานาแอปพลิเคชันที่เชื่อมต่อกับชื่อบัญชีเฟซบุ๊กอย่างสม่ำเสมอ
       
       ข้อมูลล่าสุดระบุว่า ระบบข้อความของเฟซบุ๊กนั้นถูกใช้งานเป็นประจำโดยผู้ใช้เฟสบุ๊กมากกว่า 350 ล้านคน (จากทั้งหมด 500 ล้านคน) สถิติการส่งข้อความคือ 4,000 ล้านข้อวามต่อวัน
       
       การประกาศเตือนภัยของโซโฟสเกิดขึ้นตามหลังแถลงการณ์จากกองทัพสหรัฐฯ ที่เตือนพลทหารอเมริกันไม่ให้ประมาทต่อการใช้บริการเฟซบุ๊กและเครือข่ายสังคมออนไลน์อื่นๆ เนื่องจากอาจเป็นการเปิดเผยฐานที่มั่นให้ศัตรูรู้โดยไม่เจตนา โดยเป็นการประกาศเตือนหลังจากที่เฟซบุ๊กเพิ่มความสามารถใหม่ให้ผู้ใช้สามารถระบุพิกัดตำแหน่งที่อยู่ได้โดยไม่ต้องเข้าสู่บริการอื่นให้ยุ่งยาก
       
       แถลงการณ์ดังกล่าวถูกโพสต์และส่งไปยังผู้บังคับบัญชาหน่วยงานต่างๆในกองทัพสหรัฐฯ โดยแสดงความกังวลต่อเทคโนโลยีใหม่ที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถกำหนดจุดที่อยู่บนแผนที่ออนไลน์ได้อย่างสะดวก เนื้อความโดยสรุประบุว่าการใช้เทคโนโลยีระบุตำแหน่งในเครือข่ายสังคมอย่างขาดความรอบคอบของพลทหาร อาจนำไปสู่ความเสียหายร้ายแรงต่อปฏิบัติการความมั่นคงของประเทศ ซึ่งไม่เพียงเฟซบุ๊ก สมาร์ทโฟนแบล็กเบอรี (บีบี) และอุปกรณ์อื่นที่มีระบบระบุพิกัดจีพีเอส รวมทั้งการใช้บริการที่มีความสามารถในการระบุพิกัดทั้งโฟว์สแควร์ ล้วนมีความเสี่ยงต่อการปฏิบัติการของกองทัพสหรัฐฯทั้งสิ้น
       
       Company Related Link :
       Facebook


ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)