Author Topic: ยอดขายเซิร์ฟเวอร์ APAC ลดลงครั้งแรกหลังเกิดวิกฤตดอทคอม  (Read 992 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Reporter

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1093
  • Karma: +8/-0
  • Gender: Male
    • ซ่อมคอมเชียงใหม่

      บริษัทวิจัย IDC โชว์ผลสำรวจตลาดเซิร์ฟเวอร์ในปี 2551 ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พบยอดจำหน่ายลดลงเป็นครั้งแรกในช่วงหลายปีที่ผ่านมานับตั้งแต่เกิดวิกฤตของธุรกิจดอทคอมปี 2544
       
       เฉพาะไตรมาส 4 ปี 2551 ที่ผ่านมา ยอดจำหน่ายเซิร์ฟเวอร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่น มีสัดส่วนลดลง 4.6% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว หลังจากทีีตลาดนี้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องมาตลอด 25 ไตรมาส
       
       ไอดีซีระบุว่านับตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปี 2544 ยอดจำหน่ายเซิร์ฟเวอร์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีการหดตัวมากที่สุด โดยลดลงเป็นตัวเลขสองหลัก และเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สองซึ่งส่งผลให้ยอดจำหน่ายทั้งปีของปี 2551 ลดลงถึง 4.9% แสดงให้เห็นว่าพิษไข้จากวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศอเมริกา และ ยุโรป ได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วมายังภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก
       
       ที่น่าสนใจคือ ประเทศจีนและเวียตนามเป็นเพียงสองประเทศที่มีอัตราการลดลงเป็นตัวเลขหลักเดียวเมื่อเปรียบเทียบทั้งปี จุดนี้นายราชนิช อาโรร่า ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยด้านเซิร์ฟเวอร์องค์กร และ เวิร์กสเตชั่น ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ให้ความเห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นน่าวิตกกังวลไม่น้อย เพราะ 6 ใน 7 ประเทศที่อยู่ในอันดับต้นของประเทศที่มีค่าใช้จ่ายสูงกลายมาเป็นประเทศที่มีการใช้จ่ายลดลงเป็นสามลำดับต้นเมื่อเปรียบเทียบจากตัวเลขปีต่อปีี
       
       "การลดลงเพียงเล็กน้อยเป็นตัวเลขหลักเดียวของจีนนั้นได้ถูกคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ภายหลังจากการเติบโตอย่างน่าตกใจที่สูงถึง 30% ในครึ่งหลังของปี 2550 จากการสร้างโครง สร้างพื้นฐานขนาดใหญ่และการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลเพื่องานโอลิมปิก"
       
       อาโรร่ายังระบุว่า การฟื้นตัวของตลาดเซิร์ฟเวอร์ในประเทศสิงค์โปร์เหมือนกับภาพลวงตา โดยในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ตัวเลข การจำหน่ายได้ลดลงสูงถึง 19.6% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2550 หลังจากตลาดนี้มีอัตรา การเติบโตอย่างมากถึง 2 ไตรมาสติดกันที่ผ่านมา โดยตลาดมีอัตราการเติบโตในระดับตัวเลขสองหลักนับตั้งแต่ ไตรมาสที่สองของปี 2551
       
       “การใช้จ่ายเกี่ยวกับเซิร์ฟเวอร์ประเภท non-x86 ซึ่งองค์กรธุรกิจโดยทั่วไปใช้สำหรับงานด้านแอปพลิเคชั่นเป็นหลัก นั้นมีการหดตัวลงเป็นอย่างมากถึง 34% ใน ไตรมาส 4 ปี 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปีเดียวกันที่ลดลงเพียง 23.1%"
       
       อาโรร่ายกตัวอย่างว่าฮ่องกงกำลังเป็นที่น่าจับตามองอย่างมาก เนื่องจากได้รับความกดดันอย่างหนักจากการชะลอตัวของธุรกิจการให้บริการด้านการเงินแม้จะเป็นประเทศที่มีบริษัทที่ให้บริการด้านการเงินระดับโลก และระดับภูมิภาค โดยมูลค่าการใช้จ่ายเซิร์ฟเวอร์ในฮ่องกง มีการลดลงอย่างน่าตกใจถึง 54% ในไตรมาสที่ 4 ที่ผ่านมา
       
       "การใช้จ่ายด้านเซิร์ฟเวอร์ของฮ่องกงลดลงมากที่สุดในบรรดาประเทศทั้งหมด 14 ประเทศในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 โดยประเทศฮ่องกงได้กลายมาเป็นประเทศที่มีการใช้จ่ายเซิร์ฟเวอร์หล่นลงมาเป็นอันดับ 7 ของ ภูมิภาคนี้ ใน ไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 เปรียบเทียบกับอันดับ 5 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550"
       
       สามอันดับประเทศที่ครองสัดส่วนการใช้จ่ายเซิร์ฟเวอร์สูงสุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยกเว้นญี่ปุ่นช่วงปี 2550 - 2551 คือ จีน 40.6% เกาหลีใต้ 13.9% และออสเตรเลีย 12.8% ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 9 ด้วยสัดส่วน 1.9% เหนือกว่าเวียดนามซึ่งอยู่อันดับที่ 13 สัดส่วน 0.7%
       
       IBM ยังคงสามารถรักษาตำแหน่งอันดับ 1 ในตลาดเซิร์ฟเวอร์ไว้ได้ โดยมีส่วนแบ่งในแง่ของรายได้อยู่ที่ 37% ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่น ในปี 2551 ในขณะที่เบอร์สอง HP ยังคงเป็นผู้ค้าที่เป็นผู้นำในแง่ของยอดจำหน่ายในปี 2551 โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาด 30.7% ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากจุดแข็งในกลุ่มผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์ X86
       
       อันดับ 3 คือ SUN ซึ่งขยายตัวอย่างรวดเร็วในตลาดเซิร์ฟเวอร์ X86 แต่กลับไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนักกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ non-x86 UNIX เมื่อหักล้างกันแล้วกลับสะท้อนภาพว่าธุรกิจของ SUN อยู่ในช่วงชะลอตัว
       
       อันดับ 4 คือ DELL เป็นผู้ค้าที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุดในกลุ่มผู้ค้าอันดับต้น 5 ราย ในแง่ของยอดจำหน่ายที่มีการเพิ่มขึ้น อย่างน่าประทับใจคิดเป็นอัตราการเติบโตสูงถึง 14.2% ในปี 2551 อันดับ 5 คือ Langchao ครองส่วนแบ่งตลาด 1.2%


ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
1696 Views
Last post March 06, 2009, 11:34:38 PM
by Reporter
0 Replies
1394 Views
Last post July 04, 2011, 02:46:32 PM
by Nick