Author Topic: ไทยแลนด์ กับ แนวทางสานต่อ...ฝันของบรอดแบนด์แห่งชาติ มาตรา 78  (Read 1583 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai

สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กทช.) และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กระทรวงไอซีที) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศของประเทศไทยตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 78 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ภายใต้ “นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ” เป็นแนวความคิดที่จะนำบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์ มาช่วยในการพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการพัฒนาโครงสร้างอุตสาหกรรมโทรคมนาคม พัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศพื้นฐานทั่วประเทศให้มีความพร้อมในการรองรับการให้บริการบรอดแบนด์ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ได้ง่ายขึ้น และเป็นการผลักดันให้เกิดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างแพร่หลายและมีประสิทธิภาพ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งแก่ ประชาชน และประเทศชาติ

ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าว ยังสอดรับกับการติดตามความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ.2552 – 2556 คณะกรรมาธิการฯ ได้ให้ความสนใจในมาตรการและโครงการเร่งรัดตามยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ยุทธศาสตร์ อาทิ มาตรการการเพิ่มปริมาณและคุณภาพบุคลากรที่มีทักษะสูง  และโครงการเร่งรัดการผลิตบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ตามยุทธศาสตร์ที่ 1 มาตรการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารและการจัดการ ICT ระดับชาติ และโครงการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และโครงการจัดตั้งสภา ICT ตามยุทธศาสตร์ที่ 2 มาตรการขยายประเภทบริการ เพิ่มพื้นที่ให้บริการ ปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงข่ายโทรคมนาคม และโครงการนำร่องพัฒนาจังหวัดบรอดแบนด์ ตามยุทธศาสตร์ที่ 3

FCC เปิดรายละเอียดแผนบรอดแบนด์แห่งชาติ (NBP) ของสหรัฐฯ

Case study ของคณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติ (Federal Communications Commission) หรือ FCC ของสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่รายละเอียดของ recommendations จำนวนหนึ่งซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนา “แผนบรอดแบนด์แห่งชาติ” (National Broadband Plan) หรือ NBP
ทั้งนี้ภายใต้ “กฎหมายฟื้นฟูอเมริกาและการลงทุน” ค.ศ. 2009 (American Recovery and Reinvestment Act of 2009) หรือ ARRA นั้น FCC ได้เริ่มดำเนินการร่าง NBP มาตั้งแต่เมษายน 2552 เพื่อเปิดรับฟังความเห็นกับผู้เกี่ยวข้องในวงการอุตสาหกรรม ผู้บริโภค และหน่วยงานต่างๆของท้องถิ่น ก่อนที่จะนำกลับไปสรุปรายละเอียดและจัดทำร่างแผนเสนอต่อสภาคองเกรสในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553

รายงานเฉพาะกิจซึ่งเผยแพร่อยู่บนเว็บไซต์ของ FCC ได้เปิดเผยด้วยว่า แผนบรอดแบนด์แห่งชาติ (NBP) จะประกอบด้วยการกำหนดนโยบายหลักที่เกี่ยวข้องไว้ใน 10 ประเด็นหลักดังนี้ คือ Universal Service, infrastructure access, spectrum allocation, tribal lands, set-top boxes, consumer information, media, adoption of broadband, accessibility for people with disabilities และ public safety รวมทั้งยังมุ่งเน้นไปที่ด้านการศึกษา พลังงาน การดูแลสุขภาพ ตลอดจนการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม

ในรายงานดังกล่าวยังได้กล่าวด้วยว่า การขยายกองทุน USF (Universal Service Fund) มีความจำเป็นเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์ต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งเรียกว่า “underserved areas”

นอกจากนั้นยังมีข้อเสนออื่นๆ อีกหลายประการที่มุ่งเน้นไปที่ความจำเป็นต้องใช้สเป็คตรัมเพื่อการสื่อสารไร้สายเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวในส่วนของบรอดแบนด์ไร้สาย การแนะนำให้ปรับย้ายสเป็คตรัมบางส่วนที่เคยใช้กับการแพร่ภาพและกระจายเสียงของโทรทัศน์ และหน่วยงานของรัฐจำนวนหนึ่งและให้มีการทบทวนความถี่ที่ใช้งานได้โดยไม่ต้องขออนุญาตในปัจจุบันอีกด้วย

ไอซีที ตั้งคณะทำงานร่วม กทช. เป้าหมาย 30 วัน

ก่อนหน้านี้ ไอซีที และ กทช. ได้มีการหารือในการวางยุทธศาสตร์บรอดแบนด์ของประเทศ เพื่อผลักดันบรอดแบนด์ราคาถูก 99-150 บาท ทั่วประเทศใน 1 ปี ภายใต้โครงการ “ถนนไร้สาย” การดำเนินงานภายหลังเข้ารับตำแหน่งครบ 30 วัน ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาเอาไว้ว่า จะมีการเสนอร่างโครงการฯ ให้คณะกรรมการนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้พิจารณาเพื่อรับเป็นนโยบายของรัฐบาล ภายในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งเมื่อผ่านการพิจารณาแล้วจะเป็นหน้าที่ของ 2 หน่วยงาน คือ บมจ.ทีโอที และ บมจ. กสท โทรคมนาคม ร่วมกันดำเนินการ รวมทั้งจะมีการบูรณาการวางแผนงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. และจะมีการร่างข้อตกลงร่วมกับ กทช. เพื่อทำข้อตกลงอย่างเป็นทางการและประกาศเป็นวาระสำคัญต่อสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนต่อไป

โดยคำแนะนำที่ได้จาก กทช. รมว.ไอซีทีบอกว่ามีทั้งในเชิงกฎหมาย เทคนิค และอีกหลายๆด้าน คณะทำงานที่จะประชุมในวันเดียวกับ MOU ไปนั้น(21 ก.ค. 53) จะมาสรุปร่วมกันให้ฟังว่าความเห็นหรือคำแนะนำจาก กทช. ที่ควรเตรียมตัวมีอะไรบ้าง โดย รมว.ไอซีทีคาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จทันภายใน 30 วันตามกำหนดจากนายกฯ

จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที กล่าวถึงรายละเอียดของนโยบายดังกล่าวว่า “แต่สิ่งที่เป็นห่วงมากที่สุด คือทุกอย่างอยู่นอกเหนือการควบคุมของคณะทำงาน ฉะนั้น จึงต้องให้เอกชนตกลงกันทั้ง 3 รายก่อน เพราะหลังจากนั้นจะต้องมาขอใบอนุญาตจาก กทช. ตรงนี้ไม่ได้อยู่ในการควบคุม แต่เราต้องเตรียมทุกอย่างให้พร้อม สำหรับข้อแนะนำของ กทช.มีหลายเรื่อง แต่อยากให้ประชุมคณะทำงานเสร็จก่อน เป็นเกณฑ์ที่ กทช.ประกาศเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว ต้องมาดูว่าจะปรับยังไงได้ เอกชนจะยอมรับได้ไหม คือทุกคนมีสิทธิปฏิเสธได้หมด เพราะต้องรักษาประโยชขององค์กร แต่ถ้าทุกคนคิดว่าทุกอย่างทำให้คนในประเทศไทยก็จะเจรจาง่ายขึ้น พยายามทำให้ทุกอย่างเท่าเทียมกัน”

เพื่อรอเวลาให้คณะทำงานประชุมเพื่อตกลงความเห็น แล้วจึงนำไปหารือกับ กทช. และเอกชนถึงความเป็นไปได้ ทั้งนี้ โมเดล 30 วัน เป็นสิ่งที่จะนำเสนอ ครม. และพยายามไม่ให้เป็นอุปสรรคกับการออกใบอนุญาต 3G ของกทช. โดยเงื่อนเวลาที่นายกฯ กำหนดไว้ 30 วัน ใกล้เคียงกับเวลาที่ กทช. จะให้ใบอนุญาตใหม่ ในส่วนของ กทช. ยังมองโครงการบรอดแบนด์ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติที่ต้องทำงานร่วมกับไอซีที ทำควบคู่ไปกับการออกใบอนุญาตที่เกี่ยวข้อง  คือ ไวแมกซ์, 3.9G และ USO เช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ กระทรวงไอซีทีในสมัยที่แล้วของ ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เคยมีนโยบายเดียวกันในการเร่งผลักดันบรอดแบนด์ให้เป็นวาระแห่งชาติ  โดยเรื่อง “การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการวางรากฐานระบบไอซีทีของประเทศ” เป็นสาระสำคัญในนโยบายของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสมัยนั้น เกี่ยวกับการผลักดันเทคโนโลยีบรอดแบนด์ให้เป็นวาระแห่งชาติ ที่จะช่วยสนับสนุนและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบันและในระยะยาว

ในส่วนของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มองการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานคือ กลยุทธ์สำคัญที่จะนำพาประเทศไทยกลับสู่สภาวการณ์ปกติได้เร็วขึ้น ยิ่งโดยเฉพาะสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ทั้งยังเป็นการสร้างพื้นฐานเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ รวมถึงการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยให้เกิดขึ้นในระยะยาว เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสู่เศรษฐกิจและสังคมความรู้และนวัตกรรมอย่างยั่งยืนและมั่นคง หรือที่เรียกว่า Smart Thailand ซึ่งนำมาเป็นวิสัยทัศน์

พันธกิจที่สำคัญของกระทรวงฯ ณ เวลาดังกล่าว คือจะต้องพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอ พร้อมทั้งพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ความเร็วสูง ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึง กระทรวงฯ ตั้งเป้าสำหรับแผนไอซีที คือ ภายในปี 2553 ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนครัวเรือนทั้งประเทศ หรือคิดเป็นผู้จดทะเบียนการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงรวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 8 ล้านพอร์ต ซึ่งจะทำให้การเข้าถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพิ่มเป็น 4 ล้านเครื่องภายในปี 2553 เพื่อเป็นการยกระดับความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศขึ้นอย่างน้อย 15 อันดับ จากการจัดอันดับของ Networked Readiness Rankings ภายในปี 2556 และเป็นการเพิ่มบทบาทและความสำคัญของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมไอซีทีต่อ GDP ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 13 ภายในปี 2556

ขณะนั้น กระทรวงฯ แต่งตั้งคณะกรรมการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยจะทำหน้าที่หารือกับบริษัทโทรคมนาคมต่างๆ จากทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในการจัดสรร ติดตั้ง และการเช่าใช้โครงข่ายบรอดแบนด์ ครอบคลุมทั้งในเมืองใหญ่และจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศอย่างเหมาะสมและเป็นรูปธรรม ทั้งนี้เพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วนเข้าถึงความรู้ ข้อมูลข่าวสาร อาทิ จัดทำโครงการบรอดแบนด์ราคาถูกควบคู่ไปกับโครงการเครื่องคอมพิวเตอร์ราคาถูก โดยการนำมาตรการภาษีมาใช้ในการสนับสนุน หรือการให้ภาครัฐใช้งบประมาณเข้ามาช่วยสนับสนุน หรือโครงการอบรมบุคลากรและประชาชนทั่วไปให้มีความรู้ความสามารถด้านไอซีทีเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ จะจัดทำเรื่องเสนอของบประมาณจากรัฐบาล จำนวน 2 พันล้านบาท ซึ่งไม่นับรวมถึงการติดตั้งโครงข่าย ภายในปี 2553 มาใช้ในการสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบรอดแบนด์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ข้อมูล : บริษัท ไทยโกลบอลเทล จำกัด http://www.pansak.net/?p=633


ที่มา: telecomjournal.net


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)