มลพิษทางเสียง ก็คือ สถานที่ที่มีเสียงดังเกินค่ามาตรฐาน มากกว่า 85เดซิเบลเอเป็นเวลานานๆ ทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพการได้ยินเสียง ทั้งให้เกิดความเครียด หูเริ่มตึง และร้ายแรงที่สุดคือการสูญเสียการได้ยินเสียงไป เสียงอยู่รอบๆตัวเรา ถ้าอยู่ในระดับมาตรฐานย่อมไม่เกิดอันตรายใดๆ แล้วถ้าจำเป็นต้องเจอกับสถานการณ์ภายใต้เสียงที่ดังเกินค่ามาตรฐาน เราจะมีวิธีการป้องกันหรืออุปกรณ์เซฟตี้อะไร ที่จะทำไม่ให้เราได้รับผลกระทบต่อเสียง บทความนี้มีคำตอบ
ประเภทแหล่งกำเนิดเสียง
1.ประเภทเคลื่อนที่ได้ เช่น เสียงจากยานพาหนะทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยเฉพาะยานพาหนะขนาดใหญ่ที่มีเสียงเครื่องยนต์ดังมากๆ
2.ประเภทอยู่กับที่ เช่น เสียงจากเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม เสียงจากเครื่องขยายเสียงประเภทลำโพงในสถานเริงรมย์ต่างๆ เสียงจากเครื่องมือ ไม่ว่าจะเป็นที่ขุดเจาะที่ต้องใช้แรงกระแทกสูงจนเกิดเสียงดัง
ผลกระทบ
1.หูอื้อถาวร หรือหูหนวกทันที ถ้าได้ยินเสียงดังเกินค่ามาตรฐานเป็นเวลานานๆ
2.เกิดความเครียด มีผลต่อจิตใจ
3.ประสิทธิภาพการทำงานจะลดลง มีปัญหาด้านการสื่อสารต่อผู้ร่วมงาน
วิธีการป้องกัน
1.หลีกเลี่ยง ไม่เข้าใกล้แหล่งกำเนิดเสียงดัง
2.ควบคุมเสียงไม่ให้เสียงดังเกินมาตรฐานที่กำหนด
3.สวมใส่อุปกรณ์ลดเสียง เนื่องจากมลพิษทางเสียงเป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่ง แล้วบางคนจำเป็นต้องทำงานภายใต้เสียงที่ดัง ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ด้วยภาระการทำงาน สิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันเราได้คือ การสวมใส่อุปกรณ์ลดเสียง หรือปลั๊กอุดหู เพื่อปิดกั้นเสียงไม่ให้ไหลผ่านเข้าหูเรา โดยถือเป็นหนึ่งในอุปกรณ์เซฟตี้ที่จำเป็นมากสำหรับพนักงานที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้เสียงที่ดัง
ฉนวนกันเสียง: มลพิษทางเสียง ปัญหาที่ป้องกันได้ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/