Author Topic: อนาคต Wi-Max ในกำมือทีโอที  (Read 888 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai

นอกจาก คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ชุดปัจจุบัน จะเดินหน้าผลักดันแผนการออกใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G เพื่อให้เกิดขึ้นในเดือน ก.ย.นี้แล้ว กทช. ยังพยายามผลักดันนโยบายบริการ อินเทอร์เน็ตไร้สายทั่วประเทศ (broadband wireless access : BWA) ควบคู่ไปด้วย โดยได้มีการจัดรับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่ม (focus group) เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2553 ที่ผ่านมา

โดยเนื้อหาหลักคือกำหนดให้ความถี่ย่าน 2.3 GHz เป็นความถี่สำหรับบริการ BWA เชิงพาณิชย์ และความถี่ย่าน 2.5 GHz เป็นความถี่สำหรับให้บริการโทรคมนาคมสาธารณะ (USO)

โดยในเชิงเทคนิคแล้ว เทคโนโลยีที่มีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้งานมากที่สุด ก็คือ เทคโนโลยี Wi-Max นั่นเอง

"พ.อ.นที ศุกลรัตน์" กรรมการ กทช. ตั้งเป้าว่า หลังจากทำโฟกัสกรุ๊ปแล้วจะสามารถรับฟังความคิดเห็นสาธารณะได้ประมาณต้นเดือน ก.ค. หลังจากนั้นจะ เข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติและน่าจะเริ่มออก ใบอนุญาตได้ในช่วงเดือน ก.ย. 2553 ซึ่งไล่เลี่ยกับช่วงเวลาของการออกใบอนุญาต 3G

อย่างไรก็ตามการผลักดันให้เกิด BWA ไม่ง่ายเหมือนการออกไลเซนส์ 3G ทั้งนี้เพราะในกรณีของ 3G นั้น กทช.มีความถี่ในมือพร้อมสำหรับจัดสรรอยู่แล้ว 45 MHz และจัดสรรได้ 3 ใบ ใบละ 15 MHz แต่กรณีของ BWA ย่าน 2.3 GHz ที่วางแผนจะนำไปให้บริการเชิงพาณิชย์นั้น กทช.ไม่มีความถี่เหลือว่างสำหรับจัดสรรเลย ด้วย เหตุนี้ กทช.จึงได้กำหนดแนวทางการดำเนินการไว้ว่า เมื่อประกาศเกี่ยวกับ BWA มีผลบังคับใช้แล้ว ผู้ที่ถือความถี่อยู่ในมือจะต้องมาแจ้งความประสงค์กับ กทช.ภายใน 30 วัน ว่าต้องการจะนำความถี่ดังกล่าวไปให้บริการ BWA หรือไม่ ซึ่งหากประสงค์จะให้บริการก็จะใช้ความถี่ได้ไม่เกิน 30 MHz ต่อรายเท่านั้น

เมื่อดูจากลักษณะการใช้งานความถี่ในขณะนี้แล้ว คนที่มีความถี่ดังกล่าวอยู่ในมือก็คือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ซึ่งใช้งานความถี่นี้อยู่ถึง 64 MHz ที่เหลือคือ กสทฯ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ ปตท.สผ. ซึ่งใช้งานความถี่ 2.3 GHz ไม่เกิน 30 MHz สักราย

พ.อ.นทีกล่าวว่า ในส่วนของผู้ที่มีแบนด์วิดท์ไม่ถึง 30 MHz สามารถแสดงความจำนงขอให้บริการได้เลย แต่ด้วยแบนด์วิดท์ที่น้อยอาจมีข้อจำกัดในการให้บริการบ้าง หรือหากไม่ประสงค์จะให้บริการก็สามารถเจรจาคืนคลื่นแก่ กทช. แลกกับเงินชดเชยและการได้รับจัดสรรความถี่ย่านอื่นสำหรับใช้งานทดแทน ความถี่เดิม

แต่สำหรับทีโอที หากประสงค์จะให้บริการก็จะใช้ความถี่ได้แค่ 30 MHz เท่านั้น ส่วนเกินอีก 34 MHz มี 2 แนวทางให้เลือก คือ 1.คืนแก่ กทช. เพื่อให้ กทช.นำไปจัดสรรใหม่ และ 2.ดำเนินการโอนความถี่แก่ผู้ให้บริการรายอื่นนำไปใช้งาน โดย รายละเอียดการโอนคลื่นเป็นเรื่องที่ทีโอทีจัดการเองทั้งหมดว่าจะโอนให้ใคร โอนให้ใช้เฉพาะรายจังหวัดหรือให้ใช้ได้ทั่วประเทศ รวมทั้งเงินชดเชยในการโอนความถี่ ฯลฯ โดยมี กทช.เป็นผู้อนุมัติการโอนขั้นสุดท้าย

แม้ฟังดูดี แต่เนื้อแท้แล้วเท่ากับว่า กทช.ไม่ได้เป็นผู้กำหนดชะตากรรมของ BWA ว่าจะได้เกิดหรือไม่ แต่ขึ้นอยู่กับ ทีโอทีว่าจะใจกว้างปล่อยคลื่นให้คนอื่นเอาไปใช้งานหรือเปล่า และคนที่ต้องการนำความถี่ไปใช้งานก็ต้องใช้คอนเน็กชั่น "วิ่งเต้น" จากทีโอทีเอง

และจากความคิดเห็นของตัวแทนทีโอทีในวงโฟกัสกรุ๊ปครั้งที่ผ่านมา ก็ชัดเจนว่า ทีโอทีคงไม่สามารถคืนให้ได้ ด้วยคำอธิบายว่าปัจจุบันทีโอทีได้ใช้งานความถี่ดังกล่าวในการให้บริการโทรศัพท์ทางไกลสาธารณะชนบทกว่า 6.5 หมื่นหมู่บ้านทั่วประเทศมา 10-15 ปีแล้ว ซึ่งหากนำคลื่นไปทำอย่างอื่นแล้วจะทำอย่างไรกับประชาชนที่ใช้บริการในขณะนี้

"เราไม่ได้เอาความถี่ไปเก็บไว้เฉย ๆ เราทำโทรศัพท์ทางไกลสาธารณะชนบทมากว่า 15 ปี และขาดทุนทุกปี ปีละกว่า 2,000 ล้านบาท เพราะมีรายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายแค่ 230 บาท/เดือน เราเคยบอก กทช.ว่า ถ้าอยากจะให้เปลี่ยนคลื่นความถี่ก็ต้องได้เงินชดเชยประมาณ 2,000 ล้านบาท เพราะต้องเอาไปเปลี่ยนอุปกรณ์ terninal ให้เข้าได้กับย่านความถี่ใหม่ แถมที่ตั้งของเครื่องแต่ละเครื่องยังอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ต้องเดินทางเข้าไปด้วย แต่ทั้งหมดนี้ผมคิดว่าเราคงให้เอาคืนไปไม่ได้หรอก เพราะอยู่ดี ๆ ไปถอนความถี่มาแล้วประชาชนเขาจะทำอย่างไร"

ฟังเสียงจากทีโอทีเช่นนี้แล้ว อนาคตของ บริการ BWA มีแนวโน้มลากยาวเป็นมหากาพย์แน่นอน เพราะแม้ว่า กทช.จะมีอำนาจในการยึดคลื่นคืนและอำนาจในการทำ refarming ความถี่ แต่กระบวนการดังกล่าวก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า คนที่มีความถี่อยู่นั้นไม่ได้ใช้ความถี่อย่างมีประสิทธิภาพจริง ๆ แถมต้องมีมาตรการในการเยียวยาผลกระทบที่ตามมา รวมทั้งอาจต้องไปสู้กันในศาลปกครองเสียด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ตามในส่วนของความถี่ย่าน 2.5 GHz กทช.สามารถนำมาให้บริการ BWA ได้เลย เพราะมีความถี่ว่างอยู่ 30 MHz โดย กทช.จะเปิดประมูลแบบ reverse auction เพื่อคัดเลือกผู้ให้บริการที่ของบฯอุดหนุนจาก กทช.น้อยที่สุด โดยเน้นให้บริการในจังหวัดที่มีรายได้ต่อประชากรต่ำประมาณ 15-20 จังหวัด และ กทช.จะกำหนดอัตราค่าบริการในราคาที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยควบคุมราคา ค่าบริการไว้ที่ 5 ปี

อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ ทางผู้ประกอบการเอกชนและผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมจากทั้งอีริคสัน ควอลคอมม์ หรือแม้แต่กลุ่มทรู ต่างไม่เห็นด้วยกับการนำความถี่ 2.5 GHz มาใช้งาน เพราะความถี่ย่านนี้ สหภาพโทรคมนาคมโลก (ITU) ได้สำรองไว้สำหรับเทคโนโลยี LTE ในอนาคต หากนำมาใช้ในขณะนี้จะทำให้ต้องยุ่งยากในการจัดการความถี่ในอนาคตอยู่ดี

รวมทั้งเสนอความคิดเห็นว่า ที่จริงแล้วความถี่ 2.3 GHz ก็สามารถนำมาให้บริการ USO ได้เช่นกัน เพราะเทคโนโลยีเริ่ม mature แล้ว และพื้นที่ให้บริการ USO ก็เป็นพื้นที่ที่ไม่มีใครเข้าไปลงทุนในเชิงพาณิชย์อยู่แล้วด้วย

ที่มา: prachachat.net


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)