Author Topic: แห่แจ้งถูกดูดเงินเอทีเอ็ม-สูญนับล้าน ติดเครื่องขโมยข้อมูล ซุกในช่องเสียบบัตร!  (Read 757 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


แห่แจ้งความเพิ่มเป็นกว่า 50 รายแล้วเหยื่อถูกดูดเงินผ่านเอทีเอ็ม ค่าเสียหาย 1.1 ล้านบาท แฉทั้งหมดถูกดูดเงินหลังใช้บัตรกดเงินจากตู้ในอาคารออลซีซั่นส์ ถ.วิทยุ และใกล้เคียง พบปลายทางกดไปจากประเทศยูเครน คนร้ายใช้วิธีติดตั้งตัว "สกิม เมอร์" หรือเครื่องบันทึกแถบแม่เหล็กบัตรเอทีเอ็ม ก่อนส่งข้อมูลไปให้คนร้ายก๊อบปี้บัตรออกมากดเงินออกจากบัญชี ตร.ลุยสอบ รปภ.และดูกล้องวงจรปิดหาเบาะแสคนร้ายที่มาติดตัว "สกิมเมอร์" แบงก์กสิกรฯ เผยพบบัตรถูกก๊อบปี้ 117 ใบ ชดเชยเงินให้ลูกค้าแล้ว 2.7 แสนบาท ขณะที่ไทยพาณิชย์ชี้ตรวจสอบตู้เอทีเอ็มของธนาคารเพื่อป้องกันเหตุ ยันตอนนี้แก้ปัญหาได้แล้ว สมาคมธนาคารไทยแนะวิธีป้องกันถูกดูดข้อมูล



เมื่อวันที่ 7 พ.ย. ประชาชนเจ้าของบัญชีธนาคารหลายแห่งเดินทางเข้าแจ้งความกับร.ต.อ.มีศัก โนราช ร้อยเวร สน.ลุมพินี ว่านำบัตรเอทีเอ็มไปกดเงินจากตู้เอทีเอ็มของธนาคารต่างๆ ภายในอาคารออลซีซั่นส์ เพลส ถ.วิทยุ ปรากฏว่าจากนั้นมีเงินถูกกดออก จากบัญชีอีกหลายครั้ง โดยที่เจ้าของบัตรไม่ทราบเรื่อง



นางสุพิชญา รัตนชัย อายุ 32 ปี หนึ่งใน ผู้เสียหายทำงานในอาคารเกิดเหตุ ให้การว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาได้ยินเพื่อนๆ คุยกันเรื่องที่เงินในบัญชีหายไปหลังจากกดเงินที่ตู้กดเงินสดในบริเวณอาคารอ อลซีซั่นส์ เพลส จึงนำบัตรธนาคารกรุงเทพที่เคยกดไปตรวจสอบพบว่าถูกกดเงินออกไป 2 ครั้งจำนวนประมาณ 15,000 บาท



นางประภานิช ไกรมาศ อีกหนึ่งผู้เสียหาย ให้การว่า เคยมากดเงินที่ตู้เอทีเอ็มในอาคารนี้ เมื่อทราบข่าวจึงรีบไปตรวจสอบพบว่ามีเงินถูกกดออกไป 4 ครั้งจำนวนประมาณ 50,000 บาท จึงรีบมาแจ้งความ



ด้านพ.ต.อ.ไชยา คงทรัพย์ ผกก.สน. ลุมพินี กล่าวว่า ตลอดทั้งวันมีประชาชน มาแจ้งความเงินหายจากบัญชี ส่วนเมื่อวาน (6 พ.ย.) มาแจ้ง 22 ราย ล่าสุดมีผู้เสียหายเข้ามาแจ้งความรวมแล้ว 50 ราย มูลค่าความเสียหายประมาณ 1,100,000 บาท ล่าสุดเชิญธนาคารต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายเดินทางมาร่วมประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูล เบื้องต้นพบว่าตู้เอทีเอ็มหลายแห่งถูกคนร้ายติดตั้งตัวสกิมเมอร์ หรือเครื่องบันทึกแถบแม่เหล็กบัตรเอทีเอ็ม เพื่อนำไปทำบัตรใหม่และสามารถกดเงินในบัญชีออกมาได้



"สันนิษฐานว่าคนร้ายน่าจะเป็นแก๊งชาวรัสเซีย โดยเมื่อผู้เสียหายสอดบัตรเอทีเอ็มเข้าไปทางตัวสกิมเมอร์ก็จะเก็บข้อมูลบัตร และส่งข้อมูลของบัตรไปยังผู้ต้องหา เบื้องต้นพบข้อมูลว่าแหล่งกดเงินอยู่ที่ประเทศยูเครน และเชื่อว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้น่าจะมีคนรู้เห็นกับการติดตั้งตัว สกิมเมอร์ เพราะการติดตั้งตัวสกิมเมอร์นั้นใช้เวลานานพอสมควร อีกทั้งตู้เอทีเอ็มในอาคารออลซีซั่นส์ไม่ได้อยู่ที่ลับตา มี รปภ.เดินตรวจเป็นระยะๆ จากนี้จะเรียกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเข้ามาสอบสวน และจะตรวจสอบกล้องวงจรปิดย้อนหลังว่ามีใครต้องสงสัยเข้ามาที่ตู้เอทีเอ็ม ดังกล่าวหรือไม่" ผกก.สน.ลุมพินีกล่าว



เจ้าหน้าที่พัฒนา ธุรกิจธนาคารกรุงศรี อยุธยากล่าวว่า ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินของลูกค้า เพื่อหาข้อเท็จจริง ส่วนกรณีที่ลูกค้าที่ประสบปัญหาสามารถนำเอกสารใบบันทึกแจ้งความแล้วนำมาที่ ธนาคารที่เป็นลูกค้าอยู่เพื่อตรวจสอบข้อมูล หากพบว่าลูกค้ารายใดโดนสกิมเมอร์ หรือแถบแม่เหล็กที่ใช้แฮ็กเงินจริงทางธนาคารที่ผู้เสียหายเป็นลูกค้าอยู่จะ เป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด



พ.ต.อ.สถิต พรมอุทัย ผู้กำกับการ 5 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) กล่าวว่า บก.ปอศ.จะประสานกับทางธนาคารผู้เสียหาย เพื่อสืบสวนหาตัวผู้ก่อเหตุ ซึ่งคนร้ายที่ก่อเหตุจะคัดลอกข้อมูลในประเทศ ไทยและไปกดเงินที่ต่างประเทศ กับอีกส่วนคัดลอกข้อมูลต่างประเทศและมากดเงินที่ประเทศไทย



ผู้ สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากที่ข่าวดังกล่าวแพร่กระจายออกไป ทำให้พนักงานที่ทำงานอยู่ในอาคารออลซีซั่นส์พากันเข้าไปที่ธนาคารที่ตนเอง เปิดบัญชีไว้เพื่อตรวจสอบยอดเงินในบัญชี สร้างความโกลาหลเป็นอย่างมาก



รายงาน ข่าวจากธนาคารกสิกรไทยเปิดเผยว่า ข่าวที่ลูกค้าธนาคารถูกถอนเงินจากบัญชีนั้น เป็นกรณีของเครื่องคัดลอกข้อมูลในแถบแม่เหล็กของบัตรเอทีเอ็ม (ATM Skimming) คือการที่คนร้ายเอาอุปกรณ์มาติดที่ตู้บริเวณที่เสียบบัตร เพื่อคัดลอกข้อมูลแถบแม่เหล็กเพื่อไปทำบัตรปลอม และนำไปถอนเงินในต่างประเทศ เบื้องต้นพบมีบัตรของธนาคารต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบ 5 ธนาคาร ในส่วนของธนาคารกสิกรไทยเป็นจำนวนบัตรเดบิตที่ถูกทุจริต 117 ใบ ในจำนวนนี้ 38 รายได้รับ ความเสียหายเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นประมาณ 270,000 บาท



"ธนาคาร กสิกรไทยในฐานะธนาคารผู้ออกบัตร ยืนยันจะเป็นผู้รับผิดชอบชดเชยความเสียหายให้กับลูกค้าทั้งหมดเป็นเงินรวม 270,000 บาท พร้อมกันนี้ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการนำภาพคนร้ายที่บันทึกได้จากตู้ เอทีเอ็มให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อติดตามต่อไป"



วันเดียวกัน ธนาคารกสิกรไทยออกหนังสือชี้แจงว่า ตามที่ได้มีการส่งข้อความทางช่องทางต่างๆ ให้งดการใช้บริการทางเครื่อง ATM ของธนาคารกสิกรไทยในช่วงนี้นั้น ธนาคารขอยืนยันว่าลูกค้าสามารถใช้บริการเครื่อง ATM ได้ตามปกติอย่างปลอดภัย สำหรับกรณีอันเกี่ยวเนื่องจากการคัดลอกข้อมูลบัตรเอทีเอ็มในครั้งนี้ มีบัตรเดบิต เอทีเอ็ม ของธนาคารกสิกรไทย รวมทั้งบัตรของธนาคารอื่นได้รับผลกระทบ ซึ่งการถูกคัดลอกข้อมูลดังกล่าวเกิดจากเครื่อง ATM 2-3 เครื่องของหลายธนาคารในบริเวณถนนวิทยุ ทั้งนี้ สำหรับกรณีที่เกิดความเสียหายทางการเงินในลักษณะดังกล่าว ธนาคารเจ้าของบัตรจะเป็นผู้รับผิดชอบให้ทั้งหมด หากพบปัญหาใดๆ สามารถติดต่อได้ที่ K-Contact Center 0-2888-8888



ส่วน ธนาคารไทยพาณิชย์ชี้แจงว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ขอเรียนยืนยันว่าลูกค้ายังสามารถใช้บริการที่เครื่องเอที เอ็มของธนาคารได้ตามปกติอย่างปลอดภัย ทั้งนี้ กรณีที่เกิดขึ้นเป็นการคัดลอกข้อมูลและรหัสบัตร หรือ Skimming ของกลุ่มมิจฉาชีพเพื่อโจรกรรมเงินในบัญชีลูกค้า ซึ่งเรื่องดังกล่าวอยู่ในระหว่างการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว



ธนาคาร ขอเรียนว่า ธนาคารมิได้นิ่งนอนใจ และจัดให้มีกระบวนการตรวจเช็กเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น มีการอายัดบัตรที่ต้องสงสัย และติดต่อแจ้งลูกค้าที่ถูกอายัดบัตรให้ทราบทุกราย ตลอดจนออกบัตรใหม่โดยไม่คิดค่าธรรมเนียม ในกรณีที่ลูกค้าได้รับความเสียหายจากกรณีนี้ธนาคารพร้อมให้ความช่วยเหลือและ รับผิดชอบ โดยคืนเงินให้แก่ลูกค้าทุกราย ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยหรือพบปัญหาใดๆ สามารถติดต่อได้ที่ SCB Call Center 0-2777-7777



นอกจากนี้สมาคมธนาคารไทยแจ้งเตือนให้ประชาชนที่ มีบัตรเอทีเอ็มให้เพิ่มความระมัดระวังในการใช้ เพื่อป้องกันการถูกลักลอบขโมยข้อมูลบนแถบแม่เหล็กและรหัสประจำบัตร โดยกลุ่มมิจฉาชีพจะใช้วิธีการนำอุปกรณ์มาครอบช่องเสียบบัตร และใช้วิธีซ่อนกล้องถ่ายภาพขนาดเล็กไว้บริเวณใกล้ ตู้เอทีเอ็มหรือยืนด้านหลังผู้ที่กำลังทำรายการ ดังนั้น ธนาคารขอแนะนำให้ลูกค้าใช้มือบังแป้นคีย์บอร์ดขณะกดรหัส หรือให้ลูกค้าสมัครบริการแจ้งความเคลื่อนไหวทางบัญชีผ่านการส่งข้อความแจ้ง ผ่านโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ซึ่งธนาคารส่วนใหญ่มีให้บริการ อยู่แล้ว ทำให้ลูกค้าสามารถทราบความเปลี่ยน แปลงทางบัญชีได้อย่างรวดเร็ว

ที่มา: khaosod.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)