Author Topic: 'เอ็นฟอร์ซฯ' หันลุย ซิเคียวริตี้ ธนาคาร-บิ้กดาต้า  (Read 832 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


 'เอ็นฟอร์ซฯ' เผยภัยคุกคามช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา พร้อมเบนเข็มลุยซิเคียวริตี้ธนาคารรับมาตรฐาน PCI และโซลูชันจัดการบิ้กดาต้า หวังขึ้นแท่นเบอร์ 1 ตลาดระบบรักษาความปลอดภัยองค์กรด้วยส่วนแบ่ง 20% ในปีหน้า
       
       นายนักรบ เนียมนามธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียวริตี้ ซิสเต็มส์ เอพี จำกัด กล่าวถึงแนวโน้มการเติบโตของตลาดซิเคียวริตี้ว่า ทุกๆปีจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยราว 10% จากปี 2555 ที่มีมูลค่าราว 2,700 ล้านบาท ส่วนในปี 2556 มูลค่ารวมจะอยู่ที่ราว 3,000 ล้านบาท ซึ่งปีที่ผ่านมาเอ็นฟอร์ซฯมีส่วนแบ่งตลาดราว 13.5%
       
       "รายได้รวมของเอ็นฟอร์ซฯ ในปี 2555 อยู่ที่ 364 ล้านบาท ส่วนภาพรวมในช่วงครึ่งปี 2556 เติบโตราว 20% ตามเป้าหมายที่วางไว้ ทำให้มีรายได้แล้วราว 170 ล้านบาท ซึ่งจากอัตราการเติบโตดังกล่าว ทำให้คาดว่าส่วนแบ่งตลาดของเอ็นฟอร์ซฯในช่วงสิ้นปีจะอยู่ที่ 17% และขึ้นเป็น 20% ในปีถัดไป"
       
       โดยในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาระบบการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะระบบ DRM จะเข้ามาช่วยในการจัดการไฟล์ และข้อมูลต่างๆ ที่จะถูกนำไปเผยแพร่ในระบบคลาวด์ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถจำกัดสิทธิการเข้าถึง เผยแพร่ ทำซ้ำต่างๆได้
       
       เนื่องจากปัจจุบันบริการคลาวด์ สำหรับใช้ฝากไฟล์ส่วนใหญ่ที่ให้บริการฟรี จะไม่มีระบบในการรักษาความปลอดภัย ทำให้บริษัท หรือ องค์กร ไม่สามารถตรวจสอบได้เลยว่าพนักงานจะนำไฟล์ที่มีความสำคัญใดบ้างขึ้นไปฝากไว้บนคลาวด์ ในจุดนี้จึงทำให้หลายองค์กรเริ่มพัฒนาระบบเก็บข้อมูลภายในองค์กรไว้ใช้เพื่อป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว
       
       ส่วนในมุมของดาต้าเซ็นเตอร์ ถือว่ามีอัตราการเติบโตค่อนข้างมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หลังจากเกิดเหตุการณ์อุทกภัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ จึงเกิดการลงทุนสร้างดาต้าเซ็นเตอร์สำรองไว้ หลายแห่ง
       
       ขณะที่รูปแบบการโจมตีที่เริ่มเกิดขึ้นและมีความรุนแรงสูงคือ APT (Advance Persistent Threat) ที่โปรแกรมป้องกันไวรัสทั่วไปไม่สามารถป้องกันได้ เนื่องมาจากการโจมตีจะเกิดขึ้นจากการทยอยเข้ามาฝังตัวภายในเครื่องหรือดาต้าเซ็นเตอร์ หลังจากนั้นก็จะทยอยรวบรวมส่วนประกอบที่เหลือของโปรแกรม เพื่อโจมตีจากภายใน ซึ่งในจุดนี้ APT จะสามารถเข้าไปควบคุมทุกอย่างได้ รวมถึงการเข้ารหัสข้อมูลและส่งออกไปยังภายนอกเพื่อไม่ให้สามารถตรวจจับได้
       
       วิธีป้องกันที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ การป้องกันที่ปลายทางของข้อมูลที่ส่งออกไปจากความสามารถของเน็กซ์เจนไฟร์วอล กับอีกส่วนหนึ่งคือการป้องกันที่ตัวเครื่องหรือดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งในจุดนี้ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ วิเคราะห์ และแก้ไขให้กลับมาสมบูรณ์
       
       ส่วนแนวโน้มของธุรกิจซิเคียวริตี้ในช่วงครึ่งปีหลังเชื่อว่าจะมาจากกลุ่มธนาคารเป็นหลัก เนื่องมาจากต้องมีการเตรียมมาตรฐาน PCI Compliance (Payment Cead Industry Data Security) ที่เป็นมาตรฐานกลางใช้กันทั่วโลก ซึ่งในการติดตั้งจำเป็นต้องใช้เวลาในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ และเตรียมระบบให้พร้อมใช้งานกว่า 6 เดือน
       
       โดยภายในช่วงเดือนกันยายน ทางเอ็นฟอร์ซฯจะมีการจัดงานสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับ PCI ที่จะมีตัวแทนจากทาง VISA จะมาให้ความรู้แก่กลุ่มลูกค้าธนาคาร หรือในแวดวงธุรกิจการเงินที่ใช้การชำระเงินผ่านการ์ดต่างๆ โดยมีเอ็นฟอร์ซฯเป็นผู้จัดงานร่วมกับพาร์ทเนอร์
       
       นอกจากนี้ยังมองไปถึงแผนการทำตลาดในปีหน้าว่าจะเล็งไปที่กลุ่มของบิ๊กดาต้า จากการให้บริการโซลูชันเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อหาความเชื่อมต่อของข้อมูล และนำมาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
       
       ในส่วนของการเปิดเออีซี ส่งผลให้การแข่งขันในประเทศรุนแรงขึ้น ส่วนในแง่ของการเข้าไปทำตลาดในประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่านั้น มองว่ายังไม่ถึงเวลาเพราะพม่ายังอยู่ในช่วงการสร้างอินฟราสตรัคเจอร์ ทำให้อาจยังไม่มีการลงทุนด้านระบบรักษาความปลอดภัยมากนัก แต่ในอนาคตเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเข้าไปทำตลาด
       
       "จุดที่เอ็นฟอร์ซฯ เหนือกว่าคู่แข่งรายอื่นๆในตลาดจาก 14 บริษัทที่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย คือการที่มีพาร์ทเนอร์ที่หลากหลาย ซึ่งสามารถนำมารวมกันเป็นโซลูชันที่สมบูรณ์แบบ ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด"
       
       Company Relate Link :
       nForce

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)