Author Topic: Mark Zuckerberg โผล่ร่วมพาเหรดชาวสีรุ้ง Gay Pride Parade  (Read 1372 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


ซีอีโอผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก "มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก" ร่วมกับพนักงานเฟซบุ๊ก 700 คนเดินพาเหรดในงานเฉลิมฉลองของชาวเกย์และเลสเบียน


เฟซบุ๊กส่งพนักงานมากกว่า 15% ของบริษัทมาเดินขบวนพาเหรดของชาวสีรุ้งในปีนี้


เฟซบุ๊กใช้วิธีตกแต่งป้ายสัญลักษณ์บริษัทด้วยแหวนสีรุ้งเพื่อแสดงจุดยืนสนับสนุนสิทธิ์เสรีภาพของชาวเกย์และเลสเบี้ยน


กูเกิล โชว์แถบสีรุ้งสัญลักษณ์ชาวข้ามเพศไว้ที่กล่องค้นหาทุกครั้งที่มีการค้นหาคำที่เกี่ยวกับชุมชนคนไม้ป่าเดียวกัน

ซีอีโอผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก (Facebook) มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก ร่วมกับพนักงานเฟซบุ๊ก 700 คนเดินพาเหรดในงานเฉลิมฉลองของชาวเกย์และเลสเบียน Lesbian Gay Bisexual Transgender Pride Celebration ที่ซานฟรานซิสโกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา ถือเป็นครั้งแรกที่ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กและทีมงานเฟซบุ๊กขนาดใหญ่ขานรับการเฉลิมฉลองครั้งนี้
       
       รายงานจากวอลสตรีทเจอร์นอล (Wall Street Journal) ระบุว่าเฟซบุ๊กส่งพนักงานมากกว่า 15% ของบริษัทมาเดินขบวนพาเหรดของชาวสีรุ้งในปีนี้ โดยทุกคนสวมเสื้อพิเศษที่ออกแบบเป็นสีม่วงเพื่องานอีเวนต์นี้โดยเฉพาะ ทั้งหมดนี้ทำให้สื่อต่างประเทศจับตามองเฟซบุ๊กที่ทุ่มเทสนับสนุนงานพาเหรดครั้งนี้อย่างจริงจัง

       ไม่เพียงเฟซบุ๊ก ก่อนหน้านี้บริษัทไอทีอย่างกูเกิลและแอปเปิลล้วนขานรับและสนับสนุนมหกรรมเฉลิมฉลองของชาวไม้ป่าเดียวกันมาตลอด แต่ยังไม่มีใครจัดทีมงานจำนวนมากรวมถึงไม่มีผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเข้าร่วมพาเหรด ถือเป็นมิติใหม่ที่เชื่อว่าจะเป็นผลดีในแง่บวกต่อภาพลักษณ์แบรนด์เฟซบุ๊ก
       
       เดือนมิถุนายนถูกสหรัฐฯกำหนดให้เป็น Gay and Lesbian Pride Month หรือเดือนแห่งความภาคภูมิใจของชาวเกย์และเลสเบียนตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีบิล คลินตัน เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ปี 2000 ก่อนจะเพิ่มเป็นชื่อ Lesbian, Gay, Bisexual (คน 2 เพศ), and Transgender (ผู้แปลงเพศแล้ว) Pride Month เพื่อให้ครอบคลุมถึงเสือไบและผู้แปลงเพศในสมัยประธานาธิบดีบารัค โอบามา โดยเดือนมิถุนายนถูกตั้งเพื่อให้ชาวอเมริกันระลึกถึงผลกระทบจากการต่อต้านและประทุษร้ายเกย์ทั่วโลก และวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนจะถูกกำหนดเป็นวัน Gay Pride Day ซึ่งจะมีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทั้งขบวนพาเหรดและปาร์ตี้ที่ฟิฟท์อเวนิว ถนนสายหลักของมหานครนิวยอร์ก
       
       สำหรับงานปีนี้ การเฉลิมฉลองพุ่งเป้าที่ศาลแคลิฟอร์เนียผ่านกฏหมายอนุญาตให้ผู้ที่มีเพศเดียวกันแต่งงานกันได้ ซึ่งเพิ่มดีกรีให้การเฉลิมฉลองในปีนี้เข้มข้นกว่าเดิม

       เฟซบุ๊กใช้วิธีตกแต่งป้ายสัญลักษณ์บริษัทด้วยแหวนสีรุ้งเพื่อแสดงจุดยืนสนับสนุนสิทธิ์เสรีภาพของชาวเกย์และเลสเบี้ยน ซึ่งถือว่าแตกต่างจากกูเกิล (Google) ยักษ์ใหญ่เสิร์ชเอนจิ้นของโลกที่โชว์แถบสีรุ้งสัญลักษณ์ชาวข้ามเพศไว้ที่ท้ายกล่องค้นหาทุกครั้งที่มีการค้นหาคำที่เกี่ยวกับชุมชนคนไม้ป่าเดียวกันตั้งแต่ปี 2010 ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีแถบสีรุ้งปรากฏอยู่เมื่อค้นหาคำว่า lesbian หรือ transgender

       ข่าวคราวเหล่านี้แสดงจุดยืนสนับสนุนผู้รักร่วมเพศอย่างชัดเจนของบริษัทไอทีระดับโลกทั้งกูเกิลและเฟซบุ๊ก ซึ่งอีกนัยหนึ่ง แปลว่าทั้งคู่พร้อมใจประกาศตัวเป็นฝั่งตรงข้ามกับกลุ่ม Proposition 8 กลุ่มต่อต้านการแต่งงานของเกย์ที่เคลื่อนไหวเพราะต้องการคัดค้านมติการอนุมัติกฏหมายการแต่งงานในกลุ่มผู้รักเพศเดียวกันช่วงปี 2008
       
       อีกเหตุผลที่ทำให้วัน Gay Pride Day มีนัยสำคัญ คือการรำลึกถึงเหตุโศกนาฏกรรมในบาร์เกย์ชื่อสโตนวอลล์เมื่อปี 1969 (2512) ครั้งนั้นทอมรายหนึ่งถูกตำรวจทำร้ายขณะเข้าจับกุมที่บาร์นี้ด้วยข้อกล่าวหา"แต่งตัวเป็นผู้ชาย" เพราะกฎหมายของนครนิวยอร์กขณะนั้นระบุว่าห้ามผู้คนในเมืองนี้ใส่เสื้อผ้าเครื่องประดับที่ไม่ตรงกับเพศของตัวเอง เมื่อทอมรายนั้นขัดขืนเพราะถูกตำรวจออกคำสั่งให้ไปโรงพักพร้อมใช้กำลังฉุดกระชาก ตำรวจโฉดกลุ่มนั้นจึงใช้อาวุธหวดที่ศีรษะของทอมบอยจนหนุ่มเกย์ที่ยืนอยู่ใกล้ๆต้องตะโกนห้าม ไม่นานผู้เห็นเหตุการณ์รายอื่นต่างร่วมขว้างปาสิ่งของข้างตัวเพื่อต่อต้านตำรวจ และกลายเป็นเหตุจราจลต่อเนื่องหลายวันจนทำให้รัฐบาลต้องเปลี่ยนแปลงกฏหมายที่ริดรอนสิทธิกลุ่มหญิงรักหญิง-ชายรักชายใหม่ทั้งหมด

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
1 Replies
3208 Views
Last post December 29, 2010, 07:26:12 PM
by Nick
0 Replies
1783 Views
Last post July 05, 2011, 02:10:19 PM
by Nick
0 Replies
1496 Views
Last post February 04, 2012, 09:31:12 AM
by Nick
0 Replies
2071 Views
Last post May 22, 2012, 09:25:41 PM
by Nick
0 Replies
1381 Views
Last post October 10, 2013, 01:20:09 PM
by Nick
0 Replies
1606 Views
Last post February 09, 2014, 01:17:33 PM
by Nick
0 Replies
1257 Views
Last post December 02, 2015, 07:34:59 PM
by Nick
0 Replies
2341 Views
Last post January 26, 2016, 05:45:22 PM
by Nick
0 Replies
1302 Views
Last post February 08, 2016, 02:30:49 PM
by Nick
0 Replies
1540 Views
Last post June 08, 2016, 12:25:00 PM
by Nick