Author Topic: แผนทาวเวอร์โค กสท ดึงกลุ่มทรูถือหุ้น 49%  (Read 563 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


   “กสท” หารือข้อกฎหมายคลัง กรณีดึงกลุ่มทรูเข้าถือหุ้น 49% ในบริษัททาวเวอร์โค ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ปี 2535 หรือไม่ หลังจูบปากทรูประนีประนอมยอมความการโอนเสาโทรคมนาคม ด้าน “อนุดิษฐ์” ลั่นอะไรที่คาอยู่ในอนุญาโตตุลาการ ควรรอผลตัดสินและไม่ควรดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น
       
       น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยรสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ได้รับรู้เรื่องที่บริษัท กสท โทรคมนาคม ทำหนังสือขอหารือข้อกฎหมายกรณีจัดตั้งบริษัทในเครือเพื่อรับโอนกรรมสิทธิในเสาสูงโทรคมนาคม (ทาวเวอร์โค) ที่ส่งไปยังปลัดกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้ว ถึงแม้ กสท จะไม่ได้หารือกับกระทรวงไอซีทีก่อนหน้านั้นก็ตาม
       
       ทั้งนี้ สาเหตุที่ กสท ต้องหารือข้อกฎหมายกับกระทรวงการคลัง เนื่องจากสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือระหว่างกสทกับบริษัท ทรูมูฟ จะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ก.ย. 2556 และปัจจุบัน กสท และทรูมูฟ มีข้อพิพาทอันเกิดจากการดำเนินการตามสัญญาที่อยู่ในระหว่างกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ โดยมีข้อพิพาทที่สำคัญคือ การโอนกรรมสิทธิในเสาสูงโทรคมนาคมและตู้คอนเทนเนอร์
       
       ตามหนังสือที่กสทส่งไปยังกระทรวงการคลัง กสท สรุปสถานการณ์ล่าสุดที่ดำเนินการเสร็จแล้ว คือ 1. กสท ได้เจรจาเรื่องทาวเวอร์โคกับทรูมูฟ เรียบร้อยไปแล้ว โดยกสทจะดำเนินการจัดตั้งบริษัทในเครือของ กสท เพื่อรับโอนกรรมสิทธิเสาสูงโทรคมนาคมและตู้คอนเทนเนอร์จากทรูมูฟ โดยในขั้นแรก กสท จะเป็นผู้ถือหุ้น 100% ในบริษัทนี้ หลังจากนั้น ทรูมูฟ หรือบริษัทในเครือจะเข้าไปถือหุ้นไม่เกิน 49% และ กสท ไม่น้อยกว่า 51% ทรูมูฟเข้าถือหุ้นด้วยวิธีการโอนกรรมสิทธิ์เสาโทรคมนาคมที่อยู่ในข้อพิพาทและอยู่ระหว่างอนุญาโตตุลาการพิจารณาโดยการตีมูลค่าแทนการชำระค่าหุ้นหรือจะใช้วิธีชำระเงินสด
       
       2. กสท กับทรูมูฟ ได้ร่างข้อตกลงสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อยุติข้อพิพาท (ในเรื่องการปรับลดค่าเช่าอุปกรณ์ของ BKFT, การโอนกรรมสิทธิ์ เสาสูงโทรคมนาคมและตู้คอนเทนเนอร์, การตั้งบริษัททาวเวอร์โค) โดยจะลงนามระหว่าง กสท-ทรู-BFKT ซึ่งการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน เพื่อให้คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยทั้งสองฝ่ายตกลงว่าคำชี้ขาดเป็นที่สุดและสละการใช้สิทธิทางศาลพร้อมกันนั้น
       
       ทั้งนี้ กสท ได้ขอหารือข้อกฎหมายกับกระทรวงการคลัง 3 ข้อ ประกอบด้วย 1. การตกลงให้ทรูมูฟ ซึ่งเป็นคู่สัญญาภาคเอกชนเข้าถือหุ้นบริษัทในเครือของ กสท ที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจและมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคม เช่น ให้เช่าเสาสูงโทรคมนาคม อยู่ภายใต้บังคับที่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หรือไม่ประการใด
       
       2. ในกรณีทรูมูฟตกลงจะโอนกรรมสิทธิในเสาสูงโทรคมนาคมและตู้คอนเทนเนอร์ให้แก่บริษัทในเครือของ กสท จะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเดิมหรือไม่ อย่างไร
       
       3.ในกรณีที่ กสท ได้รับโอนกรรมสิทธิในเสาสูงโทรคมนาคมและตู้คอนเทนเนอร์ ตามเงื่อนไขของสัญญาแล้ว ต่อมาภายหลังกสทประสงค์ที่จะดำเนินการจัดตั้งบริษัทในเครือเพื่อรับโอนกรรมสิทธิในเสาสูงโทรคมนาคมและตู้คอนเทนเนอร์ไปยังบริษัทดังกล่าว โดยใช้วีการโอนกรรมสิทธิเสาสูงโทรคมนาคมและตู้คอนเทนเนอร์แทนการชำระค่าหุ้น จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ และมีขั้นตอนอย่างไร
       
       น.อ.อนุดิษฐ์กล่าวว่า หนังสือที่ กสท ส่งถึงกระทรวงการคลังถือเป็นการหารือข้อกฎหมายว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่ แต่ไม่ใช่เป็นการหารือเพื่อกำหนดเป็นนโยบาย ซึ่งถือว่าสามารถทำได้ แต่ไม่ว่ากระทรวงการคลังจะตอบข้อหารือกลับมาอย่างไร ก็ถือเป็นเพียงข้อเสนอแนะ ไม่ได้หมายความว่า กสท จะสามารถดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ทันที เพราะต้องทำเรื่องเสนอตามสายบังคับบัญชาลำดับขั้น หรือหมายถึงต้องผ่านความเห็นชอบจากกระทรวงไอซีทีก่อน
       
       “ตามหลักการหากยังมีข้อพิพาทในเรื่องสัญญาสัมปทานที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ก็ไม่ควรจะดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้น ควรรอให้มีการตัดสินชี้ขาดออกมาก่อน กรณีการขอประนีประนอมยอมความระหว่างกัน ก็อาจทำได้ หาก กสท พิสูจน์ให้เห็นชัดเจนว่าจะเป็นผลประโยชน์กับ กสท หรือรัฐมากกว่า และไม่ใช่เป็นการเอื้อประโยชน์เอกชน”
       
       สำหรับข้อพิพาทตามสัญญาสัมปทานระหว่าง กสท กับทรูมูฟนั้น เนื่องจากทรูมูฟเห็นว่าเสาสูงโทรคมนาคมและตู้คอนเทนเนอร์ ไม่ถือเป็นทรัพย์สินที่ต้องส่งมอบให้ กสท ก่อนที่ทรูมูฟจะได้สิทธินำไปบริหารจัดการเพื่อให้บริการลูกค้าตามสัญญาบีทีโอ ในขณะที่กสทเห็นว่าเสาสูงโทรคมนาคมและตู้คอนเทนเนอร์ ถือเป็นทรัพย์สินอุปกรณ์โครงข่ายที่ต้องส่งมอบให้ กสท ทั้งหมด ทำให้เกิดข้อพิพาทจนต้องนำเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการเพื่อตัดสินชี้ขาด
       
       Company Relate Link :
       ICT
       CAT


ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)