Author Topic: เอชพีจัด 30 เซิร์ฟเวอร์ เยียวยาหลังป่วนเมือง  (Read 694 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


       เอชพีใจบุญมอบเซิร์ฟเวอร์ 30 เครื่องให้หน่วยงานภาครัฐที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในสัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับคลาวด์ คอมพิวติ้ง เจาะกลุ่มผู้บริหารภาครัฐ เตรียมพร้อมรับเทคโนโลยี "คลาวด์"
      
       นายเบง เทค เลียง กรรมการผู้จัดการ และผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจ เอ็นเทอร์ไพรส์ บิสิเนส บริษัท ฮิวเลตต์ - แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เหตุการณ์ความไม่สงบในสัปดาห์ที่่ผ่านมาส่งผลกระทบให้กับธุรกิจในวงกว้าง โดยเอชพีเองก็เช่นเดียวกัน เนื่องจากบริษัทตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ทางบริษัทจึงได้สั่งห้ามพนักงานทุกคนเข้าไปทำงานในออฟฟิศโดยเด็ดขาด
      
       ขณะเดียวกันเอชพีเล็งเห็นว่าหน่วยงานภาครัฐที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไฟไหม้จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือโดยด่วน เอชพีในส่วนของกลุ่มธุรกิจเอ็นเทอร์ไพรส์ ที่ให้บริการด้านไอทีโซลูชัน จึงตัดสินใจบริจาคเครื่องเซิร์ฟเวอร์จำนวน 30 เครื่อง ให้กับหน่วยงานภาครัฐที่ได้รับผลกระทบ ผ่านทางกระทรวงการคลังเพื่อให้จัดสรรค์ตามสมควร
      
       "ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานกับกระทรวงการคลัง เพื่อคัดเลือกหน่วยงานที่จะได้รับเซิร์ฟเวอร์ ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ไปใช้งาน โดยเอชพีร่วมมือกับดิสทริบิวเตอร์อย่าง แวลู ซิสเต็มส์ และ เอสไอเอส พร้อมส่งมอบเครื่องให้เร็วที่สุด"
      
       นอกจากนี้เอชพียังได้จัดงานสัมมนา "HP Government CIO Forum 2010" ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เปิดเวทีให้ผู้บริหารไอทีจากกระทรวง ทบวง กรม และองค์กรภาครัฐต่างๆ รวมทั้งทางด้านการศึกษา กว่า 150 รายเข้าแลกเปลี่ยนวัตกรรมคลาวด์ คอมพิวติ้ง และโซลูชันไอทีระดับสูงเพื่อยกระดับการดำเนินงานของภาครัฐ
      
       นายเบง กล่าวต่อว่า หน่วยงานภาครัฐ เป็นฐานลูกค้าที่มีความสำคัญกับกลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับองค์กร ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และบริการต่างๆ ซึ่งการจัดงานสัมมนาดังกล่าวจะช่วยเปิดแนวคิดใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยีให้กับหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้โดยเฉพาะเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง ที่สามารถเข้ามาช่วยให้ความสะดวกกับหน่วยงานต่างๆ ได้มากขึ้น
      
       "เอชพีเชื่อว่าขณะนี้ทุกองค์กรภาครัฐต่างมีแผนที่จะดำเนินการด้านการจัดเก็บข้อมูลอยู่แล้ว เพียงแต่แต่ละหน่วยงานไม่ได้ทำงานร่วมกัน จึงทำให้ใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นเชื่อว่าถ้าเราสามารถนำองค์ความรู้ที่จากประสบการณ์เอชพีที่ได้ทำมาในต่างประเทศ มาใช้ในประเทศไทย จะช่วยทำให้สามารถนำไอทีเข้ามาใช้กับหน่วยงานภาครัฐในการรวบรวมข้อมูลของแต่ละองค์กรได้"
      
       โดยภายในงานได้มีการพูดถึง ไพรเวท คลาวด์ (Private Clound) ที่ทางเอชพีได้เสนอแนวคิดดังกล่าวให้กับหน่วยงานภาครัฐ เนื่องจากแต่ละองค์กรเองมีข้อจำกัดในการทำงานจากความเป็นราชการ ดังนั้นจึงเชื่อว่าถ้าเริ่มจากในแต่ละหน่วยงานนำไพรเวท คลาวด์ หลายๆ ส่วนมารวมกันให้กลายเป็น ไฮบริด คลาวด์ (Hybrid Clound) ขนาดใหญ่ ที่เชื่อมโยงข้อมูลของแต่ละหน่วยงานเข้าด้วยกัน ก็จะประสบความสำเร็จในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูลและประยุกต์ใช้ในที่สุด
      
       ขณะเดียวกันได้มีการยกตัวอย่างคอนเซบป์คลาวด์ คอมพิวติ้ง ที่เริ่มมีใช้ในหน่วยงานภาครัฐอย่างกระทรวงการคลัง ในระบบ GFMIS หรือ ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่เริ่มใช้พร้อมกับโครงการไทยแข็มแข็ง ที่ทำขึ้นโดยใช้แนวความคิดเดียวกับคลาวด์ คอมพิวติ้ง เพียงแต่ยังไม่เต็มรูปแบบเท่านั้นเอง
      
       ส่วนความคืบหน้าหลังจากเอชพีซื้อทรีคอม (3Com) บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการระบบเน็ตเวิร์ก ในต่างประเทศได้ควบรวมกันเรียบร้อยแล้ว ส่วนในประเทศไทยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 1-2 เดือนนี้ ซึ่งทรีคอมจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มธุรกิจองค์กรของเอชพี ที่ดูแลในส่วนของระบบเครือข่ายและการเชื่อมต่อต่างๆ โดยใช้ทีมงานเดิมทั้งหมด


ที่มา: ผลวิจัยตลาดจากการ์ทเนอร์ (Gartner) ระบุว่าเอชพี (Hewlett-Packard) สามารถคว่ำยักษ์ใหญ่สีฟ้าอย่างไอบีเอ็ม (IBM) ขึ้นเป็นบริษัทที่ทำรายได้จากการขายคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ทั่วโลกได้มากที่สุดเป็นครั้งแรกในไตรมาส 1 ปี 2010 โดยตลาดเซิร์ฟเวอร์แพลตฟอร์ม x86 นั้นขยายตัวสดใส สวนทางแพลตฟอร์ม Unix และเมนเฟรม (mainframe) ที่เริ่มส่งแววขาลงชัดเจนยิ่งขึ้น
       
       ข้อมูลระบุว่า เม็ดเงินรายได้ในตลาดคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์โลกประจำไตรมาส 1 ปี 2010 ที่ผ่านมานั้นเติบโตขึ้นราว 6% เมื่อเทียบจากไตรมาสแรกปี 2009 เบ็ดเสร็จคิดเป็นมูลค่า 10,800 ล้านเหรียญสหรัฐ
       
       แต่ในแง่ตัวเครื่อง ยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ในตลาดโลกตลอด 3 เดือนแรกของปีนี้คิดเป็น 2.1 ล้านเครื่อง หรือคิดเป็นอัตราเติบโต 23% เมื่อเทียบจากไตรมาสแรกของปีที่แล้ว
       
       อัตราการเติบโตในแง่จำนวนเครื่องที่สูงกว่าอัตราการเติบโตด้านรายได้ สะท้อนให้เห็นถึงทิศทางราคาคอมพิวเตอร์ที่ลดต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม เจฟฟรีย์ ฮิววิตต์ (Jeffrey Hewitt) นักวิจัยตลาดของการ์ทเนอร์เชื่อว่านี่คือสัญญาณที่ดีเนื่องจากยอดขายเครื่องที่เพิ่มขึ้นคือสิ่งที่ยืนยันได้ว่าผู้บริโภคมีความต้องการซื้อมหาศาลอย่างเป็นรูปธรรม
       
       ฮิววิตต์เชื่อว่าชิปตระกูล Xeon หน่วยประมวลผลสำหรับคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์จากอินเทล (Intel) นั้นเป็นตัวกระตุ้นสำคัญให้บริษัทองค์กรสำนักงานทั่วโลกตัดสินใจซื้ออุปกรณ์เครือข่ายชิ้นใหม่ แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจโลกที่ยังเพิ่งฟื้นตัว อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ก็ยังไม่สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำแบบที่เคยทำไว้ในปี 2008
       
       ข้อมูลการ์ทเนอร์ระบุว่า เม็ดเงินในตลาดคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ระบบปฏิบัติการ x86 ทั่วโลกนั้นมีมูลค่าราว 7,180 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 32% ขณะที่ยอดขายเครื่องคิดเป็น 2.06 ล้านเครื่อง ถือเป็นสัดส่วนตลาดเซิร์ฟเวอร์ที่ขยายตัวมากที่สุดในไตรมาสแรกของปีนี้
       
       ตลาดเซิร์ฟเวอร์ที่มีอัตราเติบโตยอดเยี่ยมรองลงมาคือเซิร์ฟเวอร์ไฮเอนด์งใช้ชิปตระกูล RISC และ Itanium มีสัดส่วนตลาดลดลง 27% เช่นเดียวกับส่วนตลาดอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องเมนเฟรมนั้น ลดลงอีกราว 15%
       
       ผู้ค้าที่สามารถโกยรายได้ในตลาดเซิร์ฟเวอร์เพิ่มขึ้นมากที่สุดในไตรมาสแรกของปีนี้คือเอชพี (HP) และเดลล์ (Dell) แต่ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือออราเคิล (Oracle) ที่ซื้อซันไมโครซิสเต็มส์ไปแต่ก็ยังไม่สามารถทำตลาดได้อย่างที่ตั้งใจไว้
       
       ข้อมูลระบุว่า รายได้ธุรกิจเซิร์ฟเวอร์ของเอชพีนั้นมีมูลค่ารวม 3,390 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 15.9% ทำให้เอชพีมีส่วนแบ่งในตลาดทั้งหมด 31.5%
       
       อันดับที่ 2 คือไอบีเอ็ม ซึ่งมีรายได้ลดลง 2.1% เหลือ 3,050 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนตลาด 28.4% ของตลาดรวม
       
       อันดับที่ 3 คือเดลล์ โดยธุรกิจจำหน่ายเซิร์ฟเวอร์ของเดลล์นั้นทำเม็ดเงินเพิ่มสูงขึ้นอีก 35.5% มีมูลค่ารวม 1,670 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 15.6%
       
       สำหรับออราเคิลนั้นสามารถจำหน่ายเซิร์ฟเวอร์แบรนด์ซันได่เพียง 42,528 เครื่องเท่านั้นในช่วงต้นปีที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วนลดลงถึง 29.5% ในแง่ตัวเครื่อง ซึ่งในแง่รายได้ ออราเคิลสามารถทำรายได้ในธุรกิจเซิร์ฟเวอร์เพียง 598 ล้านเหรียญเท่านั้น คิดเป็นสัดส่วนลดลงถึง 38.7%
       
       อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้แปลว่าออราเคิลจะถึงกาลอวสาน เนื่องจากฮิววิตต์เชื่อว่า หลายองค์กรบริษัทยังรอที่จะซื้อเซิร์ฟเวอร์ที่มาพร้อมชิป Ultrasparc ของซัน ซึ่งอาจจะเป็นตัวเปลี่ยนเกมในไตรมาสต่อไป


ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)