Author Topic: “สถาบันฯ ไทยศึกษา” ชี้ 3G ช้า ค่าเสียโอกาสสูง 4.8 แสนล้าน  (Read 611 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      “สถาบันอนาคตไทยศึกษา” ชี้ 3G ช้า 3 ปีก่อนประเทศไทยสูญค่าเสียโอกาสถึง 4.8 แสนล้านบาท โดยเฉพาะรัฐสูญถึง 2 พันล้านบาท ขณะเดียวกันการลงทุน 3G อาจทำให้รัฐเสียส่วนแบ่งรายได้บนคลื่นความถี่เก่า-รายได้จากภาษีทางตรงทางอ้อมรวม 63,000 ล้านบาทต่อปี
       
       ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานคณะกรรมการบริหาร สถาบันอนาคตไทยศึกษา เปิดเผยผลวิจัยว่า ผลจากที่ประเทศไทยไม่มีการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz (3G) ของ กทช.เมื่อช่วงเดือน ก.ย. 2552 หรือ 3 ปีก่อน จากการคัดค้านมิให้มีการประมูลนั้น ทำให้ประเทศไทยเกิดค่าเสียโอกาสจากโครงการดังกล่าวถึงมูลค่า 4.8 แสนล้านบาท หรือปีละ 1.6 แสนล้านบาท กลับกันสร้างรายได้ที่มองเห็นให้ประเทศเพียงปีละประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาทเท่านั้น
       
       “ประเทศมีรายได้มาจากค่าสัญญาสัมปทานของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่นำส่งให้แก่ภาครัฐซึ่งรวมกันก็ได้เฉลี่ยปีละ 1.5 หมื่นล้านบาท แต่หากมองลึกลงไปแล้ว จะเห็นว่าประเทศชาติเสียโอกาสจากเม็ดเงินที่เรามองไม่เห็นใน 3 ส่วน คือ รัฐ ธุรกิจ และประชาชน”
       
       ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการทำบทวิจัยชิ้นนี้ไม่ได้ก้าวล่วงไปถึงการคิดสูตรการประมูล 3G ว่าการประมูลที่ผ่านมาที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลที่ 4,500 ล้านบาทต่อสลอตนั้นเป็นมูลค่าที่สูงไปหรือต่ำไป แต่เหตุผลที่แท้จริงคือต้องการให้สังคมได้เห็นว่าประเทศไทยเสียโอกาสจากภาคธุรกิจที่มองไม่เห็นมีมูลค่าสูงมากเพียงใดเท่านั้น
       
       ด้าน ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้จัดการ กล่าวเสริมว่า ค่าเสียโอกาสมูลค่า 4.8 แสนล้านบาท แบ่งเป็นค่าเสียโอกาสของภาครัฐปีละ 2 พันล้านบาทจากที่รัฐเสียโอกาสในการเรียกเก็บภาษีจากภาคเอกชนที่ได้รับอานิสงส์จากการให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ใหม่ และการย้ายฐานลูกค้ามาใช้คลื่นความถี่ใหม่ด้วย
       
       ขณะที่ภาคธุรกิจปีละ 9.6 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นค่าเสียโอกาสจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดจำนวน 3.3 หมื่นล้านบาท และผลกระทบต่อเศรษฐกิจในส่วนอื่นๆ อีก 6.3 หมื่นล้านบาท ขณะที่ภาคประชาชนอีกปีละ 6.2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นจากการที่ประชาชนเสียเวลาการเข้าชมเว็บไซต์บนมือถือเนื่องจากความเร็วของ 3G จำนวน 3.9 หมื่นล้านบาท รวมถึงค่าใช้จ่ายโทรศัพท์เพิ่มขึ้นเพราะคุณภาพของบริการที่ไม่ดี อาทิ สายหลุดบ่อยขณะการใช้งาน อีกประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท
       
       นอกจากนี้ การลงทุนในโครงการ 3G อาจทำให้รัฐเสียส่วนแบ่งรายได้บนคลื่นความถี่เก่า และรายได้จากภาษีทางตรงทางอ้อมเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่ม อีกทั้งยังส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งอุตสาหกรรมปลายน้ำ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ต่อยอดจากการใช้เทคโนโลยี 3G ไปเป็นฐานการผลิต คิดเป็นมูลค่ารวม 63,000 ล้านบาทต่อปี
       
       Company Relate Link :
       สถาบันอนาคตไทยศึกษา

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)