Author Topic: Facebook ผนึกพันธมิตร ทดสอบ “ปุ่ม want”  (Read 710 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ซีอีโอเฟซบุ๊ก กับอริยาบทสบายๆ


ปุ่ม 'Want' กับการผสานเข้าสู่โลกอี-คอมเมิร์ช


'Want' ปุ่มเดียวที่อาจพลิกชะตาหุ้นของเฟซบุ๊ก ?

เฟซบุ๊ก (Facebook) ประกาศจับมือพันธมิตรผู้ค้าปลีก ทดสอบคุณสมบัติใหม่ “ปุ่ม want” เพื่อให้ชาวออนไลน์กดแล้วสร้างรายชื่อสินค้าในฝันที่เล็งไว้ ครอบคลุมทั้งกลุ่มเฟอร์นิเจอร์, เสื้อผ้าแฟชั่น และสินค้ารีเทลอื่นๆ คาดจะสามารถสร้างแรงกระเพื่อมในตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซได้ทั่วโลก
       
       การเริ่มทดสอบคุณสมบัติใหม่บนเฟซบุ๊กนี้ถูกเปิดเผยผ่านแถลงการณ์เมื่อวันที่ 8 ต.ค. โดยเฟซบุ๊กระบุว่าปุ่ม want หรือปุ่มแสดงความต้องการนั้นจะทำให้ชาวเฟซบุ๊กสามารถสร้างรายการสินค้าที่ต้องการหรือ wishlist เพื่อส่งต่อให้เพื่อนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ ทั้งหมดนี้เฟซบุ๊กกำลังประสานงานกับบริษัทผู้ค้าปลีกมากกว่า 7 ราย ซึ่งจะทำให้ภาพสินค้าของแบรนด์เหล่านี้สามารถถูก “ปักธง” ว่าน่าสนใจในสายตาของผู้ใช้
       
       ส่วนหนึ่งของ 7 บริษัทค้าปลีกที่เฟซบุ๊กดึงเป็นพันธมิตรทดสอบปุ่ม want ได้แก่ Pottery Barn, Victoria's Secret, Neiman Marcus, Michael Kors, Smith Optics, Wayfair และ Fab.com จุดนี้เฟซบุ๊กอธิบายว่า ปุ่ม want จะช่วยให้ชาวออนไลน์สามารถผูกติดกับสินค้าในคอลเลกชันของแบรนด์เหล่านี้ได้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็สามารถแบ่งปันสินค้าที่สนใจกับเพื่อนได้อย่างทั่วถึง จากนั้นชาวออนไลน์จะสามารถคลิกซื้อสินค้าได้ทันใจ
       
       สิ่งที่ชาวเฟซบุ๊กจะได้รับ คือผู้ใช้จะได้ทดลองกดปุ่ม want สินค้าที่น่าสนใจ ซึ่งเพื่อนในเครือข่ายรายอื่นจะสามารถเห็นสินค้าชิ้นนี้ และสามารถแสดงความสนใจในสินค้านั้นด้วยการเพิ่มสินค้าในลิสต์ หรือเพียงกด like แสดงความชื่นชอบแต่ไม่อยากเป็นเจ้าของ โดยสิ่งที่แตกต่างจากปุ่ม like ปัจจุบันที่เฟซบุ๊กให้บริการอยู่ คือสินค้าที่ถูกกด want จะแสดงในหน้าประวัติบนไทม์ไลน์ของผู้ใช้ ต่างจากสินค้าถูกกด like ที่จะแสดงในส่วนกิจกรรมหรือ Activities
       
       แทนที่จะใช้ชื่อปุ่ม want เฟซบุ๊กตั้งชื่อคุณสมบัตินี้อย่างเป็นทางการว่า Collections ซึ่งแม้จะเป็นคุณสมบัติที่ทำให้เฟซบุ๊กมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในตลาดอีคอมเมิร์ซ แต่ยักษ์ใหญ่เครือข่ายสังคมยืนยันว่าจะไม่ได้รับส่วนแบ่งใดๆ จากการซื้อขายสินค้าในกลุ่ม wishlist บนเฟซบุ๊กผ่านเว็บไซต์
       
       นักวิเคราะห์เชื่อว่า คุณสมบัตินี้จะสามารถปูทางไปสู่ธุรกิจอนาคตไกลของเฟซบุ๊กได้ เพราะปุ่ม want นั้นเป็นโอกาสทองที่ทำให้ชาวเฟซบุ๊กที่มีมากกว่า 1 พันล้านคนสามารถกระตุ้นการจับจ่ายของเพื่อน โดยนักชอปจะถูกส่งตรงสู่เว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ซึ่งช่วยให้การซื้อสินค้าออนไลน์ทำได้ง่ายและรวดเร็ว
       
       โคลิน เซบาสเตียน (Colin Sebastian) นักวิเคราะห์จากบริษัทวิจัย Robert W. Baird กล่าวว่า คุณสมบัติ Collections นี้จะสร้างแหล่งรายได้ใหม่ให้เฟซบุ๊ก ซึ่งอาจจะสามารถช่วยกู้วิกฤตหุ้นเฟซบุ๊กตกต่ำได้ในระยะยาว เนื่องจากอีคอมเมิร์ซนั้นเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างเงินจากอินเทอร์เน็ต
       
       เซบาสเตียนเชื่อว่า ฐานผู้ใช้มหาศาลทุกมุมโลกจะทำให้เฟซบุ๊กมีแต้มต่อมากกว่าผู้เล่นรายอื่นในตลาดอีคอมเมิร์ซ ซึ่งการเปิดทดสอบคุณสมบัตินี้อาจจะเป็นบันไดขั้นแรกสู่การสร้างรายได้จากอุตสาหกรรมซื้อขายสินค้าออนไลน์ในอนาคต โดยเป็นไปได้ที่เครือข่ายสังคมยักษ์ใหญ่จะตัดสินใจคิดค่าบริการจากอัตราการส่งผู้ใช้ไปยังเพจของเว็บไซต์ร้านค้า และเชื่อว่าในอนาคตร้านค้าปลีกจำนวนมากจะพร้อมใจจ่ายเงินให้เฟซบุ๊กเพื่อโปรโมตสินค้าผ่านระบบ wishlist ของเฟซบุ๊ก ซึ่งจะสามารถทำได้ในรูปแบบโฆษณาที่ Facebook ให้บริการอยู่
       
       ก่อนการประกาศข่าวทดสอบบริการใหม่ มูลค่าหุ้นเฟซบุ๊กลดลง 2.4% ปิดที่ 20.40 เหรียญสหรัฐ โดยนักวิเคราะห์ริชาร์ด กรีนฟีลด์ (Richard Greenfield) แห่ง BTIG ได้ลดระดับความน่าเชื่อถือของหุ้นเฟซบุ๊กโดยจัดให้อยู่ในกลุ่ม “Sell” ที่นักลงทุนควรขายออกมากกว่าถือไว้ เหตุผลเพราะธุรกิจโฆษณาออนไลน์ของเฟซบุ๊กนั้นไม่สามารถขยายตัวในตลาดอุปกรณ์พกพาได้เท่าที่ควร จุดนี้เชื่อว่ามูลค่าหุ้นของเฟซบุ๊กจะดีดตัวขึ้นไม่มากก็น้อย เพราะคุณสมบัติ Collections นั้นเชื่อว่าจะสามารถเข้าถึงผู้ใช้ในสหรัฐฯ ได้ด้วยสัดส่วน 100%
       
       การเปิดทดสอบคุณสมบัติ Collections นี้เกิดขึ้นหลังจากมีข่าวลือเมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ครั้งนั้นโลกออนไลน์รายงานว่านักพัฒนาแอปพลิเคชันได้สังเกตพบชุดคำสั่งสำหรับการใช้งานปุ่ม want ในชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ JavaScript SDK แต่เฟซบุ๊กกลับบ่ายเบี่ยงไม่ตอบรับว่าเบาะแสดังกล่าวเป็นเรื่องจริง โดยชี้แจงว่าบริษัททดสอบฟีเจอร์ใหม่อย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีความคืบหน้าในขณะนั้น
       
       ขณะเดียวกัน บางกระแสมองว่าปุ่ม want อาจถูกสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาโฆษณาบนเฟซบุ๊กที่ไม่ได้ผล ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ที่กด like ไม่ได้ชื่นชอบสินค้าหรือบริการอย่างแท้จริง นอกจากนี้ เว็บไซต์บางแห่งยังตั้งข้อสังเกตว่า Collections มีแนวคิดบางส่วนคล้ายกับ Pinterest เครือข่ายสังคมแชร์รูปภาพหรือเรื่องราวที่ชาวออนไลน์แต่ละคนชื่นชอบ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการโปรโมตสินค้าหรือบริการได้โดยการคลิกของผู้ใช้ไม่ต่างกัน
       
       มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก เพิ่งประกาศความสำเร็จจำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊กต่อเดือน (active user) ทะลุ 1,000 ล้านรายไปเมื่อวันที่ 14 ก.ย.ที่ผ่านมา ปริมาณการกด like ในขณะนี้คือ 1.13 ล้านล้านครั้ง (นับตั้งแต่ ก.พ. 2009) มีภาพถ่ายถูกอัปโหลดขึ้นสู่ระบบมากกว่า 219 พันล้านภาพ ปริมาณการเช็กอินเข้าสู่สถานที่ 17 พันล้านครั้ง จำนวนความเป็นเพื่อน (friend connection) ระหว่างสมาชิกเฟซบุ๊ก 140.3 พันล้านความสัมพันธ์ บนอายุเฉลี่ยของผู้ใช้เฟซบุ๊กคือ 22 ปี โดยจำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊กผ่านอุปกรณ์มือถือมีมากกว่า 600 ล้านราย
       
       Company Related Link :
       Facebook

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
1758 Views
Last post June 24, 2010, 07:03:46 PM
by Nick
0 Replies
2649 Views
Last post September 06, 2010, 10:53:40 PM
by Nick
0 Replies
2143 Views
Last post September 08, 2010, 04:58:02 PM
by Nick
0 Replies
2207 Views
Last post September 23, 2010, 01:38:22 PM
by Nick
0 Replies
2142 Views
Last post October 10, 2010, 03:54:04 PM
by Nick
0 Replies
2337 Views
Last post October 19, 2010, 03:49:30 PM
by Nick
0 Replies
2897 Views
Last post November 04, 2010, 04:57:18 PM
by Nick
0 Replies
15759 Views
Last post December 19, 2010, 11:52:48 PM
by Nick
0 Replies
3209 Views
Last post December 23, 2010, 12:21:20 AM
by Nick
0 Replies
3436 Views
Last post March 08, 2012, 01:28:50 PM
by Nick