Author Topic: ไอบีเอ็ม ชี้ ซีอีโอโลก ต้อง เกาะติด สังคมแห่งการเชื่อมต่อ  (Read 873 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      ไอบีเอ็มเผยผลสำรวจ Global CEO Study ต่างตระหนักผลกระทบของเทคโนโลยี โดยเฉพาะโซเชียลมีเดียสอดแทรกเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต เผยองค์กรจำต้องปรับตัวใน 3 เรื่องเพื่อเข้าไปส่วนหนึ่งในยุคสังคมแห่งการเชื่อมต่อ บุคลากรเข้าใจความต้องการระดับปัจเจกบุคคล และร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจอย่างเข้มข้น
       
       นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า เป็นประจำทุกๆ 2 ปีทางไอบีเอ็มได้จัดทำการสำรวจความคิดเห็น 'Global CEO Study' ในลักษณะพูดคุยเป็นการส่วนตัวกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน 1,709 คนจากทั่วโลก เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับแผนงานในอนาคตของผู้บริหารเหล่านี้ รวมถึงความท้าทายที่ผู้บริหารต้องเผชิญท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่มีการเชื่อมโยงถึงกันเพิ่มมากขึ้น
       
       โดยทำการสำรวจระหว่างเดือนกันยายน 2554 ถึงมกราคม 2555 ประเด็นที่มีการถกเถียงกันอย่างมากก็คือ การจะเชื่อมต่อกับเศรษฐกิจใหม่ได้อย่างไร ซึ่งถือเป็นคอมมูนิตี้ใหม่ คนรุ่นใหม่ได้ใช้เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว ซึ่งจะเรียกว่า เป็นวิธีชีวิตก็ว่าได้ ปรากฎการณ์โซเชียลมีเดีย โมบิลตี้ สิ่งเหล่านี้ได้หลอมรวมเข้าด้วยกัน นั้นทำให้มีการคิดว่า องค์กรจะเข้าไปอยู่ในส่วนนั้นได้อย่างไร
       
       "จากผลการศึกษาสามารถสรุปเป็นประเด็นสำคัญที่ซีอีโอจะต้องมองใน 3 เรื่อง เรื่องแรก คือเปิดกว้างการทำงานให้กับบุคลากร เรื่องที่สองเป็นการเข้าาใจถึงผู้บริโภคในระดับปัจเจกบุคคล และสุดท้ายความร่วมมือกับพันธมิตร"
       
       นายพรรณสิรี กล่าวต่อว่า ในเรื่องของบุคลากร ซีอีโอในภูมิภาคอาเซียน ให้ความสำคัญกับเรื่องทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์ในการประสานงานร่วมกันสูงถึง 87% ขณะที่ซีอีโอทั่วโลกให้ความสำคญที่ 75% ตามมาด้วยความคิดสร้างสรรค์ ที่ให้น้ำหนักถึง 61% เท่าๆ กันเรื่องความยืดหยุ่นในการทำงาน ซึ่งถือปัจจัยหลักที่จะช่วยให้บุคลากรประสบความสำเร็จในการดำเนินงานในสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนและมีความเชื่อมโยงถึงกันมากขึ้น
       
       'ความมุ่งมั่นที่จะสร้างบรรยากาศในการทำงานที่เปิดกว้างมากขึ้น ซีอีโอจึงมองหาพนักงานที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ โดยซีอีโอมุ่งเน้นการค้นหาพนักงานที่มีความสามารถในการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองและผู้อื่นในขณะที่ก้าวเดินไปข้างหน้า'
       
       เพื่อสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ องค์กรจำเป็นที่จะต้องรับสมัครและว่าจ้างพนักงานที่สามารถทำงานเป็นทีมในสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้าง และขณะเดียวกัน ผู้บริหารจะต้องสร้างและสนับสนุนแนวทางปฏิบัติเพื่อช่วยให้พนักงานประสบความสำเร็จ เช่น กระตุ้นให้มีการจัดตั้งทีมงานในลักษณะที่แปลกใหม่ ส่งเสริมเทคนิคการเรียนรู้จากประสบการณ์ และเสริมสร้างการใช้เครือข่ายพนักงานที่มีประสิทธิภาพสูง
       
       'ต่อไป การว่าจ้างบุคลากรขององค์กรจะไม่สามารถให้นิยามลักษณะตำแหน่งงานอีกต่อไป วิธีการทำงานแบบเดิมๆ ไม่สามารถทำให้องค์กรเติบโตได้อีกต่อไป'
       
       นายพรรณสิรี กล่าวอีกว่า ผลสำรวจในครั้งนี้ ซีอีโอให้ความสำคัญกับปัจจัยเทคโนโลยีเป็นอันดับ 1 ถึง 71% ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ซีอีโอให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยมองว่าเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร ตามมาด้วยทักษะของบุคลากรซึ่งอยู่ที่ 69% ขณะที่ปัจจัยทางด้านการตลาดซึ่งเคยเป็นอันดับ 1 มาโดยตลอดตั้งแต่มีการสำรวจมาก่อนหน้านี้ 4 ครั้ง ตกมาเป็นอันดับ 3 ในการสำรวจครั้งนี้
       
       'วันนี้ เทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นโซเชียลมีเดีย โมบิลิตี้ ต่างเป็นส่นหนึ่งของวิธีชีวิตของบุคลากรไปแล้ว'
       
       ผลการสำรวจยังระบุว่า บริษัทที่มีผลประกอบการดีกว่าบริษัทอื่นๆ มากกว่า 30% ระบุว่า ที่จะระบุการเปิดกว้าง (Openness) ในนโยบายขององค์กรในการใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อประสานงานและสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกัน ถือเป็นปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อองค์กรของตน ปัจจุบัน ผู้บริหารและซีอีโอกำลังปรับใช้รูปแบบใหม่ในการทำงาน โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกภายในองค์กรและเครือข่ายเพื่อคิดค้นแนวคิดและโซลูชันใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลกำไรและขยายธุรกิจให้เติบโต
       
       'ซีอีโอจะเปลี่ยนจากการใช้อีเมลและโทรศัพท์ที่เดิมเป็นช่องทางหลักในการสื่อสาร เพื่อกระชับความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับลูกค้า คู่ค้า และพนักงานรุ่นใหม่ในอนาคต โดยหันไปใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์หรือโซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นช่องทางใหม่สำหรับการติดต่อสื่อสารโดยตรง'
       
       ปัจจุบัน มีซีอีโอเพียงแค่ 16% ที่ใช้แพลตฟอร์มโซเชียลบิสซิเนส เพื่อเชื่อมต่อกับลูกค้าแต่ละราย แต่คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มเป็น 57% ในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า แนวโน้มนี้มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอาเซียน เพราะคาดว่าการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กในอาเซียนจะเพิ่มเป็น 68% จากปัจจุบันที่มีเพียง 25% ขณะที่ซีอีโอในอาเซียนมีแผนที่จะปรับเปลี่ยนจากการติดต่อสื่อสารรูปแบบเดิมๆ ไปสู่การใช้โซเชียลมีเดีย ควบคู่ไปกับการติดต่อพบปะกันเป็นการส่วนตัว
       
       'จะเห็นการนำเครื่องใหม่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ (Business Analytics) เพื่อกลั่นกรองข้อมูลที่ถูกตรวจสอบติดตามทางออนไลน์ บนสมาร์ทโฟน และบนไซต์โซเชียลมีเดีย 7 ใน 10 ของซีอีโอกำลังดำเนินการลงทุนอย่างจริงจัง เพื่อกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับลูกค้าแต่ละรายจากข้อมูลดิบที่มีอยู่'
       
       นางพรรณสิรี กล่าวอีกว่า แนวโน้มของความร่วมมือกับพันมิตรทางธุรกิจจะมีความเข้มข้นและเหนือความคาดหมายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยมีเป้าหมายในการสร้างสรรค์นวัตกรรมออกมา ทั้งนี้กว่า 2 ใน 3 ของซีอีโอทั่วโลกมีแผนที่จะขยายความร่วมมืออย่างกว้างขวาง ในอาเซียน ซึ่งตัวเลขนี้อยู่ในระดับสูงกว่าที่ 79%
       
       Company Relate Link :
       IBM

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)