Author Topic: ทำใจ ไร้เยียวยาเพิ่ม “จอดำยูโร”  (Read 1107 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


“สุภิญญา” ถอดใจเยียวยาจอดำยูโร เหตุไม่มีอำนาจที่ชัดเจน ล่าสุดเปิดเวทีสัมมนาระดับชาติด้านผู้บริโภค หวังให้ประชาชนทุกกลุ่มได้รับการคุ้มครองสิทธิและเข้าถึงสื่อเท่าเทียมกัน
       
       นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เปิดเผยภายหลังการจัดเวทีสัมมนาระดับชาติของผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ วานนี้ (12 ก.ค.) ถึงความคืบหน้าการเยียวยาสมาชิกของทรูวิชั่นส์ จำนวน 1.6 ล้านรายที่ไม่สามารถรับชมการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2012 ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานั้น ซึ่งตนเองยอมรับว่า กสทช.ไม่สามารถมีคำสั่งทางปกครองในการเยียวยาสมาชิกของทรูวิชั่นส์ทั้งหมดเพิ่มเติมได้
       
       ทั้งนี้ เนื่องจากคณะกรรมการ (บอร์ด) กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. ไม่มีมติในเรื่องดังกล่าว โดยเห็นว่าตอนนี้ยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในเรื่องนี้ จึงได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ไปเจรจาไกล่เกลี่ยกับสมาชิกทรูวิชั่นส์ที่ร้องเรียนมายังกสทช.ซึ่งมีประมาณ 400 รายในเบื้องต้น
       
       “ดิฉันคงไม่สามารถช่วยเหลือสมาชิกทรูวิชั่นส์ทั้งหมดได้ คงสามารถช่วยได้เฉพาะสมาชิกทรูวิชั่นส์ที่ร้องเรียนมาเท่านั้น”
       
       โดยขั้นตอนต่อไปตนจะช่วยเหลือทั้งการเจรจากับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ.ที่มีอำนาจในการเยียวยา รวมทั้งการฟ้องร้องต่อศาลปกครองให้สมาชิกทรูวิชั่นส์บางราย
       
       นางสาวสุภิญญากล่าวต่อว่า ส่วนการจัดเวทีสัมมนาระดับชาติของผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ในครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการทำงานในระดับภูมิภาคอีก 9 ครั้งทั่วประเทศ โดยมีคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เป็นตัวกลาง ทั้งการให้ข้อมูลและการรับเรื่องร้องเรียน
       
       อย่างไรก็ดี การกำกับดูแลสื่อวิทยุและโทรทัศน์เป็นไปได้ยาก ทั้งสถานีโทรทัศน์ ทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี ซึ่งมีมากกว่า 1,000 ราย ผู้ประกอบการสถานีวิทยุทั้งภาครัฐ เอกชน และผู้ประกอบการวิทยุชุมชนกว่า 6,000 สถานี ซึ่งรวมแล้วจะมีผู้ประกอบการกว่า 10,000 ราย ขณะที่เจ้าหน้าที่ของ กสทช.ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์มีเพียง 200 คนเท่านั้น จึงต้องอาศัยเครือข่ายผู้บริโภคและประชาชนช่วยดูแลและแจ้งเรื่องมายัง กสทช.
       
       สำหรับปัจจุบันมีผู้ร้องเรียนมายัง กสทช.ผ่าน Call Center 1200 และช่องทางต่างๆ โดยปัญหาด้านวิทยุและโทรทัศน์รวมประมาณ 100 เรื่อง ซึ่งต่างจากกิจการโทรคมนาคมที่มีกว่า 1,000 เรื่อง และมีหลักเกณฑ์อยู่แล้ว ส่วนปัญหาวิทยุและโทรทัศน์ยังขาดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน และปัญหาที่มีการร้องเรียน เช่น ปัญหาด้านเทคนิค คือการส่งสัญญาณออกอากาศรบกวน ปัญหาการพูดภาษาไทยไม่ชัดเจน ปัญหาด้านเนื้อหารายการ รวมทั้งปัญหาสัญญาให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก หรือเคเบิลทีวีที่ไม่เป็นธรรม รวมทั้งโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง โดยเฉพาะอาหารและยา ไปจนถึงการนำเสนอที่มีอคติทางเพศ เช่น กลุ่มเพศที่ 3 หรือเพศทางเลือก
       
       โดยทาง กสทช.มีการพิจารณาเรื่องร้องเรียน หากเป็นด้านเนื้อหาจะใช้มาตรา 37 ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ส่วนหากเป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพและจรรยาบรรณ กสทช.จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีการรวมตัวเป็นสภาวิชาชีพ เพื่อให้สภาวิชาชีพออกหลักเกณฑ์การกำกับดูแลกันเอง มากกว่าการที่ กสทช.จะเข้าไปกำกับดูแล รวมทั้งจะมีการหลักเกณฑ์การพิจารณาที่ชัดเจน เพื่อลดการใช้ดุลพินิจของ กสทช.
       
       นางสาวสุภิญญากล่าวอีกว่า กสทช.ยังเตรียมออกหลักเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพิ่มเติมผ่านร่างประกาศอีกกว่า 20 ฉบับนับจากนี้ หลังจากในวันที่ 16 กรกฎาคมนี้จะรับฟังความเห็นร่างหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป หรือ must carry เพื่อให้ช่องรายการฟรีทีวีระบบแอนะล็อกเป็นช่องพื้นฐานที่ต้องรับชมได้ทุกช่องทาง ทั้งภาคพื้นดินและดาวเทียม ในขณะที่ผู้รับสัญญาณมีหน้าที่ทำให้กล่องรับสัญญาณของตนรับชมฟรีทีวีได้ และปิดกั้นไม่ให้สัญญาณหลุดออกนอกประเทศ ให้ทันกับการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปลายเดือนกรกฎาคม
       
       อีกทั้งในวันที่ 20 กรกฎาคมนี้จะรับฟังความเห็นหลักเกณฑ์การให้ใบอนุญาตกิจการวิทยุชุมชนแก่สถานีวิทยุชุมชน 6,000 แห่งที่ได้ลงทะเบียนทดลองออกอากาศ 300 วันกับสำนักงาน กสทช. แต่ยังคงไม่มีการเปิดรับลงทะเบียนผู้ประกอบการวิทยุชุมชนเพิ่มเติม จนกว่าจะมีการออกแบบตารางคลื่นความถี่วิทยุใหม่ รวมทั้งในปีหน้าจะเป็นการเปลี่ยนผ่านการออกอากาศวิทยุกระจายเสียงจากระบบแอนะล็อกเป็นวิทยุดิจิตอล เพื่อที่จะเป็นจุดเริ่มต้นในการออกใบอนุญาตกิจการวิทยุกระจายเสียงระยะเวลา 7 ปีต่อไป
       
       Company Relate Link :
       กสทช.

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)