Author Topic: กสทช. โล่งอก “โอลิมปิก” จอไม่ดำ  (Read 1052 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


บอร์ด กสท.เร่งออกร่างหลักเกณฑ์การนำพาช่องรายการโทรทัศน์ที่สามารถรับชมได้เป็นการทั่วไป (Must Carry) เป็นการเร่งด่วน เดินหน้าประชาพิจารณ์ฉุกเฉิน 16 ก.ค.ก่อนเสนอบอร์ด กสทช. 18 ก.ค. และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ด้าน กสทช. “นที” ยันโอลิมปิกจอไม่ดำแน่
       
       พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ด กสท. เมื่อวันที่ 9 ก.ค.ว่า เพื่อแก้ปัญหาประชาชนอาจไม่ได้รับชมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเนื่องจากติดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติร่างหลักเกณฑ์การนำพาช่องรายการโทรทัศน์ที่สามารถรับชมได้เป็นการทั่วไป หรือ Must Carry เป็นการเร่งด่วน โดยการเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะ หรือประชาพิจารณ์ฉุกเฉินใน 7 วัน ตามมาตรา 28 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 หรือ พ.ร.บ.กสทช.ที่กำหนดให้ร่นระยะเวลาประชาพิจารณ์ให้เร็วกว่า 30 วันได้ หากเป็นกรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน
       
       ทั้งนี้ จะนำร่างประกาศดังกล่าวเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของ กสทช.ในวันที่ 9 ก.ค. 2555 นี้ และเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวันที่ 16 ก.ค. ที่โรงแรมเซ็นจูรี่ปาร์ค จากนั้นจะนำเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ด กสทช.ในวันที่ 18 ก.ค. ก่อนจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ทันการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
       
       “การที่ กสทช.เร่งออก Must Carry โดยการเปิดประชาพิจารณ์ฉุกเฉินเพียง 7 วันนั้นก็เพื่อเป็นหลักประกันว่าประชาชนจะได้รับชมการแข่งขันโอลิมปิกโดยปราศจากจอดำแน่นอน”
       
       สำหรับรายละเอียดของร่างประกาศฉบับดังกล่าว (Must Carry) กำหนดให้ฟรีทีวีต้องเผยแพร่สัญญาณให้รับชมได้เป็นการทั่วไป ทุกครัวเรือนในประเทศไทยให้สามารถรับชมได้ตามผังรายการโดยมีเนื้อหาเดียวกันทุกช่องทางอย่างต่อเนื่อง ไม่มีลักษณะปิดกั้นช่องทางการรับชมทั้งหมดหรือบางส่วน โดยไม่กำหนดเงื่อนไขในการได้รับบริการทั้งหมด ทั้งภาคพื้นดินและดาวเทียม โดยไม่รวมถึงช่องทางอินเทอร์เน็ตและช่องทาง New Media และไม่สามารถเก็บค่าลิขสิทธิ์เนื้อหารายการที่เผยแพร่ออกอากาศได้
       
       ขณะที่ผู้ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกจะต้องทำให้ผู้ชมรับชมฟรีทีวีได้เช่นกัน และห้ามเปลี่ยนแปลงผังรายการหรือเนื้อหารายการ ซึ่งตามบทเฉพาะกาลในปัจจุบันถือว่า สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีทั้ง 6 สถานีและทรูวิชั่นส์ ซึ่งถือว่าเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามร่างประกาศฉบับนี้
       
       “เราไม่สามารถระบุได้ว่าอนาคตจะไม่เกิดเหตุการณ์จอดำอีก แต่ Must Carry จะช่วยทำให้ทุกอย่างเป็นไปด้วยดีมากขึ้น”
       
       อย่างไรก็ตาม แม้ก่อนหน้านี้บอร์ด กสท.ได้รับการยืนยันจาก พล.ท.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 และประธานคณะกรรมการโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) กรณีการถ่ายทอดสดการแข่งขันโอลิมปิกปลายเดือน ก.ค.นี้ว่าจะสามารถรับชมได้ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี โดยสามารถรับชมได้ทั้งแบบภาคพื้นดินและทีวีดาวเทียม เหมือนกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกทุกครั้งที่ผ่านมาโดยไม่ได้เกี่ยวโยงกับกฎหมายลิขสิทธิ์ และจะไม่เกิดปัญหาจอดำอย่างที่หลายฝ่ายกังวลแน่นอน
       
       พ.อ.นทีกล่าวว่า บอร์ด กสท. ยังได้ผ่านร่างประกาศ กสทช.เรื่องกำหนดลักษณะและประเภทของกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ใน 3 ประเภทจากทั้งหมด 4 ประเภท คือ 1. การให้บริการโครงข่าย หรือ Network Provider 2. การให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวก หรือ Facility Provider และ 3. การให้บริการเซอร์วิสโพรวายเดอร์ หรือช่องรายการ เพื่อนำออกรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ซึ่งร่างดังกล่าวจะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการขอรับใบอนุญาต สิทธิและหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต รูปแบบการขอใบอนุญาตต่างๆ
       
       นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ผ่านร่างหลักเกณฑ์การนำเข้าอุปกรณ์รับชมสัญญาณ หรือเซตท็อปบอกซ์ เพื่อมาประกอบกิจการแบบบอกรับสมาชิก หรือเพย์ทีวี โดยคาดว่าจะประกาศใช้ได้ในเดือน ก.ย.นี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการต้องนำกล่องรับสัญญาณมาขอรับอนุญาตจาก กสทช.โดยไม่ทำให้เป็นภาระต่อประชาชนเพราะคิดค่าธรรมเนียมเพียง 10 บาทต่อกล่องเท่านั้น และในระหว่างนี้ ผู้ให้บริการรายใดที่ยังไม่ได้รับอนุญาตห้ามเก็บค่าบริการจากการรับชมจากกล่องรับสัญญาณโดยเด็ดขาด เพราะจะเข้าข่ายการให้บริการแบบเพย์ทีวี โดยในตอนนี้มีเพียงทรูวิชั่นส์เท่านั้นที่สามารถเก็บค่าบริการรับชมได้
       
       Company Relate Link :
       กสทช.

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)