Author Topic: Credits ไม่แรงพอ เฟซบุ๊กดึง “สกุลเงินท้องถิ่น” จ่ายในแอปง่ายขึ้น  (Read 883 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


credits จะมีจำหน่ายตามร้านค้าปลีกบางร้านในบางประเทศเท่านั้น


เกม Backyard Monsters เป็นหนึ่งในหลายเกมบนเฟซบุ๊กที่จะทดสอบระบบเหมาจ่ายไอเท็มพิเศษในเกม 9.95 เหรียญสหรัฐต่อเดือน

เฟซบุ๊ก (Facebook) เร่งเครื่องเสริมแกร่งธุรกิจชำระเงินเอาใจผู้ใช้ทั่วโลก เตรียมเปิดทางให้สาวกสามารถจ่ายเงินบนเฟซบุ๊กด้วยสกุลเงินท้องถิ่น ยังไม่มีข้อมูลเงินบาทแต่คาดว่าจะเริ่มใช้งานได้ในเร็ววันนี้ ขณะเดียวกันก็พร้อมสนับสนุนให้นักพัฒนาสามารถสร้างโมเดลธุรกิจและเก็บค่าสมัครสมาชิกได้คล่องตัว ถือเป็นความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ในธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับโฆษณาออนไลน์ของเฟซบุ๊ก
       
       เฟซบุ๊กออกแถลงการณ์บนเว็บไซต์ของตัวเองเมื่อวันที่ 19 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยระบุว่าเฟซบุ๊กจะเปลี่ยนแปลงระบบชำระเงินในแอปพลิเคชันและบริการบนเครือข่ายสังคมให้รองรับสกุลเงินท้องถิ่นของแต่ละประเทศ เบื้องต้นเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะอำนวยความสะดวกให้ชาวต่างประเทศสามารถชำระเงินบนเฟซบุ๊กได้ง่ายกว่าเดิม เมื่อเทียบกับการกำหนดค่าเงินกลางสำหรับใช้บนเฟซบุ๊กเป็น Facebook Credits อย่างเดียวตั้งแต่ปี 2009
       
       Credits นั้นเป็นสกุลเงินเสมือนที่เฟซบุ๊กเปิดตัวในปี 2008 ในระยะแรก เฟซบุ๊กเปลี่ยนหน่วยเงินสำหรับการซื้อไอเท็มพิเศษในเกมบนเฟซบุ๊กจาก “gifts” เป็น “credits” ซึ่งผู้เล่นจะต้องใช้เงินจริงในการซื้อ credits เหล่านี้เหมือนการเติมเงินเกมออนไลน์ โดย credits จะมีจำหน่ายตามร้านค้าปลีกบางร้านในบางประเทศเท่านั้น ล่าสุดเฟซบุ๊กตัดสินใจเพิ่มความยืดหยุ่นให้ระบบสามารถรองรับเงินสกุลท้องถิ่นจริงแทนที่จะกำหนดเป็น credits อย่างเดียว ทำให้สกุลเงินอย่างดอลลาร์, ปอนด์, หรือรูปี สามารถใช้ชำระค่าสินค้าเสมือนในเกม หรือ in-app payment ได้ภายในสิ้นปีนี้ โดยผู้ที่สนใจชำระเงิน in-app payment ด้วยเงินสกุลท้องถิ่น จะต้องลงทะเบียนเพื่อรับรายละเอียดเงื่อนไขเพิ่มเติม
       
       วันนี้สกุลเงินเสมือน credits ถูกใช้ในเกมและแอปฯ บนเฟซบุ๊กจำนวนมากหลายร้อยแอปฯ รวมถึงเกมปลูกผักยอดฮิตอย่าง Farmville ทั้งหมดนี้ถูกมองว่าเป็นความพยายามของเฟซบุ๊กในการดึงเงินจากผู้ใช้ที่อยู่นอกสหรัฐฯ รวมถึงผู้ใช้ในประเทศที่ไม่สะดวกในการซื้อหา Credits มาใช้งาน
       
       ความสะดวกที่เพิ่มขึ้นย่อมทำให้เฟซบุ๊กมีโอกาสได้รับส่วนแบ่งจากธุรกิจ in-app payment มากขึ้นด้วย เฟซบุ๊กจึงถูกมองว่ากำลังพยายามหาแหล่งรายได้ใหม่ที่นอกเหนือจากธุรกิจโฆษณาออนไลน์ แถมยังชัดเจนว่าเฟซบุ๊กมีแผนธุรกิจระยะยาวในการเสริมแกร่งบริการ Facebook Payments ให้สามารถยืนหยัดในตลาดได้เหมือนที่แอปเปิลสร้างร้านออนไลน์ iTunes จนทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ
       
       ***เดือน ก.ค.ไฟเขียวโมเดลสมาชิก
       
       ตั้งแต่เดือน ก.ค.เป็นต้นไป นักพัฒนาแอปฯ บนเฟซบุ๊กจะสามารถเริ่มเก็บค่าบริการผู้ใช้ในรูปแบบสมาชิกรายเดือนได้ เฟซบุ๊กระบุว่าจะช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างธุรกิจและยกระดับคุณภาพแอปฯ บนเฟซบุ๊กได้ดีขึ้น ทั้งการอัปเดทคอนเทนต์ใหม่และการพัฒนาคุณสมบัติแอปฯที่ดีขึ้นเพื่อแลกกับค่าบริการรายเดือนที่สมเหตุสมผล
       
       สื่อต่างประเทศวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวนี้ว่าถูกออกแบบมาเพื่อให้เฟซบุ๊กสามารถสร้างความแข็งแกร่งให้ระบบนิเวศทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า โดยเฉพาะกลุ่มนักพัฒนาที่เป็นเจ้าของบริษัทขนาดเล็กจะสามารถมีโอกาสเติบโตได้อย่างเท่าเทียม ซึ่งทั้งหมดจะทำให้ปัจจัยทางธุรกิจของเฟซบุ๊กแข็งแกร่งขึ้นด้วย แม้รายได้หลักของเฟซบุ๊กจะยังคงมาจากธุรกิจโฆษณาออนไลน์
       
       ข้อมูลเบื้องต้นระบุว่า ระบบสมาชิกที่นักพัฒนากำลังจะสามารถเก็บค่าบริการรายเดือนจากผู้ใช้นั้นจะกลายเป็นรายได้ของเฟซบุ๊กด้วย โดยสัดส่วน 30% ของการชำระเงินค่าเกมหรือแอปฯผ่านเฟซบุ๊กจะถูกหักขึ้นตามธรรมเนียม
       
       เฟซบุ๊กเปิดเผยว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กมากกว่า 15 ล้านคนมีการซื้อสินค้าเสมือนและจ่ายค่าบริการผ่าน Facebook Payments ช่วงปี 2011 ที่ผ่านมา โดยในไตรมาสแรกของปีนี้ (ม.ค.-มี.ค. 2012) เฟซบุ๊กมีรายได้จากบริการ Payments รวมถึงค่าธรรมเนียมอื่นๆเพิ่มขึ้นถึง 98% คิดเป็นมูลค่าราว 186 ล้านเหรียญสหรัฐ ราว 5.7 พันล้านบาท
       
       รายได้จากนานาธุรกิจของเฟซบุ๊กนั้นกลายเป็นที่สนใจและเปิดเผยต่อสาธารณชน สาเหตุเพราะเฟซบุ๊กนั้นเพิ่งเข้าตลาดหลักทรัพย์เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมาด้วยราคาหุ้นเปิดตลาดที่ 38 เหรียญต่อหุ้น แต่ราคาหุ้นโดยเฉลี่ยขณะนี้อยู่ที่ราว 32 เหรียญต่อหุ้น
       
       Related Link :
       Facebook

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)