Author Topic: 6 ปี ทวิตเตอร์ เปลี่ยนโลก  (Read 909 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


ภาพร่างบนหน้ากระดาษก่อนกลายมาเป็นทวิตเตอร์ในปัจจุบัน

21 มีนาคม 2006 คือวันที่ข้อความแรกถูกส่งผ่านบริการเครือข่ายสังคมยอดฮิตอย่างทวิตเตอร์ (Twitter) จากวันนั้นถึงวันนี้ ทวิตเตอร์กลายเป็นเครื่องมือสำคัญทางสังคมซึ่งมีผู้ใช้ทั่วโลกมากกว่า 140 ล้านคน บนยอดการส่งข้อความทวีตมากกว่า 340 ล้านข้อความต่อวัน คิดคร่าวๆ คือมากกว่า 1 พันล้านข้อความในเวลา 3 วัน
       
       ไม่ใช่แค่ตัวเลขที่โชว์เพื่อความโก้เก๋ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาคือทวิตเตอร์กลายเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงโลกแห่งข่าวสารชนิดพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการมีอิทธิพลในเกมการเมืองของหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยบ้านเรา
       
       6 ปีที่แล้วไม่มีใครคิดว่าปรากฏการณ์ทวิตเตอร์จะเกิดขึ้น แม้กระทั่ง Jack Dorsey ซีอีโอทวิตเตอร์เจ้าของชื่อบัญชี @jack ที่สร้างแบบร่างหน้าเว็บแสนธรรมดาไว้บนกระดาษตั้งแต่ในเดือนมีนาคม 2006 ซึ่ง Brad Shimmin นักวิเคราะห์ของบริษัท Current Analysis มองว่าความธรรมดานี้เองที่มีส่วนสำคัญให้ทวิตเตอร์กลายเป็นเครื่องมือการสื่อสารพันธุ์ใหม่ของโลก ที่สามารถกำจัดอุปสรรคจนทำให้มนุษยชาติสามารถสื่อสารกันได้อย่างเสรี
       
       ทุกวันนี้ทวิตเตอร์นั้นไม่ต่างจากเฟซบุ๊กในแง่ของการเป็นกระแสวัฒนธรรมใหม่ยอดนิยม แต่ในมุมมองของ Shimmin ความสำเร็จยิ่งใหญ่ที่สุดคือทวิตเตอร์ทลายกำแพงแห่งการสื่อสารที่แบ่งชนชั้น ฝักฝ่ายออกไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือประชาชนคนธรรมดาจะได้รับความรู้สึกว่าสามารถสื่อสารกับบุคคลสำคัญของโลกได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นดารา นักร้อง นักกีฬา เซเล็บผู้มีชื่อเสียงในทุกวงการ รวมถึงประธานาธิบดี และนักการเมือง
       
       ทวิตเตอร์สามารถทำยอดสมาชิก 5 แสนคนในเวลา 1 ปีหลังเปิดตัว และสามารถทำยอดการส่งข้อความบนระบบทะลุหลัก 1 พันล้านข้อความในเวลา 3 ปี เพราะผู้ใช้ทวิตเตอร์สามารถตะโกนบอกเรื่องราวทุกอย่างรอบตัวได้ว่ากำลังรับประทานอะไร กำลังชอปปิ้งที่ไหน หรือกำลังสวมชุดโปรดของดีไซเนอร์คนไหน
       
       แต่เหนืออื่นใด ทวิตเตอร์สามารถเพิ่มความสำคัญให้ตัวเองด้วยการเป็นแหล่งข่าวสารว่องไวทันใจในวิกฤติภัยธรรมชาติ, เหตุจลาจลอันตราย และการประท้วงทางการเมือง เช่นเมื่อเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ทวิตเตอร์คือ 1 ในเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการดึงชาวโลกให้ร่วมรับรู้ความโหดร้ายของ Joseph Kony ผู้ทรงอิทธิพลในอูกันดาผ่านวิดีโอนาน 30 นาที เพราะเจ้าแม่สื่อของโลกอย่าง Oprah Winfrey และผู้ก่อตั้งไมโครซอฟท์อย่าง Bill Gates เป็นส่วนหนึ่งของคนดังที่โพสต์เชิญชวนให้ชาวออนไลน์ร่วมชมคลิปนี้ ซึ่งทำให้ยอดการเข้าชมวิดีโอใน YouTube สูงมากกว่า 57 ล้านครั้งในเวลา 4 วัน
       
       ต้องยอมรับว่าบทบาทด้านข่าวสารของทวิตเตอร์นั้นชัดเจนมากในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา หลักไมล์สำคัญของทวิตเตอร์อยู่ในปี 2008 ซึ่งทวิตเตอร์เริ่มถูกใช้เป็นสถานที่จัดแคมเปญหาเสียงของประธานาธิบดีบารัค โอบามา และผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งรายอื่น ก่อนจะเป็นเป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างการประท้วงในอิยิปต์ และเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอิหร่านช่วงปี 2009
       
       กรณีที่น่าสนใจคือทวิตเตอร์สามารถทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของสหรัฐฯถูกปลดจากตำแหน่งได้ นั่นคือ Anthony Weiner วุฒิสมาชิกพรรคเดรโมแครตที่ยอมรับกรรมหลังจากส่งข้อความทวีตและภาพลามกถึงผู้หญิงหลายคนที่ติดตามหรือ follow เขาบนทวิตเตอร์
       
       ทวิตเตอร์ยังกลายเป็นเครื่องมือรายงานความเป็นความตายในเหตุสึนามิและแผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับการเป็นเครื่องมือสื่อสารให้ผู้ประสบภัยพิบัติในชิลีและเฮติเมื่อปี 2010 รวมถึงการลงจอดอย่างกระทันหันของเครื่องบินสายการบิน U.S. Airways ที่แม่น้ำ Hudson River ในนิวยอร์กช่วงปี 2009
       
       ทั้งหมดนี้สะท้อนว่าทวิตเตอร์สามารถครอบคลุมทั้งการสื่อสารส่วนตัว และการอภิปรายระดับจริงจังที่มีผลเปลี่ยนแปลงสังคม ซึ่งแม้ทวิตเตอร์จะทำให้ประชากรออนไลน์หลายพันล้านคนสามารถรับรู้ข่าวสารจากปากคนดังในเวลาเพียงเสี้ยวนาที แต่นักวิเคราะห์บางรายกลับมองว่าทวิตเตอร์ยังต้องปรับตัวเพื่อการเติบโตในระยะยาว
       
       ร็อบ เอ็นเดิร์ล (Rob Enderle) นักวิเคราะห์ชื่อดังชาวอเมริกัน ให้ความเห็นว่าทวิตเตอร์ควรต้องถูกรวมเข้ากับเครือข่ายหรือบริษัทที่ใหญ่และมีอิทธิพลกว่านี้ จึงจะสามารถอยู่รอดในแถวหน้าของอุตสาหกรรมออนไลน์ เพราะปัจจุบันการแข่งขันในวงการรับส่งข้อความทันใจนั้นดุเดือดและหลากหลายมาก
       
       จุดนี้สอดคล้องกับ Barry Ritholtz นักวิเคราะห์ด้านการเงินซึ่งมองว่ายักษ์ใหญ่อย่างแอปเปิล (Apple) นั้นควรจะซื้อกิจการทวิตเตอร์ เพื่อเติมเต็มบริการด้านโซเชียลที่แอปเปิลขาดอยู่ โดยเป็นความเห็นหลังจากแอปเปิลประกาศแผนจ่ายเงินปันผลและซื้อคืนหุ้นด้วยเงินสดของบริษัทมูลค่ามากกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ นี่เป็นเพียงความเห็นของนักวิเคราะห์ที่ไม่ได้อิงจากความเห็นของผู้บริหารค่ายใด
       
       ปัจจุบัน มูลค่าตลาดของทวิตเตอร์อยู่ที่ราว 9 พันล้านเหรียญ
       
       อย่างไรก็ตาม มีนักวิเคราะห์อีกรายที่มองว่าทวิตเตอร์ควรจะยืนด้วยลำแข้งของตัวเอง เพราะอิทธิพลของทวิตเตอร์นั้นหยั่งรากลึกในหลายชุมชนทั่วโลกแล้ว และยังมีโอกาสงามในการขยายตลาดต่อเนื่อง ซึ่งยังไม่มีบริการใดที่สามารถเลียนแบบความง่ายและความเร็วในแบบที่ทวิตเตอร์เป็น
       
       Company Related Link :
       Twitter

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)