Author Topic: กูเกิล ขานรับ เพิ่มปุ่ม "ห้ามติดตาม" ใน Chrome  (Read 955 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


     ท่ามกลางกระแสความเป็นห่วงเรื่องการรักษาสิทธิส่วนบุคคลของบริษัทไอทีทั่วโลก กูเกิล (Google) กลายเป็นบริษัทอินเทอร์เน็ตรายล่าสุดที่ประกาศพร้อมสนับสนุนมาตรการรักษาความเป็นส่วนตัวของชาวออนไลน์ด้วยการติดตั้งปุ่ม "do-not-track" หรือห้ามติดตามในโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ของกูเกิลอย่าง Chrome
       
       ซูซาน วอซซิซกิ (Susan Wojcicki) รองประธานอาวุโสฝ่ายโฆษณา เป็นผู้ออกแถลงการณ์ความยินดีในการร่วมสนับสนุนมาตรการ Do Not Track ของกูเกิล โดยเชื่อว่า Do Not Track จะทำให้ผู้ใช้มีทางเลือกและมีความเข้าใจในการควบคุมการทำงานของเว็บเบราว์เซอร์ที่ชัดเจน
       
       อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลกรอบเวลาว่าเบราว์เซอร์ Chrome จะมีคุณสมบัติ do-not-track หรือห้ามติดตามเมื่อใด โดยการตอบรับของกูเกิลนั้นเกิดขึ้นหลังจากที่มอซิลลา (Mozilla) ได้เพิ่มปุ่ม do-not-track ไว้ในโปรแกรมไฟร์ฟ็อกซ์ (Firefox) ตั้งแต่ปีที่แล้ว ขณะที่ไมโครซอฟท์ (Microsoft) ลงมือปรับปรุงโปรแกรมไออี (Internet Explorer) ไปเมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมา เช่นเดียวกับแอปเปิล (Apple) ที่เพิ่มคุณสมบัติห้ามติดตามในเบราว์เซอร์ซาฟารี (Safari) และส่งให้นักพัฒนาทั่วโลกทดสอบตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนจะวางจำหน่ายจริงฤดูร้อนนี้
       
       ความเคลื่อนไหวของกูเกิลครั้งนี้เกิดขึ้นเวลาไล่เลี่ยกับการเสนอร่างกฎหมายรักษาความเป็นส่วนตัวหรือ "privacy bill of rights" ที่รัฐบาลสหรัฐฯต้องการให้ผู้บริโภคสามารถควบคุมการถูกเก็บ รวบรวม และแชร์ข้อมูลส่วนตัวของบริษัทไอทีได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการอภิปรายถึงมาตรการที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทุกฝ่าย
       
       คุณสมบัติห้ามติดตามหรือ Do Not Track ในโปรแกรมเบราว์เซอร์นั้นเป็นผลจากการเติบโตของธุรกิจโฆษณาออนไลน์ อุตสาหกรรมดังกล่าวได้รับความสำเร็จงดงามเพราะบริษัทอินเทอร์เน็ตสามารถเลือกส่งโฆษณาตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคนได้อย่างแม่นยำ จุดนี้ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่าเบื้องหลังที่ทำให้บริษัทเหล่านี้สามารถเลือกโฆษณาได้ตรงตามความต้องการนั้นเป็นเพราะการติดตามประวัติการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคน เมื่อบริษัทรวบรวมข้อมูลได้ว่าผู้ใช้แต่ละรายมีความสนใจต่อสิ่งใด ก็จะเลือกโฆษณาที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง
       
       จุดนี้ทำให้นักปกป้องสิทธิมนุษย์ชนเป็นห่วงว่าความเป็นส่วนตัวของชาวออนไลน์ทั่วโลกกำลังถูกละเมิด ทำให้ค่ายโปรแกรมเบราว์เซอร์ขานรับร่วมติดตั้งคุณสมบัติ Do Not Track เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางป้องกันตัวเอง ซึ่งกูเกิลคือรายล่าสุดที่รับลูกสนับสนุนมาตรการดังกล่าว
       
       Company Relate Link :
       Google

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
2611 Views
Last post March 23, 2009, 11:59:20 PM
by Reporter
0 Replies
6413 Views
Last post October 21, 2010, 05:59:35 PM
by Nick
0 Replies
8078 Views
Last post October 23, 2010, 12:51:34 PM
by Nick
0 Replies
1043 Views
Last post December 09, 2010, 03:30:31 PM
by Nick
0 Replies
7811 Views
Last post January 13, 2011, 04:29:26 PM
by Nick
0 Replies
5490 Views
Last post February 27, 2011, 11:13:31 PM
by Nick
0 Replies
6953 Views
Last post March 11, 2011, 04:59:35 PM
by Nick
0 Replies
2942 Views
Last post December 03, 2011, 05:41:01 PM
by Nick
0 Replies
5113 Views
Last post January 18, 2012, 02:03:34 PM
by Nick
0 Replies
3177 Views
Last post January 25, 2012, 01:34:46 PM
by Nick