Author Topic: อนุฯ คุ้มครองชี้เครือข่ายล่ม ต้องแจ้งล่วงหน้า  (Read 794 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


แฟ้มภาพ : นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ออกมาขอโทษผู้บริโภคในงานแถลงข่าว

       มติอนุฯคุ้มครองโทรคมนาคม ระบุต้องออกมาตรการแจ้งเตือนผู้บริโภครู้ตัวล่วงหน้า กรณีปัญหาดีแทคสัญญาณล่ม พร้อมเสนอให้ผู้ให้บริการเดิมจ่ายตังค์ค่าย้ายเครือข่ายหากผู้บริโภคจะใช้บริการคงสิทธิเลขหมายเพราะเจอปัญหาเครือข่ายล่ม
       
       นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกรณีปัญหาสัญญาณเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ล่มถึง 3 ครั้งในระยะเวลาไม่ถึงเดือนนั้นว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบกับผู้บริโภคจำนวนนับล้านรายที่ใช้บริการ และสร้างความเสียหายกับชื่อเสียงของบริษัทเองด้วย จึงถือเป็นบทเรียนครั้งสำคัญของดีแทค
       
       ทั้งนี้ในการประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม ครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีการหารือในกรณีนี้และมีมติว่า ให้มีการกำหนดเป็นประกาศ หรือมาตรการ เรื่องการแจ้งเตือนหากมีการปรับปรุงระบบที่อาจมีผลกระทบต่อมาตรฐานการให้บริการ โดยการแจ้งเตือนผู้บริโภคควรมีระดับการแจ้งเตือน 2 ระดับคือ ระดับที่ 1 กรณีการปรับปรุงระบบที่มีความเสี่ยงว่า จะเกิดผลกระทบกับการใช้บริการ ผู้ให้บริการจะต้องแจ้งเตือนให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้า เช่นเดียวกับไฟฟ้า หรือประปา ระดับที่ 2 กรณีที่มีการปรับปรุงระบบแล้วเกิดปัญหาจนส่งผลกระทบกับการใช้บริการในวงกว้าง บริษัทจะต้องแจ้งเหตุที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการโดยการสื่อสารผ่านสื่อสาธารณะเพื่อรับทราบสถานการณ์ทันที
       
       นางสาวสารี กล่าวต่อว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม ยังได้หารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบสัญญาณการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ว่า ควรมีการหารือร่วมกันระหว่างวิศวกรของบริษัทผู้ให้บริการและ สำนักวิศวกรรมของสำนักงาน กสทช. เพื่อดูระดับความเสี่ยงในกระบวนการปรับปรุงระบบสัญญาณทั้งหมด และร่วมกันกำหนดว่าความเสี่ยงระดับใดควรมีการแจ้งเตือนผู้ใช้บริการล่วงหน้า
       
       “เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ หลายคนคิดว่า โทรศัพท์ตัวเองเสีย ดังนั้นพอเกิดเหตุการณ์ปุ๊บภายใน 30 นาทีหรือ 1 ชั่วโมง ต้องแจ้งต่อสาธารณะทราบ คนจะได้เลิกสงสัย บางคนแฟนโทรหา เจ้านายโทรหาก็คิดว่า ปิดเครื่องหนีหรือเปล่า เพราะไม่ทราบสาเหตุ เพราะทุกเจ้าเวลาปรับปรุงระบบเมื่อไหร่ก็จะมองว่า เป็นงานประจำ ความเสี่ยงต่ำ ก็จะไม่แจ้งเตือน แต่ครั้งนี้ชัดเจนว่า งานประจำของเค้ามีความเสี่ยงมากมาก ดังนั้นจึงควรมีการหารือว่า ขั้นตอนไหนมีความเสี่ยงก็ต้องประกาศให้ทราบล่วงหน้า"
       
       ที่ประชุมอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมยังมีมติให้มีการออกระเบียบว่า กรณีมีปัญหาสัญญาณซึ่งเกิดจากความผิดพลาดของผู้ให้บริการ จนทำให้ผู้ใช้บริการขาดความเชื่อมั่น หากผู้ใช้บริการต้องการย้ายเลขหมายไปใช้บริการกับผู้ให้บริการรายอื่น ผู้ให้บริการรายเดิมต้องเป็นรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการใช้บริการคงสิทธิเลขหมายของผู้ใช้บริการรายนั้นๆ และจะได้เสนอมติดังกล่าวไปยังประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมต่อไป
       
       "เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและให้บทเรียนกับผู้ให้บริการว่า ถ้าโครงข่ายคุณมีปัญหาบ่อยๆ ผู้ใช้บริการก็จะหนีนะ เช่น ใช้บริการแล้วเจอปัญหาล่ม 3 ครั้งจะย้ายเครือข่าย ก็ต้องควักเงินเอง 99 บาท ตรงนี้ผู้ให้บริการรายเดิมควรเป็นผู้รับผิดชอบหากการโอนย้ายนั้นมีสาเหตุมาจากปัญหาสัญญาณล่ม และคงสิทธิเลขหมายก็เป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค ซึ่งเราก็พบว่า มีผู้บริโภคที่เพิ่งซื้อซิมการ์ดของดีแทคมา ยังไม่ได้ใช้ปรึกษาเข้ามาว่าจะย้ายค่ายได้หรือไม่ ซึ่งอันนี้เป็นสิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่"
       
       Company Relate Link :
       สบท

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)