Author Topic: 'จุติ' เร่ขายสัมปทานเอไอเอสที่สเปน  (Read 959 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


    รมว.ไอซีทีตัวอย่าง 'จุติ ไกรฤกษ์' หารือ 8 โอเปอเรเตอร์ต่างชาติ เซ็งลี้สัมปทานเอไอเอส ที่งานMobile World Congress บาร์เซโลนา ประเทศสเปน เผื่อกรณีครม.มีมติไม่รับรองการแก้ไขสัญญาสัมปทานมือถือ เท่ากับสัญญาเอไอเอสหมดอายุตั้งแต่เดือนต.ค.2553 ต้องเตรียมหาคนรับช่วงเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา
       
       แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคมกล่าวว่า นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.ไอซีทียอมรับว่าในช่วงกลางเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ได้เดินทางไปดูงาน Mobile World Congress ที่บาร์เซโลน่า ประเทศสเปน ร่วมกับกรรมการบอร์ดทีโอที บางคน โดยมีการพบปะหารือกับโอเปอเรเตอร์ต่างชาติ 8 บริษัท เช่นเทเลคอม อิตาเลีย และโอเปอเรเตอร์จากจีน (ไชน่าโมบายล์) เกาหลี (เอสเคเทเลคอม) ญี่ปุ่น(เอ็นทีที โดโคโม) มาเลเซียและอีก 3 รายจากสหรัฐอเมริกา
       
       โดยการสนทนามีการพูดคุยกันหลายเรื่อง รวมทั้งในปัญหาเรื่องสัญญาสัมปทานกลุ่มผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือที่มีการแก้ไขสัญญาเพิ่มเติมแบบไม่ถูกกฎหมาย โดยเฉพาะเอไอเอสซึ่งรัฐกำลังอยู่ในกระบวนการพิจารณาความเสียหายเพิ่มเติมจากการแก้สัญญาในอดีต และผลที่ต่อเนื่องจากคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ก.พ.2553
       
       โดยแหล่งข่าวอ้างว่าจุติกล่าวถึงการเจอโอเปอเรเตอร์ว่า 'เขาคงได้ติดตามข่าวเหล่านี้มาตลอด และก็ถามผมว่าอนาคตของสัมปทานเอไอเอสเป็นอย่างไร ผมก็บอกว่า50-50 เพราะผมไม่ทราบได้ว่าครม.จะตัดสินใจท้ายสุดอย่างไร พอเขาได้ยินว่า50-50ก็ตาโต มีท่าทีสนใจ ซึ่งก็อยู่กับทางเขาว่าจะเคลื่อนไหวอย่างไรต่อหรือไม่ โดยบางรายที่ได้มีการหารือนั้น มีท่าทีสนใจและบอกว่าจะทำเรื่องนัดเข้ามาพบเพื่อคุยเพิ่มเติมที่ประเทศไทย'
       
       แหล่งข่าวกล่าวว่าคณะของจุติ ได้มีการหารือกับผู้บริหารเอ็นทีที โดโคโม ที่รับผิดชอบเรื่องธุรกิจต่างประเทศ เมื่อวันที่ 15 ก.พ.ในช่วงเวลา 15.00-15.30 น.ตามเวลาบาร์เซโลน่า โดยคณะของจุติมีกรรมการบอร์ดทีโอทีอย่าง นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ นายสายัณห์ สตางค์มงคล และนายนพณัฎฐ์ หุตะเจริญ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ ที่เดินทางมาสมทบภายหลัง โดยจุติได้บอกกับตัวแทนเอ็นทีทีว่าเอสเค เทเลคอม จากประเทศเกาหลี ได้แสดงความสนใจมาแล้ว และให้เวลาแก่เอ็นทีทีในการทำข้อเสนอและให้ตอบกลับมาใน 2 สัปดาห์
       
       ทั้งนี้ การเร่ขายสัมปทานเอไอเอสครั้งนี้ เป็นเพราะหากท้ายสุดครม.มีมติให้สัญญาเอไอเอสเป็นโมฆะหรือไม่รับรองการแก้ไขสัญญาที่ขยายอายุสัมปทาน จะทำให้สัญญาเอไอเอสสิ้นสุดลงตั้งแต่เดือนต.ค.2553 การเมืองจึงต้องการหาโอเปอเรเตอร์ที่มีศักยภาพพอมารับช่วงเอไอเอส
       
       ในขณะที่คณะกรรมการเจรจาผลประโยชน์ตอบแทนจากการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาร่วมการงานที่มีนางจีรวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงไอซีทีเป็นประธาน ได้ขอเวลาอีก 1 สัปดาห์จากเดิมที่คาดว่าจะได้ข้อสรุปสิ้นเดือนก.พ.ที่ผ่านมาเพื่อเสนอให้ครม.พิจารณา
       
       โดยจุดยืนของเอกชนทั้งเอไอเอสและดีแทคไม่คิดว่าการแก้ไขสัญญาทำให้รัฐเสียหายหรือมีความผิด ในขณะที่ทรูมูฟเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตัวเอง
       
       ทั้งนี้เอไอเอสได้ส่งความเห็นไปยังคณะกรรมการเจรจาผลประโยชน์ตอบแทนฯเมื่อวันที่ 25 ก.พ.โดยสรุป 3 ประเด็นคือ 1.การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาอนุญาตฯระหว่างเอไอเอสกับทีโอที ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆกับทีโอที ในฐานะคู่สัญญาภาครัฐ โดยมีเหตุผลทั้งหมด 5 ข้อเช่น การแก้ไขสัญญาแต่ละครั้งทำด้วยความสมัครใจ ในส่วนของทีโอทีก็ได้ผ่านความเห็นชอบจากอัยการ ที่ปรึกษากฎหมาย และบอร์ด โดยที่สัญญาอนุญาตฯและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอนุญาตฯแต่ละฉบับ จึงมีผลผูกพันจนกว่าจะสิ้นสุดสัญญา
       
       2.การทำข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอนุญาตฯ ในแต่ละครั้ง ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทีโอที ประชาชนผู้ใช้บริการ และประโยชน์สาธารณะ และ 3.เอไอเอสยืนยันว่าได้ปฏิบัติตามสัญญาอนุญาตฯและข้อตกลงต่อท้ายสัญญา ด้วยดีมาตลอด มิได้มีการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆกับทีโอที ในทางตรงกันข้าม การดำเนินการต่างๆภายใต้สัญญาอนุญาตฯและข้อต่อท้ายสัญญาระหว่างเอไอเอสและทีโอที รวมถึงสัญญาร่วมการงานของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อื่นๆ ล้วนแต่สร้างประโยชน์ให้ทีโอที และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในรูปส่วนแบ่งรายได้และกรรมสิทธิ์ในโครงข่าย
       
       นอกจากปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาแล้ว เอไอเอสได้เสนอทางออกให้มีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน เพื่อศึกษารายละเอียดและความเป็นไปได้พร้อมทางเลือก เพื่อเป็นประโยชน์ในการทำธุรกิจร่วมกันต่อไป
       
       ในส่วนของดีแทคมีท่าทีแข็งกร้าวกว่าเอไอเอส เอกสารที่ส่งไปยังคณะกรรมการเจรจาผลประโยชน์ฯ เมื่อวันที่ 25 ก.พ.เช่นกันนอกจากเห็นว่ารัฐไม่ได้เสียหายจากการแก้สัญญาแล้วดีแทคยังเชื่อว่ารัฐได้รับประโยชน์จากการแก้ไขสัญญา รวมทั้งยังเกิดประโยชน์สาธารณะมากมายไม่ว่าจะเป็นการลดปัญหาการผูกขาด ทำให้เกิดการแข่งขันราคา ซึ่งทำให้ผู้บริโภคจ่ายเงินน้อยลง โดยดีแทคสรุปว่าด้วยเหตุที่บริษัทจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และมีหลักทรัพย์เป็นหุ้นสามัญจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทจึงมีหน้าที่ต้องดูแลผลประโยชน์ของผู้ลงทุน และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายของบริษัท รวมตลอดทั้งต้องดำเนินการใดๆในการปกป้องและรักษาสิทธิของบริษัท
       
       ดังนั้นหากมีการกระทำใดๆที่เป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหาย ผู้กระทำจะต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาตามกฎหมายด้วย
       
       ส่วนกรณีทรูมูฟ ตามเอกสารที่ยื่นให้คณะกรรมการเจรจาผลประโยชน์ฯ ในวันเดียวกันนี้ แทบจะเรียกได้ว่าเป็นการพูดคนละเรื่อง เพราะทรูมูฟเสนอแต่สิ่งที่เป็นผลประโยชน์ของตัวเอง ทั้งๆที่ผลการพิจารณาคณะกรรมการมาตรา 13 ยังไม่ได้ระบุชี้ชัดของความคงอยู่ของสัญญาร่วมการงานของทรูมูฟ แต่ทรูมูฟกลับเสนอให้มีการเปลี่ยนสัมปทานเป็นใบอนุญาต จากกสทช. พร้อมทั้งให้ขยายอายุสัมปทานที่จะสิ้นสุดในวันที่ 15 ก.ย. 2556 เป็นอายุใบอนุญาตที่จะสิ้นสุดในวันที่ 15 ก.ย. 2571 หรือต่ออายุไปอีก 15 ปี รวมทั้งโครงข่ายที่สร้างระหว่างนั้นไม่ต้องโอนให้รัฐ ส่วนผลตอบแทนไม่ได้กำหนดในรูปตัวเงินแต่กำหนดด้วยอักษร x ซึ่งหากรัฐไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้ดังกล่าว ทรูมูฟก็ไม่ต้องจ่ายเงินผลตอบแทน
       
       'เมื่อเอาจิ๊กซอว์แต่ละชิ้นมาต่อก็จะเห็นภาพชัดเจนว่า ทำไมการเมืองต้องบี้เอไอเอสให้หนักข้อ กะเอาให้ถึงตาย เพราะต้องการจะฮุบหวังเปลี่ยนมือ จัดอันดับโอเปอเรเตอร์มือถือในประเทศไทยเสียใหม่'

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)