Author Topic: เฟซบุ๊กใหม่"จำใบหน้าได้" ช่วยให้ง่ายหรือดาบสองคม  (Read 880 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก

ตกเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเมื่อเฟซบุ๊ก (Facebook) เปิดตัวคุณสมบัติใหม่ที่ทำให้ระบบสามารถรับรู้ได้ว่าบุคคลในภาพเป็นใคร เฟซบุ๊กยืนยันเป็นฟีเจอร์ที่ช่วยให้ง่ายต่อการใช้งาน ขณะที่หลายฝ่ายชี้ว่านี่คือหายนะที่จะทำให้สมาชิกเฟซบุ๊กทุกคนมีความเสี่ยงสูญเสียความเป็นส่วนตัว โดยแนะนำให้ผู้ใช้ปิดการทำงานคุณสมบัตินี้เพื่อความปลอดภัย
       
       ความสามารถของคุณสมบัติใหม่ในเฟซบุ๊กนี้เกิดจากการนำเทคโนโลยีวิเคราะห์ใบหน้าหรือ facial recognition ที่นิยมใช้ในโปรแกรมแก้ไขภาพถ่ายเข้ามาประยุกต์ในส่วนบริการ Facebook Photos ผลคือเมื่อผู้ใช้อัปโหลดภาพลงในเฟซบุ๊ก ระบบจะคาดเดาว่าบุคคลในภาพเป็นใครก่อนจะแสดงรายการแนะนำชื่อของบุคคลที่ควร"ติดป้าย"หรือแท็ก (tag) ในภาพมาให้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการแบ่งปันภาพในกลุ่มสมาชิก
       
       เทคโนโลยีนี้ทำให้เฟซบุ๊กสามารถจัดกลุ่มภาพที่มีใบหน้าบุคคลเดียวกัน ให้ผู้ใช้สามารถติดแท็กได้หลายภาพในครั้งเดียว จุดนี้เฟซบุ๊กยกตัวอย่างภาพถ่ายงานแต่งงานญาติพี่น้อง เทคโนโลยีนี้จะทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องพิมพ์ชื่อเจ้าบ่าวเจ้าสาวหรือผู้ร่วมงานหลายครั้งตามจำนวนรูป เทคโนโลยีนี้จะทำให้การแท็กชุดรูปภาพทำได้ง่ายและรวดเร็วกว่าเดิม


ลักษณะการทำงานของคุณสมบัติ "tag suggestions"

ทั้งหมดนี้ถูกเรียกรวมว่าเป็นคุณสมบัติ "tag suggestions" จุดนี้เฟซบุ๊กย้ำว่า ผู้กังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวสามารถปิดความสามารถนี้ได้โดยตั้งค่าในเมนู Privacy Settings ให้กดไม่เลือกความสามารถ 'Suggest photos of me to friends.' เมื่อตั้งค่าแล้วระบบจะไม่แนะนำชื่อของผู้ใช้รายนั้นแก่เพื่อนที่อัปโหลดรูป ซึ่งมีใบหน้าของผู้ใช้รายนั้นอยู่ แต่ผู้ใช้จะยังคงสามารถถูกติดแท็กได้ด้วยการเลือกชื่อตามปกติ
       
       คุณสมบัติจดจำใบหน้าของเฟซบุ๊กยังไม่เปิดให้ใช้งานในขณะนี้ แต่จะทยอยเปิดให้ใช้งานในพื้นที่สหรัฐฯก่อนในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
       
       ปัจจุบัน รูปในระบบเฟซบุ๊กถูกติดแท็กวันละมากกว่า 100 ล้านรูป จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากเฟซบุ๊กจะพัฒนาระบบติดแท็กให้มีความอัจฉริยะยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ความสามารถนี้ถูกตั้งข้อสังเกตว่าความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้จะลดลงเพราะความอัจฉริยะของระบบที่เกิดขึ้น โดยบางความเห็นระบุว่าความสามารถนี้อันตรายเกินไป และชุมชนออนไลน์ควรตื่นขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้ภัยร้ายเกิดขึ้นก่อนที่จะสายเกินแก้
       
       สิ่งหนึ่งที่ทำให้หลายฝ่ายแสดงความกังวลคือความสามารถนี้ทำให้เฟซบุ๊กมีความสามารถในการรวบรวมและค้นหาข้อมูลของผู้ใช้มากเกินไป เท่ากับผู้ประสงค์ร้ายจะสามารถค้นหาข้อมูลความสนใจ ความชอบ ความเห็นด้านการเมือง วิถีชีวิต และล่าสุดคือกิจกรรมของผู้ใช้ตามรูปภาพได้แบบครบเครื่องจากเฟซบุ๊ก สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือความเสี่ยงในการถูกติดตามได้ง่าย ซึ่งหลายเสียงมองว่าถือเป็นดาบ 2 คมที่ไม่คุ้มค่าหากจะแลกกับความสะดวกสบายในการแบ่งปันรูป
       
       นี่ถือเป็นความเคลื่อนไหวล่าสุดเรื่องการปรับเปลี่ยนเพจของเฟซบุ๊ก เนื่องจากเฟซบุ๊กเพิ่งเปิดตัวหน้าประวัติหรือ profile ใหม่ที่ทำให้สมาชิกเฟซบุ๊กมากกว่า 500 ล้านคนทั่วโลกสามารถแสดงตัวตนอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น โดยดึงข้อมูลส่วนตัวพร้อมรูปมาโชว์ในส่วนบนสุดของหน้าแรก ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ว่านี่คือการเปลี่ยนแปลงที่นำข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้เฟซบุ๊กมาเปิดเผยมากเกินไป
       
       ข้อมูลล่าสุดระบุว่า ระบบข้อความของเฟซบุ๊กนั้นถูกใช้งานเป็นประจำโดยผู้ใช้เฟซบุ๊กมากกว่า 350 ล้านคน (จากทั้งหมดมากกว่า 500 ล้านคน) สถิติการส่งข้อความคือ 4,000 ล้านข้อความต่อวัน โดยเฟซบุ๊กถูกคาดการณ์ว่าจะสามารถสร้างรายได้ในตลาดโฆษณาออนไลน์ถึง 1.3 พันล้านเหรียญทั่วโลกในปีนี้ เพิ่มขึ้นจาก 665 ล้านเหรียญในปี 2009 ตามการวิจัยของ eMarketer
       
       Company Related Link :
       Facebook

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
7303 Views
Last post February 14, 2009, 12:00:18 AM
by Webmaster
0 Replies
6044 Views
Last post March 03, 2009, 06:05:12 PM
by Reporter
0 Replies
4998 Views
Last post May 03, 2009, 05:52:53 PM
by IT
0 Replies
6941 Views
Last post June 10, 2010, 02:08:06 PM
by Nick
0 Replies
5018 Views
Last post July 16, 2010, 10:18:47 PM
by Nick
0 Replies
4205 Views
Last post August 27, 2010, 04:28:08 PM
by Nick
0 Replies
6247 Views
Last post October 21, 2010, 05:59:35 PM
by Nick
0 Replies
5928 Views
Last post October 21, 2010, 10:23:15 PM
by Nick
0 Replies
7882 Views
Last post October 23, 2010, 12:51:34 PM
by Nick
0 Replies
6396 Views
Last post December 22, 2010, 09:47:59 PM
by Nick