Author Topic: มะกันปิ๊งไอเดีย "911" ยุคดิจิตอล  (Read 970 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมสหรัฐฯ หรือเอฟซีซี จุดประกายรัฐบาลอเมริกันให้ปรับปรุงบริการแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย 911 เพื่อให้เท่าทันยุคดิจิตอลยิ่งขึ้น ชูประเด็นเพิ่มช่องทางรับแจ้งเหตุด้วยการเปิดให้ชาวอเมริกันส่งข้อมูลอื่นๆ เข้าสู่ระบบ 911 ได้ไม่ใช่โทรอย่างเดียว ทั้งข้อความสั้นทางโทรศัพท์มือถือ (SMS) ภาพถ่าย และวิดีโอ คาดจะเริ่มกระบวนการประชาพิจารณ์เพื่อปรับระบบอย่างจริงจังช่วงเดือนธันวาคมนี้
       
       คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมสหรัฐฯให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันกว่า 70% ของการแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายในสหรัฐฯที่เบอร์โทรศัพท์ 911 นั้นเป็นการโทรจากโทรศัพท์มือถือ ขณะที่การสำรวจพบว่า ชาวอเมริกันมากกว่า 72% ใช้งานบริการรับส่งข้อความเอสเอ็มเอส ทั้งหมดนี้เป็นความจริงที่ทำให้เอฟซีซีมองว่าถึงเวลาแล้วที่ระบบแจ้งเหตุด่วนแห่งชาติอเมริกันต้องเปลี่ยนแปลง เนื่องจากที่ผ่านมา ประชาชนอเมริกันไม่สามารถส่งข้อความเพื่อขอความช่วยเหลือได้
       
       จูเลียส เกแนโชวสกี้ ประธานเอฟซีซีให้ชื่อเรียกแนวคิดนี้ว่า "Next-Generation 9-1-1" โดยวางแผนให้บริการ 911 ในยุคหน้าสามารถเปิดทางให้ชาวอเมริกันไม่จำเป็นต้องแจ้งเหตุเฉพาะการโทรศัพท์เพื่อส่งเสียงขอความช่วยเหลือเพียงอย่างเดียว แต่สามารถส่งข้อความเอสเอ็มเอส คลิปภาพวิดีโอ และภาพถ่ายจากโทรศัพท์มือถือเข้าสู่ระบบ 911 ได้
       
       เกแนโชวสกี้ยกกรณีโศกนาฎกรรมยิงกราดนักเรียนในสถาบันเทคโนโลยี Virginia Tech ช่วงปี 2007 ว่าเป็นตัวอย่างสำคัญของผลเสียจากการมีข้อจำกัดในการแจ้งเหตุ โดยเกแนโชวสกี้กล่าวสุนทรพจน์ในศูนย์ Arlington County Emergency Center ว่านักเรียนและพยานหลายรายในโศกนาฎกรรมครั้งนั้นพยายามส่งข้อความถึง 911 ในสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่น่าเสียดายที่ข้อความทั้งหมดไม่มีทางส่งถึงเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในศูนย์ 911 จนเกิดเป็นความสูญเสียที่เรียกว่าเป็นบาดแผลของสังคมโลก
       
       เอฟซีซีเชื่อว่าการพัฒนา 911 ยุคหน้าจะช่วยยกระดับความปลอดภัยของอเมริกันชนได้อีกทางหนึ่ง โดยเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉินที่ผู้เคราะห์ร้ายไม่สามารถโทรศัพท์ได้ นอกจากนี้ ข้อมูลคลิปวิดีโอและภาพที่ถูกส่งจากโทรศัพท์มือถือยังเพิ่มเบาะแสที่เป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อการช่วยเหลือที่ทันการณ์ฉับไวยิ่งขึ้น
       
       เกแนโชวสกี้ย้ำว่า ขณะนี้ศูนย์รับร้องเรียน 911 ในสหรัฐฯจำนวนมากยังไม่มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงใช้งาน โดยบางศูนย์ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเข้าไม่ถึง จุดนี้จึงเป็นอีกจุดสำคัญที่เอฟซีซีมองว่าต้องปรับปรุงบนแผน 911 ยุคดิจิตอล
       
       ระบบรับแจ้งเหตุในสหรัฐฯ 911 นั้นก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี 1968 ประสบความสำเร็จในการช่วยชีวิตอเมริกันชนมากมาย โดยเอฟซีซีให้ข้อมูลว่า ระบบ 911 นั้นรับเรื่องร้องเรียนฉุกเฉินทางโทรศัพท์มากกว่า 650,000 สายต่อเดือน
       
       สำหรับแผนการพัฒนา Next-Generation 9-1-1 นั้นเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาบรอดแบนด์แห่งชาติ ซึ่งเอฟซีซีมุ่งหวังให้เครือข่ายข้อมูลไร้สายสามารถยกระดับความปลอดภัยของอเมริกันชนให้ได้ภายในปี 2020 โดยรายงานระบุว่า เดือนธันวาคม 53 จะเป็นเดือนที่เอฟซีซีจะนำแผนปฏิบัติการโครงการ Next-Generation 9-1-1 เข้าสู่การทำประชาพิจารณ์อย่างจริงจัง
       
       หลังการนำร่องโครงการของสหรัฐฯ เชื่อว่าศูนย์รับแจ้งเหตุในประเทศอื่นๆทั่วโลกก็จะมีการปรับตัว ซึ่งไม่แน่ว่าอาจรวมถึงศูนย์รับแจ้งเหตุ 191 ในประเทศไทยเช่นกัน

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
6621 Views
Last post February 14, 2009, 12:00:18 AM
by Webmaster
0 Replies
5335 Views
Last post March 03, 2009, 06:05:12 PM
by Reporter
0 Replies
4331 Views
Last post May 03, 2009, 05:52:53 PM
by IT
0 Replies
3077 Views
Last post August 28, 2009, 09:43:46 AM
by IT
0 Replies
6197 Views
Last post June 10, 2010, 02:08:06 PM
by Nick
0 Replies
4208 Views
Last post July 16, 2010, 10:18:47 PM
by Nick
0 Replies
3176 Views
Last post August 27, 2010, 04:28:08 PM
by Nick
0 Replies
5584 Views
Last post October 21, 2010, 05:59:35 PM
by Nick
0 Replies
4914 Views
Last post October 21, 2010, 10:23:15 PM
by Nick
0 Replies
7154 Views
Last post October 23, 2010, 12:51:34 PM
by Nick