http://www.youtube.com/watch?v=UXEvZ8B04bE
(http://upic.me/i/ck/1382068419-saroo-o1.jpg) (http://board.nickcs.com/go.php?http://upic.me/show/47653870)
เรียกว่าจับเอามาทำเป็นภาพยนตร์สั้นโปรโมทโปรดักส์ได้ดีเลยทีเดียว สำหรับกรณีล่าสุด เมื่อ กูเกิล เปิดเผยเรื่องราวของอดีตเด็กชายชาวอินเดียวัย 5 ขวบที่มีนามว่า Saroo Munshi Khan ที่ซึ่งได้พลัดหลงกับพี่ชายวัย 14 ปี หลังเผลอหลับบนขบวนรถไฟที่กำลังเปลี่ยนขบวนที่เมือง Berhanpur ในประเทศอินเดียในช่วงปี 1986 หรือ 12 ปีก่อนหน้าที่บริษัทกูเกิลจะถูกก่อตั้ง แต่แล้วในที่สุด อดีตเด็กชายผู้นี้ก็สามารถค้นหาทางกลับบ้านเกิดของตนเองได้ในอีก 26 ปีต่อมา ด้วยการช่วยเหลือจาก Google Earth
Saroo บอกเล่าว่า หลังจากที่เขาตื่นขึ้นมาบนขบวนรถไฟที่พลัดหลงกับพี่ชายแล้ว พบว่าตัวเองกำลังอยู่ในเมือง Calcutta ซึ่งมีระยะทางห่างจากบ้านและครอบครัวของเขาถึง 1,500 กิโลเมตร และหลังจากที่ลงจากรถไฟแล้ว ในช่วงเวลานั้น Saroo ต้องใช้ชีวิตอยู่บนถนนเป็นเวลาถึงหนึ่งสัปดาห์ ก่อนจะถูกส่งตัวไปยังสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า และได้รับการอุปถัมภ์โดยครอบครัวชาวออสเตรเลีย พร้อมกับย้ายไปอยู่ที่รัฐแทสมาเนีย
สำหรับการตามหาครอบครัวที่แท้จริงได้เริ่มต้นขึ้นในปี 2011 เมื่อ Saroo ได้เริ่มใช้ความทรงจำที่เลือนลางและภาพใน Google Earth มาเป็นผู้ช่วยในการตามหาบ้านเกิด พร้อมกับการใช้ฟีเจอร์ ไม้บรรทัด ใน Google Earth เพื่อกำหนดรัศมีพื้นที่การค้นหาจากการคาดเดาเกี่ยวกับระยะทางที่เขาเดินทางโดยรถไฟ ซึ่งหลังจากที่ใช้เวลาหลายชั่วโมง เขาก็เริ่มค้นพบกองหญ้าขนาดใหญ่ และสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งที่แม้จะคลุมเครือ แต่ในที่สุดก็นำไปสู่การปลดล็อคความทรงจำในวัยเด็ก ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนบ้าน ถนน และหลังคาที่คุ้นเคย
ต่อมาในปี 2012, Saroo ก็ได้เริ่มเดินทางจากออสเตรเลียกลับไปยังเมือง Khandwa ประเทศอินเดีย และเมื่อเดินทางไปถึง เขาก็ได้ทำการบอกเล่าเรื่องราวกับผู้คนท้องถิ่น และก็ได้รับการช่วยเหลือจนค้นพบทางไปบ้านเกิดเพื่อพบแม่ พี่ชาย และพี่สาวที่ยังมีชีวิตอยู่
อย่างไรก็ดี เรื่องราวการค้นหาทางกลับบ้านโดยใช้ผลิตภัณฑ์ของกูเกิลแบบเดียวกันนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก โดยเมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ ก็มีรายงานว่า ชายชาวจีนรายหนึ่งได้ใช้บริการของกูเกิล เพื่อหาทางกลับบ้านในรอบ 23 ปี หลังจากที่ถูกลักพาตัวในวัยเด็ก
ที่มา The Next Web
ที่มา: pantip.com