Nick Computer Services

News & Public Relation => IT News => Topic started by: Nick on November 19, 2010, 10:50:28 PM

Title: คาดประมูลไลเซนส์ 3G เริ่มได้ธันวาคม 2555
Post by: Nick on November 19, 2010, 10:50:28 PM
(http://pics.manager.co.th/Images/553000017363701.JPEG)

นักวิชาการห่วงบริการมือถือแบบ MVNO หลังพ.ร.บ.กสทช.มีผลบังคับใช้ เชื่อสุดท้ายต้องพึ่งศาลจากการค้าความบริการนี้ ขณะที่บิ๊กค่ายมือถือจี้รัฐเคลียร์ปัญหาให้ชัดเจน หลังกฎหมายคลุมเครือทั้งเรื่องสัญญาสัมปทาน และการประมูล 3G คาดจะสามารถเริ่มประมูลไลเซนส์ 3G ได้ประมาณเดือนธันวาคม 2555 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า
       
       ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ในฐานะกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการร่วม พิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า การดำเนินการขั้นตอนต่อไปหลังจากกฎหมายองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่บังคับใช้ ก็คือ การเปิดประมูลใบอนุญาต (ไลเซนส์) ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G ซึ่งน่าจะสามารถเริ่มประมูลไลเซนส์ได้ประมาณเดือนธันวาคม 2555 ถ้าไม่มีอุบัติเหตุแทรกแซง
       
       อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าเป็นห่วงในร่างกฎหมายใหม่นี้ ก็คือ เรื่องการประมูลคลื่นความถี่ ในกฎหมายใหม่กำหนดให้การประมูลทุกคลื่นความถี่ ในมุมมองของดร.สมเกียรติเห็นว่า กรณีออกใบอนุญาตประกอบกิจการทางด้านวิทยุ-โทรทัศน์นั้น กสทช.สามารถกำหนดหลักเกณฑ์การประมูลแยกกันในแต่ละระดับ เช่น วิทยุท้องถิ่น วิทยุระดับจังหวัด
       
       สำหรับส่วนกรณีออกใบอนุญาตประกอบกิจการทางด้านโทรคมนาคม สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แนวทาง คือ 1.กสทช. ต้องแยกประมูลคลื่นความถี่เฉพาะในกิจการโทรคมนาคม ไม่รวมถึงการใช้คลื่นในกิจการวิทยุคมนาคม 2. กสทช.สามารถกำหนดหลักเกณฑ์การประมูลเพิ่มเติมกรณีที่มีผู้เข้าร่วมแข่งขันน้อยรายได้
       
       ขณะเดียวกันประเด็นที่มีความน่าเป็นห่วง ก็คือ เรื่องของการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบไม่มีโครงข่ายเป็นของตัวเอง (Mobile Virtual Network Operator) หรือ MVNO ในร่างกฎหมายดังกล่าวระบุว่า ผู้รับใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง จะมอบหมายให้ผู้อื่นประกอบกิจการแทนไม่ได้ ประเด็นดังกล่าวคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ควรสอบถามความเห็นทางกฎหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า บทบัญญัติเปิดช่องให้มีการทำบริการ MVNO ได้หรือไม่ ถ้าหากไม่สามารถดำเนินการได้ ก็ควรที่จะมีการเสนอให้แก้ไขกฎหมายไปในคราวเดียวกัน
       
       "กทช.ควรที่จะทำแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ออกมาเพื่อใช้เป็นหลักในการออกใบอนุญาตกิจการโทรคมนาคม ขณะเดียวกันแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ก็เป็นกฎหมายตามกฎหมายจัดตั้งศาลปกครอง"
       
       ด้านนายธนา เธียรอัจฉริยะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า กว่าจะมีคณะกรรมการ กสทช. ที่จะเข้ามาทำงานได้ ไม่น่าจะเป็นในปี 2554 แน่นอน เนื่องจากบอร์ดจะต้องใช้ระยะเวลาในการทำความเข้าใจในการทำงานของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมอีกหลายปีกว่าจะลงตัว
       
       "การมี กสทช.ถือว่าเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ หากสัญญาสัมปทานหมดลง ใครจะเป็นคนที่แก้ไขปัญหาตรงนี้ ซึ่งคลื่นความถี่จะต้องถูกส่งกลับคืนไปที่บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ปัญหาเหล่านี้ใครจะตอบได้ หรือจะเป็นการเอาลูกค้ามาเป็นตัวประกัน หรืออย่าง MVNO เชื่อว่าต้องมีขอพิพาทสุดท้ายต้องพึ่งศาล"
       
       นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า การทำธุรกิจต้องแสวงหาโอกาสหลายๆ ทาง ซึ่งแนวทางการเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์บนคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ก็เป็นอีกทาง แต่ก็ต้องพ่วงไปกับการอนุมัติให้ต่อสัญญาไปอีก 5 ปี ด้วย ขณะที่แผนการแปรสัญญาสัมปทานเป็นใบอนุญาต ( K2 ) ก็ยังมีความหวังที่จะสามารถแปรสัญญาสัมปทานได้ ส่วนการให้บริการ MVNO ถือว่าเป็นแนวทางที่ดี
       
       “ทั้ง 3 แนวทางต่างก็มีอุปสรรคทั้งหมดในทุกๆ ทาง อยากให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องออกมาเคลียร์ ซึ่งการซื้อกิจการฮัทช์ ก็เป็น 1 ในตัวเลือก แต่หากมีทางเลือกที่ดีทางไหนก็จะต้องสรุปว่าจะต้องไปทางนั้น”
       
       อย่างไรก็ตาม ผลกระทบดังกล่าวส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน เนื่องจากขณะนี้นักลงทุนถามถึงความมั่นใจมาโดยตลอดแต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ภาคเอกชน อยู่ที่หน่วยงานภาครัฐจะต้องออกมาให้ความชัดเจนเรื่องทั้งหมด
       
       Company Related Link :
       TDRI

ที่มา: manager.co.th