Author Topic: 2554 ดิจิตอลคอนเทนต์(จะ) ครองเมือง  (Read 1897 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


ต้องยอมรับว่าการปฏิวัติรูปแบบการอ่านหนังสือบนอุปกรณ์กระดานชนวน หรือที่เราเรียกกันว่า "แพด" นั้น จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าสตีฟฟ์ จ็อบส์ ซีอีโอแอปเปิล ไม่ลุกขึ้นมาจุดไฟสงครามแท็บเล็ตด้วยการเปิดตัว "iPad" ไม่เพียงแต่วงการไอทีที่แต่ละค่ายพยายามหันมาสู้กระแสด้วยการเปิดตัวสินค้าเพื่อออกมาแข่งขันบนท้องตลาด แต่ยังกระทบไปถึงวงการสื่อสิ่งพิมพ์ และโฆษณามากมาย ที่ต้องตั้งรับกระแสเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วยการผลิตคอนเทนต์ให้สามารถใช้งานร่วมกับ "แพด" ได้อย่างลงตัว ในรูปแบบที่แตกต่างออกไป
       
       ขจร พีรกิจ Adobe Community Professional ซึ่งเป็น 1 ใน 8 คนจากทวีปเอเชียที่เป็นผู้ทดสอบโปรแกรม Adobe ก่อนออกวางสู่ตลาด และเป็นผู้ร่วมให้ความเห็นหลักสูตรของ Abode ที่ใช้ในสถาบันการศึกษาทั่วโลก กล่าวบนเวทีงานเสวนา "จับตา Tablet ปฏิวัติสื่อ" เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2553 ในงานเปิดตัวนิตยสาร mars on iPad ว่าการแข่งขันบนตลาดแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ในบ้านเรา เหมือนเป็นตัวผลักดันให้บริษัทผู้ผลิตสื่อหันมาให้ความสำคัญกับคอนเทนต์ที่เป็นดิจิตอลมากขึ้น รวมไปถึงสื่อสิ่งพิมพ์และนิตยสาร จากเดิมที่อ่านกันบนใบลาน มาเป็นการอ่านบนกระดาษ และอ่านบนคอมพิวเตอร์เว็บไซต์
       
       "รูปแบบการอ่านนิตยสารบนคอมพิวเตอร์ หรือที่เราเรียกกันว่า E-Magazine นั้นเป็นการนำเอาไฟล์เลย์เอาต์ หรือ Hard Copy ของนิตยสารที่เป็นรูปเล่มมาทำให้เป็นไฟล์ .PDF ลงคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นไฟล์เปล่าๆ ที่ไม่มีลูกเล่นอะไรมากนัก"
       
       นับตั้งแต่มีการเปิดตัวแท็บเล็ต เราจะเห็นว่ารูปแบบการอ่านนิตยสารถูกพัฒนาขึ้นไปอีกก้าว ให้อยู่ในรูปแบบของ Digital Magazine เรียกได้ว่าเป็นเจนเนอเรชันของอี-แม็กกาซีน ซึ่งจะมาในรูปแบบของแอปพลิเคชัน ที่ส่วนใหญ่จะให้โปรแกรม Adobe Flash ในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
       
       ความพิเศษของดิจิตอล แม็กกาซีนคือ ความสามารถในการเชื่อมต่อด้วยการใช้โปรแกรมแฟลชในการสร้างลูกเล่นใหม่ๆ เพื่อให้อินเตอร์แอ๊คทีฟสามารถเชื่อมโยงไปหาเครือข่ายสังคม และเว็บไซต์ได้ทันที โดยไม่ต้องใช้ดีไวซ์ตัวอื่นเข้ามาช่วย ข้อดีคือผู้ผลิตสามารถจัดเก็บสถิติผู้ใช้งาน และเห็นฟีดแบคได้ทันที
       
       ขจรย้ำว่า ระบบการพิมพ์จะไม่มีวันหายสูญสิ้นไป เพียงแต่รูปแบบการนำเสนอบนหนังสือจะไม่มีอะไรมากไปกว่าเดิม หยุดแค่ที่เราเห็นทุกวันนี้ และนั่นจะทำให้ผู้บริโภครู้สึกเบื่อหน่ายกับการรับรู้ข่าวสารแบบเดิมๆ จึงพยายามมองหาสิ่งใหม่ที่แตกต่างออกไป
       
       ในมุมของพชร สมุทวณิช บรรณาธิการบริหารนิตยสารมาร์ส ผู้บุกเบิกการทำดิจิตอล แม็กกาซีนเต็มรูปแบบเป็นรายแรกในเมืองไทย ให้ความเห็นว่า แม้ขณะนี้ปริมาณแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ในเมืองไทยยังมีค่อนข้างน้อย และจำกัด แต่ด้วยกระแสความแรงของแท็บเล็ต ทำให้ตอนนี้มีผู้ผลิตจำนวนไม่น้อยหันมาทำตลาดตัวนี้ เพื่อแข่งขันกัน ซึ่งนั่นหมายความว่า จำนวนแท็บเล็ตที่มากขึ้นจะกระตุ้นให้บริษัทสื่อสิ่งพิมพ์หันมาให้ความสำคัญกับแม็กกาซีนที่เป็นดิจิตอลมากขึ้นด้วย
       
       "มองย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน เว็บไซต์ผู้จัดการถือเป็นเว็บไซต์ข่าวเว็บแรกในเมืองไทย ตอนนั้นมีคนเข้าอ่าน 100 คนต่อวัน หลายคนมองว่ามีหนังสือพิมพ์แล้ว จะไปอ่านทำไมบนเว็บไซต์ ณ วันนี้เว็บไซต์ผู้จัดการมีคนอ่านหลายแสนคนต่อวัน รูปแบบการนำเสนอก็เปลี่ยนไปจากตอนเริ่มทำเว็บใหม่ๆ จนตอนนี้มีเว็บไซต์ข่าวเกิดขึ้นนับไม่ถ้วน" พชรยกตัวอย่างการปฏิวัติวงการเว็บไซต์ข่าว ที่เกิดขึ้นเมื่อ 10 ก่อน
       
       ไม่เพียงแต่สื่อนิตยสาร หนังสือพิมพ์เพียงอย่างเดียว ที่ถูกจุดไฟโดยแท็บเล็ต แต่ยังรวมไปถึงสื่อโฆษณาต่างๆ ที่ต้องปรับตัวไปตามยุค และกระแสความต้องการของสังคมด้วย จุดนี้ ปรัธนา ลีลพนัง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการสำนักบริการเสริม บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด ผู้คล่ำหวอดในวงการดิจิตอล โฆษณาให้ความเห็นว่า ตอนนี้เราไม่สามารถให้ความเห็นได้ว่าการทำตลาดบนแท็บเล็ตจะได้รับความนิยมมากเพียงใด เนื่องจากปัจจุบันจำนวนแท็บเล็ตในเมืองไทยยังมีค่อนข้างน้อย แต่ตนเชื่อว่าในปีนี้สัดส่วนการโฆษณาบนแท็บเล็ตจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
       
       "ช่วงเริ่มต้น เอไอเอสทำแค่ SMS ข่าว ซึ่งตอนนั้นไม่คิดว่าจะได้รับผลตอบรับดี แต่ปัจจุบันมีลูกค้าเอไอเอสสมัครใช้บริการ SMS ข่าวกันเยอะมาก เนื่องจากโทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ต้องมี ชีวิตที่เร่งรีบมากขึ้นทำให้คนมีเวลาเข้าถึงสื่อต่างๆ น้อยลง ดังนั้นการบริการเสิร์ฟข่าวสารไปยังโทรศัพท์มือถือ โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องไปหาหนังสือพิมพ์ หรือนั่งอยู่หน้าจอโทรศัพท์จึงเป็นช่องทางที่สัมฤทธิผล"
       
       ในส่วนของโมบายล์ คอนเทนต์ ที่ในช่วงแรกปรัธนามองว่าบริการดังกล่าวเป็นแค่ส่วนเติมเต็มให้กับผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันบริการดังกล่าวกลับได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานจำนวนเหตุเพราะความไวในการตอบสนองระหว่างผู้บริโภคกับผู้ผลิต
       
       ข้อเสียของการโฆษณาบนหนังสือพิมพ์คือเห็นผลตอบรับช้า เมื่อเทียบกับการโฆษณาแบบดิจิตอล ที่ผู้บริโภคสามารถเชื่อมโยงคอนเทนต์ต่างๆ ได้เร็ว การทำโฆษณาขายคอนเทนต์เพลงบนโทรศัพท์มือถือเป็นอีกเคสหนึ่งที่เห็นความแตกต่างได้ง่ายมาก เนื่องจากผู้บริโภคจำนวนมากไม่ให้ความสำคัญกับการซื้อคอนเทนต์เพลงที่เป็นลิขสิทธิ แต่การทำโฆษณาบนมือถือแบบเหมาจ่าย ผู้ใช้สามารถเลือกเพลงที่ตนต้องการได้จากเว็บไซต์ค่ายเพลงนั้นๆ ทั้งแบบริงโทน หรือเพลงเต็มกี่เพลงก็ได้ แต่ต้องทำการลงทะเบียนเพื่อหักยอดเงินคงเหลือในโทรศัพท์ทันที ผลที่ได้คือผู้บริโภคก็จะได้รับเพลงทันทีโดยไม่ต้องออกไปซื้อซีดีเพลงข้างนอก ค่ายเพลงก็จะได้รับเงินทันทีเช่นกัน
       
       "ในแต่ละปีการโฆษณาแบบดิจิตอลในประเทศไทยเติบโตขึ้น 30-40 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่าจะสูงถึง 50-60 เปอร์เซ็นต์ในปี 54 บริษัทชั้นนำหลายแห่งจะเริ่มหันมาให้ความสนใจ เพราะถือเป็นการเข้าถึงผู้บริโภคได้เร็วที่สุดในตอนนี้"
       
       ปรัธนามองว่าความสำเร็จของการโฆษณาแบบดิจิตอลที่เกิดขึ้นบนอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ ถือเป็นตัวอย่างสำคัญในการผลักดันให้การโฆษณาบนแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์มีเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน เนื่องจากแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์มีหน้าจอแสดงผลขนาดใหญ่กว่า มีความสามารถในการทำงานมากกว่า และทำงานได้เร็วกว่า อีกทั้งยังเป็นของใหม่ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่กำลังให้ความสนใจ
       
       แม้หลายฝ่ายจะมองว่านี่เป็นเพียงการเริ่มต้นของการผลิตสื่อเพื่อคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักในเมืองไทย แต่กระแสความร้อนแรงของแท็บเล็ตในปัจจุบัน บวกกับตัวอย่างความสำเร็จในการเป็นผู้บุกเบิกสื่อดิจิตอลในเมืองไทย ทำให้เราสามารถคาดการณ์ได้ว่าในอนาคตสื่อต่างๆ จะมีรูปแบบในการนำเสนอที่เปลี่ยนไปจากเดิม และได้รับความนิยมมากขึ้น จนอาจทำให้ลูกหลานของเราในยุคหน้าต้องไปค้นหาข้อมูลการนำเสนอสื่อในแบบเดิมๆ จากพิพิธภัณฑ์ก็เป็นได้...

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
3465 Views
Last post October 26, 2010, 01:24:35 PM
by Nick
0 Replies
1858 Views
Last post December 29, 2010, 01:44:38 AM
by Nick
11 Replies
8613 Views
Last post January 09, 2011, 12:07:43 PM
by Nick
0 Replies
6274 Views
Last post March 17, 2011, 03:52:14 PM
by Nick
0 Replies
1883 Views
Last post October 17, 2011, 12:17:04 PM
by Nick
0 Replies
2320 Views
Last post October 19, 2011, 04:25:17 PM
by Nick
0 Replies
1768 Views
Last post December 27, 2011, 08:58:33 AM
by Nick
0 Replies
1277 Views
Last post February 15, 2012, 02:51:24 PM
by Nick
0 Replies
1681 Views
Last post April 10, 2012, 06:39:37 PM
by Nick