Author Topic: กสท ตอก ไอซีที ซื้อฮัทช์ ปากไวหาว่าได้เศษเหล็ก  (Read 1145 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท กสทโทรคมนาคม

    กสทเดินหน้าต่อรองราคาฮัทช์ลดลงจาก 7,500 ล้านบาท ‘จิรายุทธ’ ถาม ‘จุติ’ หาว่าซื้อเศษเหล็ก วัดจากอะไร แจงประโยชน์ที่กสทได้เพียบไม่ว่าฐานลูกค้า 7 แสนราย รายได้รวมปีละ 4 พันล้านและได้ 1,400 สถานีฐานความเร็ว 9 Mbps ส่วนโครงการเอซอน ของ ZTE ล่าช้าเป็นปีแล้ว
       
       นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท กสทโทรคมนาคม กล่าวว่า กรณีที่นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ให้กสทไปต่อรองราคาการซื้อกิจการบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย (ฮัทช์) ภายในเวลา 1 เดือนเนื่องจากเห็นว่างบประมาณที่ใช้ไม่เกิน 7,500 ล้านบาทที่ผ่านความเห็นชอบหลักการจากคณะรัฐมนตรีก่อนหน้านี้เป็นราคาที่สูงเกินไปนั้นขณะนี้กสทจะเร่งดำเนินการต่อรองตามนโยบายดังกล่าว
       
       อย่างไรก็ตาม การต่อรองราคากับฮัทช์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ กสท ฝ่ายเดียวแต่ต้องขึ้นอยู่กับฮัทช์ด้วยว่าจะยินยอมหรือไม่ โดยการต่อรองราคาจะต้องพิจารณาจากจำนวนลูกค้าที่มีอยู่ในระบบในช่วงเวลาล่าสุดโดยข้อมูลเดือนเม.ย.53 ที่ผ่านมาพบว่าฮัทช์มีลูกค้าลงทะเบียน 1 ล้านราย แต่มีการใช้งานจริง 7 แสนราย รายได้ต่อเลขหมายต่อเดือนอยู่ที่ 400 บาทซึ่งถือว่าสูงที่สุดในตลาดมือถือ เพราะฮัทช์มีลูกค้าโพสต์เพด 30-40% ของลูกค้าทั้งหมด โดยฮัทช์มีรายได้รวมเดือนละ 400 ล้านบาทหรือปีละประมาณ 4,000 ล้านบาท และปัจจุบันรายได้ดังกล่าวยังอยู่ในระดับเดิม
       
       ทั้งนี้ กรณีที่รมว.ไอซีที เกรงว่ากสท จะจ่ายเงินราคาแพงเพื่อซื้อเศษเหล็กนั้นที่ผ่านมายอมรับว่ายังไม่ได้มีเวลาให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวแก่รมว.ไอซีที ซึ่งการมองโครงข่ายฮัทช์ 25 จังหวัดเป็นเศษเหล็กก็อยากถามว่าวัดจากอะไร เพราะโครงข่ายดังกล่าวผ่านการใช้งานเพียง 7 ปีเท่านั้น นับจากปี 2546
       
       ‘การมองว่าโครงข่ายฮัทช์เป็นเศษเหล็ก ไม่ทราบว่าวัดจากอะไร โครงข่ายนี้มีอายุแค่ 7 ปี ส่วนโครงข่ายเอไอเอสมีอายุกว่า 20 ปี แบบนั้นเรียกว่าอะไร ที่ผ่านมาอาจจะเป็นเพราะยังไม่ได้มีการอธิบายให้รมว.ไอซีทีเข้าใจอย่างละเอียดเพราะท่านมีภารกิจ เยอะเชื่อว่าเรื่องนี้หากมีเวลาชี้แจงก็จะทำความเข้าใจที่ถูกต้องกับรมว.ไอซีทีได้’
       
       นายจิรายุทธกล่าวว่าการมองว่าซื้อฮัทช์ในวงเงินไม่เกิน 7,500 ล้านบาทนั้นสูงเกินไป อาจเป็นเรื่องไม่ถูกต้องเพราะการซื้อฮัทช์นั้นจะมีลูกค้าเข้ามาในระบบทันทีอย่างน้อย 7 แสนราย มีรายได้เดือนละ 400 ล้านบาทหรือปีละ 4,000 ล้านบาท จากเดิมกสทมีรายได้จากส่วนแบ่งรายได้ 20 % อยู่ที่ปีละประมาณ 800 ล้านบาทจากฮัทช์ เท่านั้น นอกจากนี้ยังได้สถานีฐานอีก 1,400 สถานี ซึ่งจะเจรจาให้ฮัทช์อัปเกรดเป็น  CDMA EVDO Rev.B ซึ่งมีความเร็วถึง 9 Mbps ทั้งหมดจากเดิมที่ตกลงให้อัปเกรดเป็น CDMA EVDO Rev.A โดยใช้เวลาเพียง 4 เดือนก็สามารถทยอยเปิดให้บริการได้ โดยหากคำนวณเงินลงทุนต่อสถานีฐานจะอยู่ที่ 5.3 ล้านบาทใกล้เคียงกับการลงทุนสร้างสถานีฐานเอง
       
       ทั้งนี้ หากเทียบการซื้อฮัทช์กับโครงการ 3G ของบริษัท ทีโอที ที่เพิ่งผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีไปนั้น โครงการไหนจะคุ้มค่ากว่ากัน เพราะโครงการของทีโอทีจะต้องเริ่มต้นใหม่โดยที่ยังไม่มีลูกค้าในระบบเลย และการสร้างโครงข่ายต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือนและครอบคลุมเพียง 16 จังหวัดเท่านั้นรวมทั้งสถานีฐานมีการสร้างใหม่ไม่ถึง 1,000 สถานี ที่เหลือกว่า 4,000 สถานีเป็นการเช่าใช้โครงข่ายของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) และของกสท
       
       ส่วนกรณีการเปิดให้ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) และบริษัท ทรูมูฟ นำความถี่เดิม 850 MHz ไปปรับปรุง(อัปเกรด) เพื่อให้บริการ 3G ด้วยเทคโนโลยี HSPA นั้น การดำเนินการแบบทดสอบ ก็เสมือนการให้บริการเชิงพาณิชย์ เพราะผู้ประกอบการนำ 3G ไปให้บริการแทน EDGE ทำให้มีรายได้เพิ่มและสามารถส่งเงินเข้ากสทมากขึ้น
       
       ทั้งนี้การผลักดันให้บริการเชิงพาณิชย์ของดีแทคและทรูมูฟยอมรับว่าเป็นเรื่องยากเพราะยังติดการพิจารณาของคณะกรรมการตามมาตรา 13 และมาตรา 22 ของพ.ร.บ.ร่วมการงานรัฐกับเอกชน ปี 2535 ซึ่งยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ส่วนสาเหตุที่เอกชนเปิดการทดสอบน้อยกว่าจำนวนที่ขอติดตั้งสถานีฐานจากกทช.เป็นเพราะที่ผ่านมาเอกชนมั่นใจว่าจะมีการเปิดประมูลใบอนุญาตใหม่บนความถี่2.1GHz ทำให้ชะลอการติดตั้งอุปกรณ์ HSPA ออกไปก่อน
       
       ** เอซอนของ ZTE ช้าเป็นปีแล้ว **
       
       นายจิรายุธ กล่าวต่อว่า โครงการระบบสื่อสัญญาณอัตโนมัติทั่วประเทศ (ASON: Automatically Switched Optical Network) มูลค่า 2,600 ล้านบาทที่ใช้อุปกรณ์ของ ZTE ส่งมอบล่าช้ากว่ากำหนดเป็นเวลาร่วม 1 ปีโดยความล่าช้าเกิดจากการขออนุญาตพาดสายกับเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าโครงการดังกล่าวจะแล้วเสร็จเมื่อไหร่ ส่วนกรณีการเรียกปรับจากความล่าช้ายังไม่สามารถประเมินได้เพราะต้องรอให้โครงการแล้วเสร็จก่อน


ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)