Author Topic: อี-แคตาล็อก มาร์เก็ตติ้งต้องมีลูกเล่น  (Read 1203 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Offline Reporter

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1093
  • Karma: +8/-0
  • Gender: Male
    • ซ่อมคอมเชียงใหม่



      - โอเพ่นเซิร์ฟ กลายพันธ์โปรแกรมอีบุ๊ก สร้างผู้ช่วยนักการตลาดแนวใหม่
       - พลิกโฉมอี-มาร์เก็ตติ้ง ด้วยสื่อแนวๆ 'อี-แคตาล็อก' พลิกอ่านได้ เชื่อมข้อมูลแบบเรียลไทม์
       - หมดยุคเครื่องมือตัวแม่ที่ไร้สีสัน
       
       หากกล่าวถึง นิวมีเดีย ที่จะน่าจับตามองในช่วง 2-3 ปีต่อจากนี้ คงจะหนีไม่พ้น 'อีบุ๊ก' ที่มีความพยายามทั้งผลักทั้งดันจากนายใหญ่ของอเมซอนดอทคอม 'เจฟฟ์ เบซอส' ที่ผลักดันทั้งอุปกรณ์อ่านอีบุ๊กอย่าง 'Kindle' รวมถึงตัวซอฟต์แวร์อีบุ๊กที่ให้อ่านถึง 88,000 เรื่อง โดยสามารถดาวน์โหลดผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่มาอ่านกัน
       
       นั้นเป็นความพยายามที่จะขับเคลื่อนให้อีบุ๊กเป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศ แต่สำหรับในประเทศไทย บริษัท โอเพ่น เซิร์ฟ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2549 โดยมีบริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI ถือหุ้นอยู่ 99.99% ได้พัฒนาโปรแกรม I love Library โดยทีมโปรแกรมเมอร์ของบริษัท ขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถสร้างหนังสือ แคตาล็อก อัลบั้มภาพ ให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างง่ายดาย โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องมีความรู้ในคอมพิวเตอร์แต่อย่างไร นอกจากจะสามารถเรียนรู้การใช้งานได้อย่างง่ายดายแล้ว การสร้างก็เป็นเรื่องง่ายและสามารถสร้างได้อย่างรวดเร็ว
       
       'หลังจากเปิดตัว I love Library ประมาณช่วงเดือนเมษายนปีที่แล้ว มาจนถึงวันนี้ ตอนแรกๆ ก็มีคนเข้ามาดาวน์โหลดโปรแกรมไปใช้งานไม่มากนัก แต่หลังจากผ่านมาได้สัก1-2 เดือน ก็เริ่มมีคนดาวน์โหลดโปรแกรม I love Library ไปใช้งานกันมากขึ้นเรื่อยๆ จนเวลานี้มีคนเข้ามาดูโปรแกรม I love Library ไม่น้อยกว่า 2 ล้านครั้ง' ชัชพงศ์ มัญชุภา กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอเพ่น เซิร์ฟ (ประเทศไทย) จำกัด และรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) จำกัด (มหาชน) เล่าให้ฟังถึงความสำเร็จที่เกิดขึ้นของโปรแกรม I love Library ให้ฟัง
       
       ปัจจุบัน โปรแกรม I love Library มีการดาวน์โหลดไปใช้งานกว่า 100,000 ราย โดยเฉพาะนิสิตนักศึกษาตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้มีการประยุกติ์ใช้เป็นเครื่องมือในการทำสื่อการเรียนการสอน ด้วยจุดเด่นตรงที่เป็นโปรแกรมที่สามารถนำเสนอภาพเคลื่อนไหวได้ดี อีกทั้งยังเป็นโปรแกรมที่นำมาใช้สร้างงานได้ง่าย หลังจากที่ทางบริษัทจัดทำโครงการที่เรียกว่า E-Book Dee for School สำหรับโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร 145 โรงงาน
       
       ชัชพงศ์ ยังกล่าวถึงความนิยมโปรแกรม I love Library ว่า ถ้าหากเสิร์ชคำว่า e-book ในกูเกิล ชื่อของ I love Library จะอยู่หน้าแรก อันดับที่ 4 ซึ่งเป็นอันดับที่เราค่อนข้างพอใจ จึงทำให้ทางบริษัทเร่งพัฒนาโปรแกรมให้มีความสามารถมากยิ่งขึ้น
       
       โปรแกรม I love Library เป็นบริการหนึ่งในเว็บไซต์ที่ชื่อว่า www.ilovelibrary.com โดยมีบริการ 2 ส่วน คือ บริการคอนเทนต์ให้อ่านฟรี โดยจะอยูในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรืออีบุ๊กสำหรับบุคคลทั่วไป และสมาชิกซึ่งเป็นคลังหนังสือที่มีหมวดหมู่หนังสือมากกว่า 25 หมวด ประกอบไปด้วย หนังสือการศึกษา หนังสือเทคโนโลยี เรื่องสั้น นิตยสารและอื่นๆ
       
       แหล่งที่มาของหนังสือที่อยู่ภายในเว็บได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง เช่น สำนักงาน กปร สำนักฝนหลวง กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิหมอชาวบ้าน คนรักกอล์ฟ เป็นต้น โดยแต่ละเดือนจะมีหนังสือปกใหม่ๆ ให้บริการอย่างต่อเนื่อง มากกว่าเดือนละ 300 ปก
       
       กับบริการเปิดให้ผู้สนใจทั่วไปและสมาชิกดาวน์โหลดโปรแกรมสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟรี สามารถนำไปใช้สร้างอีบุ๊ก อัลบั้มภาพและแคตตาล็อคสินค้า บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวเท่านั้น โดยไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์
       
       โปรแกรม I love Library ประกอบไปด้วย I Love Library Builder เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างอีบุ๊ก และ I Love Library Viewer เป็นโปรแกรมที่ใช้อ่านอีบุ๊ก สามารถสร้างหนังสือ 1 เล่มเพียงแค่ 7 คลิก และมีลูกเล่นในการเปิดอ่านหนังสือมากมาย ทำให้เพลินเพลินกับการอ่านหนังสือ เพราะให้ความรู้สึกเสมือนการเปิดหนังสือจริง
       
       ชัชพงศ์ กล่าวอีกว่า นอกเหนือจากการเปิดกว้างให้นำโปรแกรม I love Library ไปใช้ฟรีแล้ว ทางบริษัทยังได้พัฒนาโปแกรม I Love Library สำหรับใช้ในการสร้างงานอีบุ๊กเชิงพาณิชย์ โดยแบ่งเป็น 3 เวอร์ชั่น ประกอบไปด้วย เวอร์ชั่นที่เรียกว่า คอมเมอร์เชียล อิดิชั่น เป็นเวอร์ชั่นสำหรับการใช้งานในองค์กร หน่วยงาน และบริษัท สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หรือธุรกิจได้โดยไฟล์ที่สร้างจากชุดคอมเมอร์เชียล เมื่ออัปโหลดเข้าเว็บไวต์ I Love Library จะไม่มีการจำกัดขนาดไฟล์ที่อัปโหลด
       
       เวอร์ชั่นที่ 2 เรียกว่า 'เน็ตเวิร์ก อิดิชั่น' ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นสำหรับการใช้งานแบบเครือข่ายในองค์กร หน่วยงาน หรือบริษัท เหมาะสำหรับการใช้งานในลักษณะของห้องสมุด คือ มีการติดตั้งบนระบบอินทราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ตภายในองค์กร เพื่อให้มีการกระจายของสื่ออิเล็กทรอนิคส์ที่สร้างไว้ภายในหน่วยงาน หรืออาจจะนำไปใช้ในลักษณะของการจัดเก็บเอกสารการประชุม คู่มือ ระเบียบ รวมไปถึงการต่อเชื่อมกับระบบ Knowledge Management
       
       ชัชพงศ์ กล่าวว่า เวลานี้ ทางบริษัทกำลังนำเน็ตเวิร์ก อิดิชั่นไปนำเสนอให้กับห้องสมุดต่างๆ ทั้งในประเทศและนอกประเทศ ซึ่งในประเทศไทยเวลานี้มีห้องสมุดหลายๆ ที่นำไปทำเวอร์ชวลไลบรารีแล้ว 15 ไซต์ ส่วนตลาดต่างประเทศนั้น ตอนนี้ทางบริษัทได้แต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายในการบุกตลาดสหรัฐอเมริกากับแคนาดาเป็นพิเศษ ซึ่งทางบริษัทน่าจะมีห้องสมุดที่ใช้บริการนี้ไม่ต่ำกว่า 50 ไซด์ภายในปีนี้
       
       'เนื่องจากโปรแกรมของเรานอกจากจะมีความง่ายในการใช้งานแล้ว ที่สำคัญโปรแกรมของบริษัทต่างจากโปรแกรมอ่านอีบุ๊กอื่นในตลาดตรงที่สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวได้ แถมยังมีความสามารถในการป้องกันเรื่องการก็อปปี้ได้ ด้วยการกำหนดจำนวนไลเซนต์การใช้ได้ อีกทั้งยังเปิดกว้างในการสร้างอีบุ๊กด้วยตนเอง ไม่เหมือนกับโปรแกรมอ่านอีบุ๊กรายอื่นๆ ที่เจ้าของคอนเทนต์ต้องนำเนื้อหาไปให้ทางทางบริษัทพัฒนาโปแกรมแปลงเป็นอีบุ๊กให้'
       
       และ เวอร์ชั่นที่ 3 'พับลิชเชอร์ อิดิชั่น' สำหรับนำไปใช้งานของผู้ประกอบการสำนักพิมพ์หรือสำหรับนักเขียนที่ต้องการสร้างสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ไปเพื่อจำหน่าย สื่อที่สร้างขึ้นมาระบบของ I love Library จะทำการสร้างระบบล็อกเพื่อป้องกันการก็อปปี้ โดยเจ้าของหนังสือหรือสื่อที่สร้างขึ้นสามารถกำหนดสิทธิอนุญาตให้ผู้ซื้อสามารถที่จะติดตั้งหนังสือสื่อที่ซื้อไปได้ใหม่กี่ครั้ง
       
       'เวลานี้ทางบริษัทได้เริ่มมีการนำเสนอเวอร์ชั่น พับลิชเชอร์ไปตามสำนักพิมพ์ใหญ่ๆ บ้างแล้ว ซึ่งถือเป็นแหล่งคอนเทนต์สำคัญที่กระตุ้นให้ตลาดอีบุ๊กเติบโตขึ้น'
       
       ชัชพงศ์ กล่าวอีกว่า จากสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงนี้ที่กำลังย่ำแย่ ทำให้บริษัทต่างๆ ต่างมองหาเครื่องมือการตลาดแนวใหม่ที่มีต้นทุนไม่สูงและสามารถเข้าถึงกลุ่มลุกค้าเป้าหมายได้เป็นอย่างดี ทางบริษัทจึงได้พัฒนาต่อยอดโปรแกรม I love Library มาเป็นเครื่องมือทางการตลาดแต่อินเตอร์แอกทีฟในรูปแบบของ อี-มาร์เก็ตติ้ง'ในรูปของอี-แคตาล็อก อีอัลบั้ม อี-แอนนวล รีพอร์ต ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ให้มีความน่าสนใจและดึงดูดใจได้มาก แถมยังประหยัดเวลา ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า แต่สามารถเข้าถึงมวลชนได้มาก โดยทางบริษัท ได้นำโปรแกรม I love Library มาให้บริการจัดทำสื่อในรูปแบบออนไลน์ มาร์เก็ตติ้ง
       
       สื่ออี-มาร์เก็ตติ้งที่ว่า จะอยู่ในรูปของซีดีรอมที่ผู้รับสามารถนำไปเปิดดูได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้โปรแกรมเฉพาะในการเปิดอ่าน โดยมีรูปแบบการนำเสนอในรูปแบบของอินเทอร์แอกทีฟที่สามารถสื่อสารด้วยภาพและเสียง โดยทางเจ้าของสินค้าสามารถติดตั้งลิงก์เชื่อมโยงไปยังข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อผู้ใช้ต้องการรู้ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มได้ทันที แม้กระทั่งเชื่อมโยงไปยังระบบอีคอมเมิร์ซเพื่อให้เกิดธุรกรรมทางการค้าเกิดขึ้น
       
       บริการดังกล่าว ทางชัชพงศ์ ประเมินว่า จะบริการ อี-แคตตาล็อก น่าจะช่วยให้บริษัทหรือหน่วยงานสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจมากขึ้น จากคุณสมบัติที่สามารถนำเสนอลูกค้าในรูปแบบ อี-แคตาล็อกที่สามารถพลิกเปิดอ่านได้เสมือนสื่อจริงๆ พร้มอทั้งภาพเคลื่อนไหวแลเสียง และยังสามารถเชื่อมไปยังเว็บไซต์ได้ทันที ทำให้สะดวกและง่ายต่อการนำไปเผยแพร่ทั้งในรุปแบบของการส่งอีเมล์หรือซีดี
       
       'ปัจจุบัน เรื่องของอีเมล์ มาร์เก็ตติ้ง จะมีคนสนใจเยอะมาก อีเมล์ มาร์เก็ตติ้งรูปแบบเดิมจะมีแค่เปิดเข้าไปอ่านรายละเอียด ดูรูปภาพเท่านั้น แต่ถ้าเป็นการทำตลาดผ่านอี-แคตาล็อก ที่ทางบริษัทคิดขึ้นมา จะมีทั้งภาพและเสียงประกอบการโฆษณาสินค้าเหมือนกับเราสื่อสารกับผู้บริโภคด้วยตนเอง'
       
       ชัชพงศ์ กล่าวว่า ข้อดีของการใช้อี-แคตาล็อก อยู่ตรงที่ช่วยประหยัดเวลาการทำงาน ลดต้นทุน ลดปริมาณการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ประหยัดค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านทางโทรทัศน์ซึ่งเป็นตัวเลขงบประมาณการทำตลาดที่ค่อนข้างสูง และหากไปในเวลาไม่นาน แต่การทำตลาดผ่านอี-แคตาล็อก เมื่อไหร่ก็ตาม ที่เราได้รับอีเมล์ วันนี้เรายังไม่สะดวกเปิดมาเปิดวันหลังก็ยังไม่โดนลบทิ้ง ยิ่งในช่วงเศรษฐกิจขาลงแบบนี้ในแง่ของบริษัทต่อให้เศรษฐกิจแย่แค่ไหนก็ยังจำเป็นต้องมีการทำการตลาด การออกอี-แคตาล็อกถือเป็นไทม์มิ่งที่เหมาะสม โดยค่าบริการเริ่มต้นตั้งแต่ 5,000 บาทเป็นต้นไป แต่ผลตอบกลับถือว่าคุ้มค่า
       
       สำหรับกลุ่มเป้าหมายสำหรับใช้บริการอี-แคตาล็อกนั้น ชัชพงศ์ ตั้งเป้าไว้ว่า จะใช้วิธีส่งข้อมูลให้กับลูกค้าเดิมของบริษัทที่มีอยู่กว่า 100,000 กว่ารายก่อน โดยคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการไม่ต่ำกว่า 20% หลังจากนั้นจะค่อนๆ ขยายตลาดไปยังตลาดอื่นๆ ต่อไป
       
       'ทางบริษัทมุ่งมั่นที่จะผลักดันให้โปรแกรม I love Library เป็นโปรแกรมมาตรฐานเหมือนอย่างพีดีเอฟ เพราะโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมานี้สามารถตอบสนองการใช้งานทั้งภาษาไทย จีน ญี่ปุ่น ฯลฯ ซึ่งนับว่า โปรแกรมในลักษณะเดียวกันนี้ไม่สามารถทำได้'

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)