Author Topic: จวกไอซีทีมั่วบล็อกเว็บ คำสั่ง 70% ผิดกฏหมาย  (Read 1157 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ - บัณฑิต ว่องวัฒนะสิน


มานะชัย บุญเอก - สฤณี อาชวานันทกุล

นักกฎหมายไทย-สื่อออนไลน์-ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตย้ำ กระบวนการปิดกั้นเว็บไซต์หรือการบล็อกเว็บไซต์ไม่ให้คนไทยเข้าชมของกระทรวงไอซีทีในขณะนี้ยังไม่มีความถูกต้องชัดเจนพอ ทำให้การบล็อกเว็บไซต์มากกว่า 60-70% ที่ผ่านมาในประเทศไทยไม่ชอบด้วยกฎหมาย วอนไอซีทีเปิดปากให้ข้อมูลเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกเพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้ประกอบการถึงแนวทางต้องห้ามที่ไม่ควรนำเสนอ แนะรัฐอย่าเอาเงินไปละลายแม่น้ำกับการซื้อซอฟต์แวร์บล็อกเว็บไซต์แสนแพง แต่ควรเกาให้ถูกที่คันด้วยการตั้งคณะกรรมการกลางเฉพาะทางที่มีตัวแทนจากหลายฝ่ายเข้ามาร่วมประชุม พร้อมกับสนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายประชาชนอินเทอร์เน็ตเพื่อช่วยตรวจสอบอย่างเข้มแข็ง
       
       ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษากฎหมาย บริษัท ที่ปรึกษากฏหมายไพบูลย์ จำกัด อดีตกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ กล่าวในงานเสวนา "คลี่ปมกระบวนการบล็อกเว็บ : ปัญหาบังคับใช้กฎหมายหลายมาตรฐาน" ซึ่งชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์จัดขึ้นที่อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา ว่าสาเหตุหลักที่ทำให้คำสั่งปิดบล็อกเว็บไซต์เกิน 50% ในประเทศไทยเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คือการขาดผู้รับผิดชอบดูแลกระบวนการบล็อกเว็บไซต์ของกระทรวงไอซีทีอย่างจริงจัง ทำให้มาตรฐานการดำเนินงานเป็นไปอย่างสับสน หลายมาตรฐาน และไร้ความน่าเชื่อถือ
       
       "การจะบล็อกเว็บไซต์หนึ่งได้ เจ้าพนักงานต้องพบว่ามีความผิดเข้าข่าย 3 กรณีคือ เว็บไซต์หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เข้าข่ายก่อการร้าย และมีเนื้อหาที่ขัดต่อความเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี ซึ่งได้แก่ ลามกอนาจาร การพนัน และการค้ามนุษย์ ฉะนั้นการปิดเว็บไซต์ขายยาเถื่อน เว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์ และอื่นๆที่ไม่เข้าข่ายนั้นทำไม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมา เว็บไซต์เหล่านี้ถูกบล็อกไปทั้งๆที่ไม่เข้าองค์ประกอบกฎหมาย ถือเป็นเรื่องไม่ถูกต้องที่เข้าข่ายละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน"
       
       ไพบูลย์ระบุว่าสิ่งที่จะทำให้รัฐบาลแก้ปัญหาเนื้อหาเว็บไซต์ไม่เหมาะสมคือการดำเนินคดี ไม่ใช่การบล็อกที่ไม่ดำเนินคดีต่อแบบที่เป็นมาตลอดในประเทศไทย
       
       "เฉพาะในเว็บไซต์ยูทูบ มีเพจมากกว่า 50,000 เพจที่ถูกบล็อกในประเทศไทยตลอด 5 ปี" แน่นอนว่าตัวเลขนี้สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นทั่วโลก ที่น่าสนใจคือการบล็อกแบบถล่มทะลายของรัฐบาลไทยไม่สามารถแก้ปัญหาการนำเสนอเนื้อหาไม่เหมาะสมบนเว็บไซต์ในประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน เพราะเมื่อถูกบล็อก เว็บไซต์นั้นก็สามารถเปิดขึ้นใหม่ในชื่ออื่นได้ ไม่เกิดการขยายผลในเชิงการปราบปรามใดๆ
       
       ไพบูลย์กล่าวติดตลกว่า ไอซีทีควรจะขายซอฟต์แวร์บล็อกเว็บไซต์ราคาแพงที่มีอยู่ทิ้งไป แล้วหันมาใช้เครื่องมือ 3 อย่าง ได้แก่ กฎหมาย ผู้ที่มีความรู้ด้านเทคนิค และการสนับสนุนกลุ่มพลเมืองอินเทอร์เน็ตให้ร่วมกันสอดส่องดูแล (Self-Regulation) ซึ่งจะทำให้รัฐสามารถบรรลุเป้าหมายเรื่องการกำกับดูแลสังคมอินเทอร์เน็ตได้ดีกว่า
       
       "พวกนี้พร้อมอยู่แล้วและผมเชื่อว่าสามารถเกิดได้ใน 3 เดือน งบประมาณไม่เกิน 5 ล้าน จริงๆเรื่องนี้ไม่ต้องถามแล้วว่าต้องทำอย่างไร แต่ควรถามว่าเมืองไทยจะเริ่มทำเมื่อไรมากกว่า"
       
       อีกปัญหาสำคัญที่ผู้ประกอบการเว็บไซต์อิสระได้รับจากการบล็อกเว็บไซต์ในเมืองไทยที่หลายมาตรฐานของไอซีที คือการขาดความชัดเจนเรื่องขอบข่ายความผิดที่จะนำไปสู่การบล็อกเว็บไซต์ โดยสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระและบรรณาธิการโอเพ่นออนไลน์ ระบุว่าที่ผ่านมา ผู้ประกอบการเว็บไซต์นั้นไม่สามารถหาข้อมูลเว็บไซต์ที่ถูกรัฐบาลบล็อกได้เลย ข้อมูลที่พบคือจำนวน ซึ่งไม่ได้ทำให้เว็บไซต์ทราบว่า เว็บไซต์ลักษณะใดที่มีความเสี่ยงต่อการถูกบล็อก
       
       "ไอซีทีต้องกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะทำเป็นรายงานประจำปี บล็อกแล้วกี่ราย แต่ละรายมีเนื้อหาอย่างไร การเปิดเผยแนวทางที่รัฐทำอยู่จะทำให้เกิดความสบายใจแก่ทุกคน"
       
       นอกจากนี้ยังมีเรื่องความไม่ชัดเจนของคำสั่งบล็อกเว็บไซต์ของไอซีที ซึ่งสร้างความเดือดร้อนและสับสนแก่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือไอเอสพีมาตลอด จุดนี้ บัณฑิต ว่องวัฒนะสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทอร์เน็ต โซลูชัน แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด กล่าวว่าได้รับความเดือดร้อนจากการออกคำสั่งที่ไม่ชัดเจนของไอซีที ทั้งในเรื่องความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง และการเสียต้นทุนในการดำเนินงานซ้ำซ้อนกันโดยใช่เหตุ
       
       "การจะบล็อกนั้น ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) จะต้องแจ้งที่ Gateway ซึ่งถ้าผู้ใช้ใช้งานแล้วหลุดจะสามารถฟ้องร้องเอาผิดกับไอเอสพีได้ ตรงนี้ไอซีทีต้องมีคำสั่งที่ชัดเจน ซึ่งในต่างประเทศนั้นส่งเรื่องไปที่ Gateway ที่เดียว เรื่องนี้ไอซีทีต้องรู้จะได้มีประสิทธิภาพในการสั่งการ ขอแค่ทำการบ้านนิดหนึ่งก็จะบอกได้เองว่าจะสั่งการใคร อย่างน้อยที่สุดก็จะไม่สับสนในการตีความนิยามกฏหมาย"
       
       ทั้งหมดนี้ มานะชัย บุญเอก ผู้แทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระบุว่า แนวทางการแก้ไขเรื่องกระบวนการบล็อกเว็บไซต์ของไอซีทีนั้นยังไม่แน่ชัดว่าจะเกิดขึ้นได้จริงเมื่อใด ซึ่งการสนับสนุนกลุ่มพลเมืองอินเทอร์เน็ตนั้นอาจจะมีโอกาสเห็นในปีงบประมาณ 54 หากได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ขณะที่การเปิดเผยข้อมูลเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกนั้น ไม่สามารถทำได้เนื่องจากเป็นข้อมูลที่อ่อนไหว (Sensitive)
       
       สำหรับกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กชาวไทยที่เกิดข้อสงสัยว่าถูกบล็อกเพจเฟซบุ๊ก ไพบูลย์ระบุว่าหากตรวจสอบแล้วพบว่าไม่ใช่ความผิดพลาดในเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถส่งฟ้องไอเอสพีได้ในข้อหาละเมิดสิทธิ

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)