Author Topic: เออร์วินมาร์ค-พอล จาคอบส์25ปีกับตำนานเปลี่ยนโลกสื่อสารไร้สาย  (Read 952 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


"ดร.เออร์วิน มาร์ค จาคอบส์" ผู้ก่อตั้งบริษัท ควอลคอมม์ อินคอร์ปอเรทเต็ท และอดีตประธานกรรมการและประธานผู้บริหารสูงสุดในโอกาสพบปะสื่อมวลชนทั่วโลกในวาระครบรอบ 25 ปีการก่อตั้งบริษัท พร้อมกับลูกชาย "พอล จาคอบส์" ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและประธานผู้บริหารสูงสุด (ซีอีโอ)


25ปีกับตำนานการปลุกปั้นเทคโนฯไร้สายซีดีเอ็มเอของ"ควอลคอมม์"ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสื่อสารความเร็วสูงบนอุปกรณ์ที่ไม่จำกัดแค่พีซีเท่านั้น

25 ปี หากเทียบกับอายุคนคงอยู่ในวัยที่กำลังจะก้าวสู่การเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว เดินทางผ่านร้อนผ่านหนาวมาจนถึงจุดที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงของชีวิตได้พอสมควร เหมือน "ควอลคอมม์" ผู้ผลิตชิพเซ็ตสำหรับมือถือรายใหญ่ของโลก ซึ่งในวันที่บริษัทมีอายุครบ 25 ปีก็ยังถือเป็นวันที่ควอลคอมม์ตัดสินใจปรับบทบาทของตัวเองใหม่ เพื่อหวังจะสร้าง "จุดเปลี่ยน" ให้แก่วงการสื่อสารโลกที่เริ่มจะมี "มือถือ" เป็นแพลตฟอร์มการสื่อสารที่สำคัญของมนุษยชาติ

ผู้สร้างตำนานซีดีเอ็มเอ
 "ดร.เออร์วิน มาร์ค จาคอบส์" ผู้ก่อตั้งบริษัท ควอลคอมม์ อินคอร์ปอเรทเต็ท และอดีตประธานกรรมการและประธานผู้บริหารสูงสุดในโอกาสพบปะสื่อมวลชนทั่วโลกในวาระครบรอบ 25 ปีการก่อตั้งบริษัท พร้อมกับลูกชาย "พอล จาคอบส์" ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและประธานผู้บริหารสูงสุด (ซีอีโอ) ยอมรับว่า โลกการสื่อสารพัฒนาไปรวดเร็วมาก ซึ่ง 25 ปีก่อนหน้าที่เขาร่วมก่อตั้งยังไม่มีใครรู้จักมือถือ จนกระทั่งปัจจุบันที่มือถือได้กลายเป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนวิถีชีวิตของคนอย่างมาก และเข้ามามีบทบาทต่อการติดต่อสื่อสารเนื่องจากคุณสมบัติที่สามารถพกพาติดตัวไปได้ทุกที่


 ขณะเดียวกันก็เป็นช่วงที่เขาเริ่มต้นสร้างบริษัทควอลคอมม์ด้วยเทคโนโลยี "ซีดีเอ็มเอ" ซึ่งเป็นการบุกเบิกเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายเคลื่อนที่ในระบบดิจิทัลยุคแรกๆ โดยการแปลงคำพูดเป็นข้อมูลแบบดิจิทัลและส่งผ่านข้อมูลในรูปของสัญญาณวิทยุไปบนเครือข่ายไร้สาย ก่อนจะได้รับการพัฒนาต่อยอดกลายมาเป็นระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ "3จี" ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้งานทั่วโลกมากกว่า 800 ล้านคน

 "3จีจะกลายเป็นแบ็กฮอลล์ขนาดใหญ่ และเป็นระบบส่วนสำคัญของการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือที่ใช้งานกันแพร่หลาย ขณะที่เทคโนโลยีขั้นกว่า หรือ 4จีในตอนนี้ก็จะเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้สื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตได้ด้วยแบนด์วิธที่กว้างขึ้น และครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น" ดร.เออร์วินว่า

จากโมบาย ชิพเซ็ตสู่ผู้นำเทคโนฯสื่อสาร
 อย่างไรก็ตามบทบาทของควอลคอมม์ ยุคที่ 3จีเริ่มเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น "ดร.เออร์วิน" บอกว่า บริษัทสามารถพัฒนาความสามารถของชิพเซ็ตให้รองรับแอพพลิเคชั่น หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะเกิดในอนาคต และทำให้เกิดระบบการสื่อสารไร้สายที่ดีขึ้น เพื่อประโยชน์ด้านต่างๆ โดยเฉพาะการปรับปรุง "ระบบเฮลธ์แคร์" เพื่อให้แพทย์สามารถใช้เป็นเครื่องมือรักษาทางไกลได้ รวมถึงการตรวจรักษาผู้ป่วยแบบเรียลไทม์ผ่านระบบสื่อสารไร้สายความเร็วสูง

 ขณะที่ซีอีโอควอลคอมม์ เสริมว่า นอกจากการประโยชน์ต่อวงการแพทย์แล้วก็ยังสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการศึกษาได้ด้วย เช่น การให้เด็กในพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงแลปท้อปที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้

 รวมถึงการปรับปรุงคุณสมบัติของมือถือเพื่อให้รองรับแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ รวมถึงสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนในปัจจุบัน เช่น ความนิยมใช้โซเชียล เน็ตเวิร์คกิ้ง ซึ่งก็สามารถใช้งานผ่านมือถือได้เช่นกัน

 "ควอลคอมม์ไม่ได้ผลิตชิพเซ็ตแต่เพียงอย่างเดียว แต่เรายังลงทุนกับการวิจัยและพัฒนาเพื่อคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งมีสิ่งใหม่ๆ และความต้องการใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น แอพพลิเคชั่นอย่างโฟว์สแคว์ ที่ใช้สำหรับการระบุสถานที่ที่อยู่ของผู้ใช้ ซึ่งก็เป็นไอเดียที่ไม่คิดมาก่อนว่าจะมีใครทำ" ซีอีโอควอลคอมม์ว่า

ชูนวัตกรรมนำหน้า
 ที่ผ่านมาเขาได้เริ่มพิสูจน์ให้เห็นด้วยไอเดียใหม่ๆ โดยเขาเป็นผู้ผลักดันให้เกิดนวัตกรรมที่ส่งผลดีต่อทั้งบริษัท และอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสมาร์ทโฟนเทคโนโลยี "จีพีเอสวัน" ซึ่งเป็นระบบการระบุสถานที่อยู่ของผู้ใช้, "ระบบปฏิบัติการบรูว์ (Brew)" เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสมาร์ทโฟนราคาต่ำได้ รวมถึงการพัฒนา "มีเดียโฟล (MediaFLO)" เทคโนโลยีสำหรับการดูทีวีส่วนตัว รวมถึง "มิราซอล" ซึ่งเป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีจอภาพยุคหน้าที่ใกล้ออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ในเร็วๆ นี้

 นอกจากนี้บริษัทก็ยังมีแนวทางการพัฒนาในอนาคตที่เน้นการมองไปข้างหน้า และทำสิ่งที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน ซึ่งก็เป็นไปได้ที่มือถือในยุคถัดไปจะเริ่มมีความสามารถรับรู้เสมือนกับมีประสาทสัมผัสทั้ง 6 เหมือนมนุษย์ในรูปแบบของ "ดิจิทัล ซิกเซนส์" เช่น ขณะที่เราเดินไปตามถนน มือถือจะคิด หรือประมวลผลเพื่อแสดงข้อมูลต่างๆ ไปตามทางที่คิดว่าเราน่าจะสนใจ

 ทั้งยังเชื่อว่ามือถือจะกลายเป็นอุปกรณ์ที่สามารถทำได้ทุกอย่างเหมือนกับการใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์

25 ปีถัดไป "อะไร" จะเกิดขึ้น
 อย่างไรก็ตามเมื่อถูกถามถึงควอลคอมม์อีก 25 ปีข้างหน้าดร.เออร์วิน ยอมรับว่า เป็นสิ่งที่ยังคาดเดาได้ยาก ซึ่งความจริงข้อหนึ่งคือ ตอนที่เริ่มก่อตั้งบริษัทเมื่อ 25 ปีที่ผ่านมาก็ยังไม่ได้วางแผนธุรกิจไว้ล่วงหน้า หากแต่แนวทางเดียวที่ยึดไว้คือ บริษัทมีเป้าหมายในการคิดค้นนวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งทำให้บริษัทเดินมาจนถึงวันนี้

 เช่นเดียวกับ "พอล" โดยเขายอมรับว่า คงตอบได้ยากว่าอีก 20 ปี หรือ 25 ปีบริษัทจะต้องมีแผนพัฒนาระบบปฏิบัติการ หรือแพลตฟอร์มใหม่ๆ อะไรออกมา แต่บริษัทก็คงยังต้องปรับปรุงพัฒนาเทคโนโลยีที่มีอยู่ให้ก้าวหน้าต่อไป ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงแพลตฟอร์ม "บรูว์" ที่เริ่มต้นจากแนวคิดที่ต้องการจะพัฒนาระบบปฏิบัติการสำหรับมือถือราคาต่ำให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น และทำให้ผู้คนทั่วโลกได้มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียมกัน

 "เราค่อนข้างโชคดีที่เป็นบริษัทที่มีวิชั่นที่แตกต่างจากบริษัทอื่นๆ คือไม่กำหนดเป้าหมายหรือการเติบโตที่ชัดเจน แต่เน้นความยืดหยุ่น และการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์อย่างใกล้ชิดกันมากขึ้น ซึ่งบริษัทเชื่อว่าเป็นข้อดีที่ทำให้เมื่อตลาดเปลี่ยน หรือเทคโนโลยีเปลี่ยน เราก็ยังสามารถเดินหน้าต่อไปได้" พอลทิ้งท้าย


 
ที่มา: bangkokbiznews.com

 


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)