Author Topic: รัฐเล็งผนึกเอกชนตั้งศูนย์ ออกแบบฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ  (Read 1227 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


รัฐเตรียมผนึกเอกชนตั้งดีไซน์ เซ็นเตอร์ และศูนย์วิจัยพัฒนาฮาร์ดดิสก์ ดันไทยสู่ศูนย์กลางการผลิต - ส่งออกฮาร์ดดิสก์แบบครบวงจรระดับโลก

รัฐเตรียมผนึกเอกชนตั้งดีไซน์ เซ็นเตอร์ และศูนย์วิจัยพัฒนาฮาร์ดดิสก์ ดันไทยสู่ศูนย์กลางการผลิต - ส่งออกฮาร์ดดิสก์แบบครบวงจรระดับโลก หลังขึ้นเบอร์ 1 โลก แหล่งส่งออกใหญ่สุด หนุนมูลค่าส่งออก 5 แสนล้านบาทต่อปี

นายอภินันท์ ธนชยานนท์ คณบดี วิทยาลัยร่วมด้านเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูล และการประยุกต์ใช้งาน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ปัจจุบัน ไทยยังมีแค่โรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์ แต่ยังไม่มีศูนย์ออกแบบ รวมถึงวิจัย และพัฒนา เมื่อเกิดปัญหาในการไลน์การผลิต บางครั้งต้องให้ผู้เชี่ยวชาญที่ดีไซน์ เซ็นเตอร์ ของต่างประเทศเข้ามาช่วยดู และตรวจสอบซึ่งต้องใช้ระยะเวลามาก ไม่สะดวก

ดังนั้น จึงมีแผนใช้งบอุดหนุนจากภาครัฐ ผ่านกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เฟสที่ 2 ปี 2554 - 2558 ปีละ 150 ล้านบาท มาเริ่มทำในรูปแบบการวิจัย และพัฒนาร่วมกับภาคเอกชน โดยอาจร่วมกันตั้งศูนย์การออกแบบ (ดีไซน์ เซ็นเตอร์) เพิ่มขึ้น ทำให้ไทยเป็นศูนย์ออกแบบครบวงจร

จากเดิมงบอุดหนุนเฟสแรก ถึงปีนี้เป็นปีที่ 5 รวมเกือบ 800 ล้านบาท ใช้ผลิตบุคลากรด้านฮาร์ดดิสก์โดยมหาวิทยาลัยของรัฐกว่า 10 แห่ง โดยผลิตออกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 แสนคน คาดว่าแต่ละมหาวิทยาลัยจะผลิตเพิ่มอีกไม่ต่ำกว่าปีละ 10%

นายกิตติ ตีรเศรษฐ อธิการบดี สจล. กล่าวในงาน ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ เอ็กซ์โป 2010 ว่า ปัจจุบันประเทศไทยถือเป็นฐานการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีมูลค่าการส่งออกกว่า 5 แสนล้านบาทต่อปี ดังนั้น จำเป็นต้องส่งเสริม และสร้างความเข้มแข็งเพิ่มขึ้นแก่อุตสาหกรรม

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาได้จัดตั้งสถาบัน HDDI อยู่ภายใต้ สวทช. และร่วมมือกับวิทยาลัยร่วมด้านเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูล และการประยุกต์ใช้งาน สจล. จัดฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์ ร่วมผลิตนักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก พร้อมทั้งให้การสนับสนุนทุนวิจัยด้านฮาร์ดดิสก์ ซึ่งปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยของรัฐหลายแห่งเข้าร่วมกำหนดวิชาแทรกด้านฮาร์ดดิสก์เข้าไว้ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ส่วน สจล. มจธ. และมหาวิทยาลัยขอนแก่นกำหนดเป็นหลักสูตรปริญญาโท และเอกแล้ว

ขณะที่ นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ รองประธานบริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล ประเทศไทย จำกัด (ดับบลิวดี) กล่าวว่า ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ในไทย 4 แบรนด์หลัก ได้แก่ ซีเกท ดับบลิวดี ฮิตาชิ และโตชิบา ครองสัดส่วนกว่า 60% ของการส่งออกฮาร์ดดิสก์ทั่วโลก โดยฮาร์ดดิสก์เซ็กเมนท์ที่จะเติบโตมากสุด ได้แก่ กลุ่ม "โมบาย" ที่ใช้ในโน้ตบุ๊ค และกลุ่มเพอร์ซันนัล หรือแบบพกพา คาดว่าจะโตกว่า 10-15% ต่อปี

"ส่วนตลาดไทย ตอนนี้มีตัวเลขแค่ว่า คนไทยบริโภคฮาร์ดดิสก์ประมาณ 0.1% ของมูลค่าการส่งออก หรือประมาณ 6 แสนไดร์ฟต่อปี ดังนั้นตลาดยังขยายตัวได้อีกมาก"

นายนคร ตั้งสุจริตพันธ์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายบริหาร บริษัท ฮิตาชิ จีเอสที (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การประเมินอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ตั้งแต่ปี 2552-2555 คาดว่าทั่วโลกจะเติบโตประมาณ 14% หรือมีจำนวนการผลิตมากกว่า 800 ล้านชิ้น โดยกลุ่มที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นกลุ่มฮาร์ดดิสก์สำหรับโมบาย โน้ตบุ๊ค เน็ตบุ๊ค ที่คาดว่าจะเติบโตกว่า 25% หรือมีจำนวนการผลิตกว่า 400 ล้านชิ้น รองลงมาเป็นเพอร์ซันนัล สตอเรจ โต 18% หรือมีจำนวนการผลิต 100 ล้านชิ้น

กลุ่มฮาร์ดดิสก์ สำหรับเอ็นเตอร์ไพร์ซ โต 9% จำนวนการผลิต 50 ล้านชิ้น กลุ่มคอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ โต 8% จำนวนการผลิต 80 ล้านชิ้น ขณะที่ ฮาร์ดดิสก์สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเติบโตน้อยสุดแค่ 1% แต่ฐานยังใหญ่ ด้วยจำนวนการผลิต 200 ล้านชิ้น

ที่มา: bangkokbiznews.com


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)