Author Topic: เสียบ - ต่อ - ติดเน็ตดัน "แอร์การ์ด" ติดจรวด  (Read 1483 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai



    - ตลาดแอร์การ์ดพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ หลังกระแสการใช้งานพุ่งพรวด
       - เอไอเอส ดีแทค ทรูมูฟ เปิดศึกดูดผู้บริโภคนิยมเสียบต่อติดอินเทอร์เน็ตปิดทางรายเล็ก
       - แนวโน้มความนิยมโตแบบก้าวกระโดดเมื่อ 3G เต็มรูปแบบเปิดฉากให้บริการ
       - ปรากฏการณ์ครั้งใหม่ของไวร์เลสอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
       
       กระแสความตื่นตัว "โซเชียลเน็ตเวิร์ก" ในประเทศไทยมีการประเมินคร่าวๆ ขณะนี้มากกว่า 3 ล้านคน เพียงแค่ในระยะเวลา 2 ปี ส่งผลให้ความต้องการเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมี "โมบายอินเทอร์เน็ต" เป็นเทคโนโลยีทางเลือกสำหรับผู้ใช้โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ ที่ปัจจุบันมียอดขายถึง 1.9 ล้านเครื่องต่อปี ปัจจัยดังกล่าวทำให้ตลาด "แอร์การ์ด" ซึ่งเป็นโมเด็มขนาดเล็กที่ใช้ "ซิมมือถือ" เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
       
       "แอร์การ์ดโตไม่ต่างจากการเติบโตของตลาดพีซีและโน้ตบุ๊ก เชื่อว่าตลาดนี้นับวันจะยิ่งเติบโตขึ้นเรื่อยๆ" ปรัธนา ลีลพนัง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สำนักบริการเสริม บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าว
       
       เมื่อมองถึงจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยนั้นเพิ่มอย่างรวดเร็ว ปีที่แล้วคาดว่าจะมีผู้ใช้ประมาณ 5 แสนราย แต่สำหรับปี 2553 ช่วง 6 เดือนแรกมีผู้ใช้โมบายอินเทอร์เน็ตกว่า 8 แสนราย ซึ่งเชื่อว่า ปลายปีนี้คนใช้อินเทอร์เน็ตน่าจะเกิน 1 ล้านคนอย่างแน่นอน
       
       และปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ส่งผลให้ "แอร์การ์ด" เป็นที่ต้องการอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเน็ตเวิร์กที่มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพรวดเร็วยิ่งขึ้น ประกอบกับราคาแอร์การ์ดขณะนี้ไม่ถึง 1,000 บาทก็สามารถหาซื้อได้แล้ว จากอดีตที่ราคาของแอร์การ์ดเริ่มต้นที่หมื่นกว่าบาท
       
       โมเดลการทำธุรกิจแอร์การ์ดวันนี้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างสิ้นเชิง กำลังเป็นยุค "โอเปอเรเตอร์ดีไวซ์" อย่างชัดเจน เห็นได้ชัดว่าทางเอไอเอสได้กระโดดเข้ามาทำธุรกิจในตลาดนี้ก่อนผู้ให้บริการรายอื่นๆ เนื่องจากเห็นโอกาสที่ตลาดแอร์การ์ดน่าจะเติบโต และเมื่อตลาดเติบโตขึ้นจริงๆ ในปีนี้ ก็ทำให้ดีแทคกระโดดเข้าสู่ตลาดนี้เป็นรายที่สอง และในที่สุดทรูมูฟก็ไม่อาจปฏิเสธที่จะเข้ามาทำตลาดแอร์การ์ดด้วยเช่นกัน
       
       "เราต้องมองหาดิจิตอลดีไวซ์ที่จะเข้ามาตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้ใช้โมบายอินเทอร์เน็ต ที่สำคัญการทำตลาดแอร์การ์ดมีผลโดยตรงต่อการเพิ่มยอดรายได้ดาต้าของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกราย"
       
       จากข้อมูลสำรวจตลาดของ Nectech ประเมินตัวเลขตลาดของแอร์การ์ดในประเทศไทยปีนี้ไว้ว่า จะมีประมาณ 850,000 ชิ้น เติบโตถึง 52% เมื่อเทียบกับปี 2552 ที่มีประมาณ 560,000 ชิ้น
       
       หากมองการทำตลาดแอร์การ์ดในปัจจุบัน ผู้เล่นในตลาดแอร์การ์ดจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ตลาด ประกอบด้วยตลาดแรกเป็นตลาดแอร์การ์ดภายใต้แบรนด์โอเปอเรเตอร์ประกอบไปด้วย เอไอเอส กับดีแทค และกำลังจะมีแบรนด์ทรูมูฟ ส่วนตลาดที่สองเป็นตลาดแบรนด์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แซดทีอี ไอฟ็อกซ์ หัวเหว่ย รวมไปถึงแอร์การ์ดเกตมาร์เกตที่หิ้วเข้ามาทำตลาดอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบรนด์เล็กๆ จากประเทศจีน
       
       ทั้งสองตลาดมีรูปแบบการทำตลาดที่แตกต่างกัน โดยที่ตลาดแอร์การ์ดแบรนด์ต่างๆ เป็นตลาดที่มีการแข่งขันกันค่อนข้างรุนแรง สู้กันด้วยคุณภาพสินค้าและราคา ซึ่งแบรนด์จากประเทศจีนได้เปรียบในเรื่องราคาที่ถูกกว่า แต่มักจะมีปัญหาเรื่องคลื่นความถี่ที่ไม่เหมือนกับประเทศไทย ที่ปัจจุบันผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยมีให้บริการอยู่ 3 คลื่นความถี่ ประกอบไปด้วยคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ของไอเอเอส คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ของดีแทค ทรูมูฟ และคลื่น 2,100 เมกะเฮิรตซ์ที่เป็น 3จี ของทีโอที
       
       ส่วนการทำตลาดแอร์การ์ดของโอเปอเรเตอร์นั้น ก็จะมีลักษณะของการขายแอร์การ์ดพร้อมเน็ตซิมที่มีแพกเกจให้เลือกใช้ โดยสามารถนำไปใช้งานได้ทันที นอกจากนี้ยังมีในส่วนการทำตลาดเน็ตซิมที่ใช้งานกับแอร์การ์ดที่ผู้ใช้บริการซื้อหามาเอง
       
       อย่างแอร์การ์ดใหม่ล่าสุดของเอไอเอส AIS 3G Aircard นั้นมาพร้อมกับโปรแกรม AIS Widget ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบปริมาณการใช้งานดาต้าแพกเกจ ยอดเงินคงเหลือ เติมเงินหรือซื้อแพกเกจ GPRS/EDGE/3G ได้ทันทีโดยไม่ต้องเอาซิมออกให้ยุ่งยากอีกต่อไป โดยมีให้เลือก 2 รุ่น ได้แก่ AIS Aircard 7.2 Mbps และ AIS Aircard 3.6 Mbps เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในการใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ต
       
       สำหรับราคาของเอไอเอสแอร์การ์ดนั้น AIS Aircard 7.2 Mbps ราคา 3,690 บาท แถมเล่นอินเทอร์เน็ตฟรี 6 เดือน เดือนละ 50 ชั่วโมง ส่วน AIS Aircard 3.6 Mbps ราคา 3,290 บาท แถมเล่นอินเทอร์เน็ตฟรี 6 เดือน เดือนละ 50 ชั่วโมง และราคาเบาๆ เพียง 2,700 บาท แถมเล่นอินเทอร์เน็ตฟรี 1 เดือน เดือนละ 50 ชั่วโมง
       
       ดีแทคแอร์การ์ด 3G
       เอาใจคนชอบออนไลน์
       
       ดีแทคลงตลาดแอร์การ์ดอย่างเต็มตัวหลังจากปล่อยให้คู่แข่งอย่างเอไอเอสทำตลาดอย่างคึกคักมาพักใหญ่ โดยดีแทคเอาใจยุคโซเชียลเน็ตเวิร์กและสังคมออนไลน์ ด้วยดีแทคการ์ดรุ่น dtac aircard flip 158 ให้ออนไลน์ต่ออินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ และยังพร้อมรองรับการใช้งาน 3G รวมถึงฟังก์ชั่นการทำงานใหม่ๆ ด้วยจุดเด่นที่หัว USB แบบพับได้ ทำให้สะดวกกับการใช้งาน และรับสัญญาณได้ดีขึ้น เมื่อปรับแอร์การ์ดอยู่ในแนวตั้ง ทั้งยังมีฟังก์ชั่น RX diversity ที่ช่วยให้การรับสัญญาณบริเวณขอบสัญญาณและช่วงรอยต่อของพื้นที่ได้ดีขึ้น มีความเสถียรยิ่งขึ้น
       
       ดีแทคได้เตรียมจัดสรรช่องสัญญาณสำหรับการรับส่งข้อมูลโดยเฉพาะสำหรับผู้ใช้งานแอร์การ์ด และการใช้งานที่ง่ายๆ ด้วยการ Install โปรแกรมแบบอัตโนมัติ (Plug/Play) รับประกันสินค้านาน 1 ปี และสามารถเปลี่ยนคืนสินค้าใหม่ได้ภายใน 30 วัน โดยมาพร้อมกับซิมดีแทค ฟรีชั่วโมงอินเทอร์เน็ตถึง 300 ชั่วโมง สำหรับดีแทคแบบรายเดือน เพียง 2,990 บาท หรือ 60 ชั่วโมงสำหรับแฮปปี้แบบเติมเงิน เพียง 2,700 บาท ผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายที่สำนักงานบริการลูกค้า ดีแทคเซ็นเตอร์ และร้านค้าไอทีทั่วประเทศ


ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
7546 Views
Last post February 14, 2009, 12:00:18 AM
by Webmaster
0 Replies
6218 Views
Last post March 03, 2009, 06:05:12 PM
by Reporter
0 Replies
2400 Views
Last post April 29, 2009, 11:26:27 AM
by Reporter
0 Replies
5094 Views
Last post May 03, 2009, 05:52:53 PM
by IT
0 Replies
2754 Views
Last post June 03, 2009, 01:07:14 PM
by IT
0 Replies
3879 Views
Last post August 28, 2009, 09:43:46 AM
by IT
0 Replies
4922 Views
Last post February 24, 2010, 08:43:26 AM
by Nick
0 Replies
3278 Views
Last post June 02, 2010, 02:52:50 PM
by Nick
0 Replies
7498 Views
Last post June 10, 2010, 02:08:06 PM
by Nick
0 Replies
5588 Views
Last post July 16, 2010, 10:18:47 PM
by Nick