Author Topic: เอกชนชี้ กม. ธุรกรรมฯ ช่วยสกัดฟอกเงิน  (Read 915 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Offline Reporter

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1093
  • Karma: +8/-0
  • Gender: Male
    • ซ่อมคอมเชียงใหม่

เอกชนชี้กฏหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สร้างความมั่นใจผู้ประกอบการ คาดดันผู้ใช้บริการเพิ่ม ช่วยสกัดมิจฉาชีพไฮเทคใช้เป็นแหล่งฟอกเงิน

 นางสาวลัดดา แจ้งเกษมสุข ผู้อำนวยการสำนักธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้เมื่อ 14 ม.ค. 2552 ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการอยู่เดิม ต้องยื่นแบบแจ้งกับ ธปท. ให้เสร็จวานนี้ (16 มี.ค.) มิฉะนั้นจะให้บริการได้ถึงวันที่ 13 พ.ค. เท่านั้น


 อีกทั้งจะไม่ขยายเวลาผ่อนผัน หากรายเดิมต้องการให้บริการคงต้องจดทะเบียนบริษัทใหม่ แล้วมาลงทะเบียนขออนุญาต


 ก่อนหน้านี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า มูลค่าการซื้อขายออนไลน์ในปี 2552 จะมีมูลค่าประมาณ 30,000-39,000 ล้านบาท หรือขยายตัวประมาณ 20-30%


 นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาด ดอท คอม จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้ยื่นเรื่องยังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยืนยันการเป็นผู้ให้บริการธุรกรรมออนไลน์ผ่านเวบไซต์อีคอมเมิร์ซแล้ว ตามขั้นตอนพ.ร.ฎ. ดังกล่าว


 เขาเห็นว่า กฏหมายนี้จะเป็นตัวควบคุมผู้ให้บริการด้านอี-เพย์เม้นท์ให้บริการอย่างรัดกุม และตรวจสอบได้มากขึ้น เพราะที่ผ่านช่องทางธุรกรรมออนไลน์มักเป็นแหล่งของการฟอกเงิน


 "ขณะนี้การทำธุรกรรมการเงินจะผ่านนอนแบงก์ ประเภทเพย์เม้นท์ เกตเวย์เยอะมาก และนอนแบงกก็เริ่มมีเพิ่มมากขึ้นในไทยทั้งคนไทยให้บริการเอง อย่างของผมก็มี TARADpay, หรืออย่างดีแทคที่มีเพย์สบาย, ทรู มันนี่ เอ็มเปย์ ยิ่งในต่างประเทศ ก็มีมากนับไม่ถ้วนซึ่งจะไปตามต่างประเทศคงลำบากมาก หากมี พ.ร.ฏ.ดังกล่าว จะทำให้สามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้น"


 ปัจจุบัน ผู้ประกอบการบางรายได้หันไปใช้เพย์เม้นต์ เกตเวย์ของต่างประเทศมากขึ้น เพราะมีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า


 "สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ รัดกุมกับคนไทยมาก แต่ต้องระวังผู้ประกอบการไทยจะหันไปใช้เมืองนอกกันเยอะขึ้น เพราะไม่เคร่งมาก และค่าใช้จ่ายถูกกว่า ค่าธรรมเนียมต่ำกว่า ถ้าเทียบกัน"


 นายสมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เพย์สบาย จำกัด ในเครือดีแทค กล่าวว่า บริษัทได้ยื่นเอกสารไปแล้วตามขั้นตอน ซึ่งพ.ร.ฏ.ฉบับนี้จะช่วยให้การทำธุรกรรมด้านการเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นไปอย่างถูกต้อง และผู้ประกอบการก็ทำธุรกิจคล่องตัวขึ้นด้วย ขณะที่ผู้บริโภคก็จะทำธุรกรรมออนไลน์อย่างมั่นใจขึ้น เพราะตรวจสอบที่มาที่ไปได้ หากเกิดการกระทำความผิดขึ้น กฏหมายนี้จะทำให้คนหันมาใช้บริการธุรกรรมออนไลน์เพิ่มขึ้น


 นายสุปรีชา ลิมปิกาญจนโกวิท กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้ยื่นเอกสารไปแล้ว ตามขั้นตอนของ ธปท.


 "ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นการกำหนดมาตรฐานของผู้ประกอบการ เพื่อรับประกันว่าบริษัทผู้ให้บริการมั่นคง น่าเชื่อถือ เป็นการลดความเสี่ยงให้ลูกค้า ส่วนผู้ประกอบการ เมื่อมีการตั้งมาตรฐานในเรื่องกฎ ระเบียบ แผนงานและกระบวนการตรวจสอบที่ชัดเจน ก็ทำให้น่าเชื่อถือในสายตาของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น" นายสุปรีชา กล่าว


ที่มา: bangkokbiznews.com


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)