รู้จัก! โควิด 19 สายพันธุ์ JN.1 แพร่เชื้อเร็ว อาการคล้ายหวัด โควิดสายพันธุ์ JN.1 (รุ่นลูกของโอมิครอน BA.2.86) สายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน อาการไม่แตกต่างจากเดิม แต่หลบภูมิคุ้มกันเก่ง และแพร่เชื้อกระจายได้อย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัด และโรคระบบทางเดินหายใจ
สังเกตอาการของผู้ป่วยโควิด JN.1
⚠ ปวดศีรษะ
⚠ ไอ มีเสมหะ
⚠ไข้สูง มีน้ำมูก
⚠ ปวดเมื่อยตามร่างกาย
เช็กอาการป่วย… ไข้หวัดใหญ่ – ไข้เลือดออก – โควิด19 อาการเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
9 กลุ่มผู้ป่วย ที่หากติดโควิดเสี่ยงมีอาการรุนแรง กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเหล่านี้ หากติดโควิด-19 มีความเสี่ยงอาการหนัก โดยเกือบทุกรายมีอาการรุนแรงและถึงขั้นเสียชีวิต
โรคความดันโลหิตสูง
โรคไขมันในเลือดสูง
โรคเบาหวาน
โรคหัวใจ เส้นเลือดหัวใจตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
โรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยฟอกไต และปลูกถ่ายไต
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหอบหืด ปอดอักเสบเรื้อรัง
โรคมะเร็ง
โรคอ้วน
COVID-19 กับ โรคเบาหวาน อันตรายอย่างไร?
คนที่คุณรักมีโรคประจำตัวที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้หรือไม่? อย่าลืมดูแลและระมัดระวังตนเอง เพราะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว นอกจากประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะในร่างกายมีความเสื่อมลง ภูมิคุ้มกันในร่างกายก็ลดลงด้วย ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงสูง หากติดเชื้อโควิด-19 อาจมีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไปและถึงขั้นเสียชีวิตได้
สำหรับคำแนะนำในการดูแลป้องกันตนเองยังคงเหมือนเดิมเหมือนอย่างที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว อย่าลืม!
ใส่หน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี โดยใส่ให้แนบหน้าครอบตั้งแต่จมูกถึงคาง
หลีกเลี่ยงการสัมผัสหน้ากากในระหว่างวัน และเปลี่ยนหน้ากากอนามัยบ่อยๆ
หมั่นล้างมืออยู่เสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ