Entertainment > Horoscope

รถแลกเงิน: ร้อนเงินดูทางนี้! "มีรถ" แต่อยากเปลี่ยนเป็นเงินสดมาหมุน ขอสินเชื่ออย่

(1/1)

siritidaporn:
รถแลกเงิน: ร้อนเงินดูทางนี้! "มีรถ" แต่อยากเปลี่ยนเป็นเงินสดมาหมุน ขอสินเชื่ออย่างไรได้บ้าง?

ใครตกอยู่ในภาวะร้อนเงิน! กำลังอยากได้เงินสดมาหมุน แล้วคิดว่าน่าจะนำรถคันคู่ใจที่ใช้อยู่เป็นประจำมาแปลงเป็นเงินสดในยามเข้าตาจนเช่นนี้ ขอบอกว่าคุณคิดมาได้ถูกทางแล้วค่ะ ทางหนึ่งคือขายขาดไปเลยแล้ววันข้างหน้าค่อยหาซื้อใหม่ ส่วนอีกทางก็คือเดินเข้าไปขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน โดยนำรถยนต์ รถกระบะ รถบรรทุก หรือมอเตอร์ไซค์คันโปรดไปเป็น "หลักประกัน" การชำระหนี้ ซึ่งวันนี้ก็ได้รวบรวมทางเลือกในการขอสินเชื่อโดยใช้รถเป็นตัวช่วยมาฝากกันด้วยล่ะค่ะ จะเป็นอย่างไรนั้น เราไปดูพร้อมกันเลย!

กรณีที่ 1 : มีรถ และรถไม่ติดหนี้อะไร
หากเราจะนำรถประเภทนี้ไปขอสินเชื่อ ชื่อในทะเบียนรถคันดังกล่าวจะต้องเป็นชื่อของเราแล้วนะคะ ทั้งนี้ แต่ละสถาบันการเงินอาจตั้งชื่อเรียกผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่ใช้ "รถ" เป็นหลักประกันนี้แตกต่างกันออกไป เช่น "สินเชื่อรถแลกเงิน" หรือ "สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ" (รวมทั้งชื่ออื่นๆ เช่น สินเชื่อรถกู้เงินด่วน สินเชื่อรถคือเงิน ฯลฯ ตามที่สถาบันการเงินต่างๆ ตั้งขึ้น) ซึ่งเราสามารถนำรถที่ไม่มีภาระหนี้ไปขอสินเชื่อได้ 2 วิธี ดังนี้


1.1 ขอสินเชื่อ โดยโอนเล่มทะเบียนรถ
หลักการของการกู้สินเชื่อด้วยวิธีนี้ก็คือ การนำ "เล่มทะเบียน" ของรถที่ปลอดภาระหนี้ไปจำนำ (ส่งมอบให้เก็บไว้) พร้อมทั้งโอนเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถในเล่มทะเบียนให้เป็นชื่อสถาบันการเงินผู้ปล่อยกู้ และหลังจากได้รับเงินกู้มาแล้วก็ยังสามารถนำรถคันนั้นมาใช้ได้ตามปกติ (ต่างจากการจำนำทั่วไปที่ต้องส่งมอบรถหรือสิ่งของให้ไปอยู่ในความครอบครองของผู้รับจำนำ และจะได้รับของคืนต่อเมื่อชำระหนี้คืนครบถ้วนแล้วค่ะ) จนกระทั่งเมื่อเราได้ชำระหนี้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยได้ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว ชื่อในทะเบียนรถก็จะถูกโอนกลับมาเป็นชื่อเราดังเดิม

1.2 ขอสินเชื่อ โดยไม่โอนเล่มทะเบียนรถ

สถาบันการเงินหลายแห่งได้เพิ่มทางเลือกให้สำหรับลูกค้าที่ต้องการใช้รถเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อ แต่ไม่ต้องการโอนเล่มทะเบียน เช่น สินเชื่อกรุงศรี คาร์ฟอร์แคช "โปะ" จาก ธ.กรุงศรีอยุธยา หรือ สินเชื่อรถกู้เงินด่วน แปะโป้ง จาก ธ.เกียรตินาคิน เป็นต้น ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้โอนเล่มทะเบียน แต่เรายังคงต้องส่งมอบเล่มทะเบียนนั้นให้สถาบันการเงินเก็บไว้ จนกว่าจะชำระหนี้ได้ครบตามจำนวนเช่นเดียวกันนะคะ


เปรียบเทียบกันชัดๆ สินเชื่อที่ใช้รถเป็นหลักประกัน แบบโอนเล่ม VS ไม่โอนเล่ม

                                 สินเชื่อที่ใช้รถเป็นหลักประกัน                      สินเชื่อที่ใช้รถเป็นหลักประกัน
                                 แบบโอนเล่มทะเบียนรถ                               แบบไม่โอนเล่มทะเบียนรถ                       
           
ประเภทสัญญา             สัญญาเช่าซื้อ (Hire Purchase)                        สัญญาเงินกู้ (Loan)
                        (เช่นเดียวการไปผ่อนซื้อรถยนต์มือหนึ่ง/มือสอง)

ชื่อในเล่มทะเบียนรถ    ถูกโอนเป็นชื่อของสถาบันการเงิน /                    ยังคงเป็นชื่อของผู้กู้
                                         บริษัทผู้ให้เช่าซื้อ
         
การคิดดอกเบี้ย              แบบอัตราคงที่ (Flat Rate)                            แบบลดต้นลดดอก (Effective Rate)
                  อัตราดอกเบี้ยถูกกว่าการขอสินเชื่อแบบไม่โอนเล่มทะเบียน     อัตราดอกเบี้ยแพงกว่าการขอสินเชื่อแบบโอนเล่มทะเบียน 
                                   และสินเชื่อส่วนบุคคล                                   แต่ถูกกว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน

การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม      เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ในการผ่อนชำระทุกงวด    ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ในการผ่อนชำระแต่ละงวด
                           
กรณีการผิดสัญญา  ผิดสัญญาถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อเป็นเวลา 3 งวดติดกัน      เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้/สถาบันการเงินต้องฟ้องร้องเป็นคดีความ
                                และเพิกเฉยกับหนังสือบอกกล่าวเป็นเวลา 30 วัน                   เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ย
                                                                                                                    โดยสามารถบังคับชำระหนี้จากรถยนต์ที่ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
                เมื่อผิดสัญญา ผู้ให้เช่าซื้อสามารถบอกเลิกสัญญา และเข้าครอบครองรถ (ยึดรถ)      ให้ศาลมีค่ำสั่งยึดทรัพย์แล้วนำไปขายทอดตลาด
เพื่อนำออกขายทอดตลาด และยังสามารถฟ้องเรียกให้ชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระคืนได้อีกด้วย   หากมูลค่ารถยังไม่พอชำระหนี้ก็สามารถบังคับชำระหนี้เ
            ลูกหนี้ผิดนัด เมื่อไม่ชำระหนี้ตามกำหนดที่ตกลงกัน                                                  อาจากทรัพย์อื่นของลูกหนี้ได้อีก


กรณีที่ 2 : มีรถ แต่รถติดไฟแนนซ์อยู่
รถใครที่ยังติดไฟแนนซ์อยู่ แต่ต้องการใช้เงินด่วนจริงๆ ก็อย่าเพิ่งสิ้นหวังกันไปค่ะ เพราะเราสามารถนำรถคันดังกล่าวไปทำสัญญาเช่าซื้อใหม่ (รีไฟแนนซ์) ได้ทั้งกับสถาบันการเงินเดิม หรือสถาบันการเงินแห่งใหม่ แต่จะต้องขอวงเงินสินเชื่อให้มากกว่ายอดหนี้คงเหลือ (โดยจำนวนเงินส่วนต่างควรมากกว่ายอดเงินที่จะใช้จริงเล็กน้อย) จากนั้นก็นำเงินส่วนหนึ่งไปโปะหนี้ปิดสัญญาเช่าซื้อเดิม เพื่อย้ายมาเริ่มนับหนึ่งอีกครั้งกับสัญญาเช่าซื้อรถยนต์สัญญาใหม่ ส่วนเงินส่วนต่างที่เหลือจากการปิดยอดหนี้ก็นำไปเป็นเงินทุนหมุนเวียน หรือเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นตามที่ต้องการ

ทั้งนี้ บางคนอาจขอรีไฟแนนซ์รถยนต์เพื่อลดภาระหนี้ เช่น ขอลดอัตราดอกเบี้ยลง ขอผ่อนต่องวดน้อยลงและยืดระยะเวลาการผ่อนให้นานขึ้นก็ได้เช่นกันค่ะ ซึ่งหากเราปิดยอดหนี้สัญญาเช่าซื้อเดิมก่อนกำหนดแล้วล่ะก็...ทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ประกาศว่า ผู้ให้เช่าซื้อจะต้องลดอัตราดอกเบี้ยที่เหลือให้ในอัตรา 50% ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระด้วยล่ะค่ะ แต่เราอาจต้องเสียค่าธรรมเนียมในส่วนอื่นเพิ่มเติม เช่น ค่าธรรมเนียมการปิดยอดหนี้ก่อนกำหนด ค่าโอนเล่มทะเบียนกรณีย้ายไปเป็นชื่อสถาบันการเงินแห่งใหม่ ซึ่งตรงนี้ก็เป็นข้อที่ควรนำมาพิจารณาเปรียบเทียบความคุ้มค่ากันให้ดีด้วยนะคะ


ต้องการขอสินเชื่อโดยใช้รถเป็นหลักประกัน เตรียมตัวอย่างไร?


1. ตรวจสอบเงื่อนไขการให้สินเชื่อของแต่ละสถาบันการเงิน
ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการปล่อยกู้สินเชื่อที่ใช้รถเป็นหลักประกัน เช่น สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ, สินเชื่อรถแลกเงินของสถาบันการเงินแต่ละแห่งอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างค่ะ เช่น จำกัดประเภทรถ รับเฉพาะรถเก๋งและรถกระบะเท่านั้น (บางแห่งอาจรับรถบรรทุก, รถแทรกเตอร์ด้วย) หรือจำกัดปีรถเอาไว้ ไม่เกิน 14 - 17 ปี ดังนั้นรถปีเก่าๆ ที่เกินจากนี้ก็ไม่สามารถนำไปใช้เป็นหลักประกันได้ค่ะ


2. แสดงให้เห็นว่าเรามีความสามารถในการชำระหนี้
ก่อนปล่อยกู้สินเชื่อทุกประเภท ธนาคารย่อมต้องตรวจสอบความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้เป็นสำคัญ เราจะต้องทำให้ธนาคารมั่นใจว่ามีความสามารถพอที่จะชำระหนี้ได้ เช่น มีรายได้แน่นอน สม่ำเสมอ มีประวัติการชำระหนี้ที่ดี ไม่มีภาระหนี้สินเกินกว่า 40% ของรายได้ เป็นต้น


3. เตรียมเอกสารให้พร้อม
ขั้นตอนการเตรียมเอกสารนับเป็นอีกเรื่องที่ควรใส่ใจค่ะ ผู้ขอสินเชื่อควรเตรียมเอกสารเอาไว้ให้พร้อม เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อของธนาคาร เช่น เอกสารแสดงข้อมูลส่วนตัว บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน เอกสารแสดงรายได้ หนังสือรับรองเงินเดือน เอกสารการเดินบัญชีย้อนหลัง (หากเป็นผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ก็ควรเตรียมหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรืองบการเงินย้อนหลังไว้ด้วยนะคะ) และอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลย คือ เอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์คันที่เราจะใช้เป็นหลักประกันนั่นเอง ทั้งนี้ ควรตรวจสอบกับสถาบันการเงินให้ชัดเจนด้วยนะคะ ว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ใช้ตัวจริง หรือสำเนาจำนวนเท่าไร


4. ยื่นเรื่องขอสินเชื่อและตรวจสภาพรถ
เมื่อเรายื่นขอสินเชื่อไปแล้ว สถาบันการเงินก็จะขอตรวจสอบสภาพรถคันที่จะใช้เป็นหลักประกัน เพื่อนำไปประเมินราคา คิดดอกเบี้ย และคำนวนยอดเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยที่เราจะต้องจ่ายในแต่ละงวดมาให้ค่ะ แนะนำว่าให้ขอวงเงินมากกว่าจำนวนเงินที่ต้องการใช้จริงไปสักหน่อย เพราะทางสถาบันการเงินจะหักค่าธรรมเนียมในการดำเนินการต่างๆ ออกจากวงเงินที่เราได้รับ แล้วจึงโอนเงินส่วนที่เหลือมาให้ค่ะ

อย่างไรแล้ว การกู้สินเชื่อโดยใช้รถยนต์เป็นหลักประกัน ควรเป็นการกู้เพื่อนำเงินมาหมุนเวียนเพียงระยะสั้น และเราแน่ใจว่าจะสามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญาเท่านั้นนะคะ เพราะรถยนต์ก็เป็นทรัพย์ที่นำมาซึ่งภาระค่าใช้จ่าย ทั้งค่าน้ำมัน ค่าบำรุงรักษา และค่าผ่อนในแต่ละงวดอีกด้วย หากเห็นแนวโน้มว่าตัวเองไม่มีกำลังจะชำระหนี้สินเชื่อนั้นได้ ก็อาจลองพิจารณาขายเพื่อนำเงินก้อนมาใช้ก่อน หากภายหลังภาระค่าใช้จ่ายลดน้อยลงแล้วก็ค่อยรวบรวมเงินไปซื้อรถอีกครั้งจะดีกว่าค่ะ

Navigation

[0] Message Index

Go to full version