Author Topic: โรคหัวใจมีกี่ประเภท ? มีอาการแบบไหนบ้างที่หลายคนยังไม่รู้  (Read 138 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline siritidaporn

  • Pro Member
  • *
  • Posts: 810
  • Karma: +0/-0

เรามักที่จะได้ยินข่าวว่ามีดารานักแสดง บุคคลที่มีชื่อเสียง หรือคนใกล้ตัวเสียชีวิตแบบกระทันหัน โดยที่บางคนยังอายุน้อยๆ อยู่เลย สถิติการเสียชีวิตทั่วโลกโดยเฉพาะในประเทศไทยโรคหัวใจ หรือที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Heart Attack เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ที่ทำให้คนเสียชีวิตในแต่ละปีเยอะที่สุด ต่อให้เป็นคนที่ดูแข็งแรง มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่าเพิ่งชะล่าใจไปเพราะว่าโรคหัวใจสามารถที่จะเกิดขึ้นกับใครเมื่อไหร่ก็ได้โรคหัวใจมีอะไรบ้าง เกิดจากสาเหตุอะไร ? เราไปดูพร้อมๆ กันเลย

 
1. หลอดเลือดหัวใจตีบตัน

     โรคหลอดเลือดหัวใจหรือภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เป็นหนึ่งในประเภทของโรคหัวใจที่พบเจอได้บ่อยมากที่สุด ตั้งแต่เข้าสู่ช่วงวัยรุ่นก็เริ่มที่จะเจอกับโรคนี้ได้แล้ว ปกติกล้ามเนื้อหัวใจของคนเรา ต้องอาศัยอาหาร และออกซิเจนมาเลี้ยงหัวใจ ถ้าหากเกิดอาการตีบตันขึ้นมาหัวใจก็จะขาดอาหารและออกซิเจน ทำให้หัวใจทำงานไม่ได้ตามปกติ ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าหัวใจขาดเลือด และอาจจะร้ายแรงจนถึงขั้นหัวใจวาย ส่งผลให้รู้สึกแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย จุกแน่น เสียด หรือแสบร้อนในบริเวณทรวงอก อาการอาจจะเกิดแค่เพียงระยะสั้นๆ หรือหลายชั่วโมงก็ได้ สาเหตุหลักๆ จะเกิดจากการสูบบุหรี่จัด ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน

 

2. โรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure)

     ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นประเภทของโรคหัวใจที่มีความอันตรายเป็นอย่างมาก ถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้เลย อันเนื่องมาจากระบบการทำงานของหัวใจล้มเหลวแบบฉับพลัน อยู่ๆ ก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างที่ควรจะเป็น ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกเหนื่อยง่าย เป็นลมบ่อย ไม่มีแรงในการทำกิจกรรมประจำวัน เรื่องอะไรที่เคยทำได้แบบง่ายๆ ก็ทำได้ยากขึ้น อย่างเช่น การเดินขึ้นบันไดที่ปกติทำได้แบบง่ายๆ แต่เมื่อหัวใจอ่อนแอ หรืออ่อนกำลังลง ก็ไม่สามารถเดินขึ้นบันไดได้อีกต่อไป หรืออาจจะต้องพักระหว่างทาง เป็นต้น

 

3. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

      โดยปกติหัวใจของเราจะต้องเต้นเป็นจังหวะที่คงที่ ไม่เร็วหรือว่าช้าจนเกินไป ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หมายถึง ภาวะหัวใจเต้นเร็ว หรือช้ากว่าปกติ ไม่สอดคล้องกับการทำกิจกรรมของร่างกาย เป็นผลมาจากการนำไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติ สาเหตุอาจจะเกิดมาจาก ลิ้นหัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หรือหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หรือความผิดปกติอื่นๆ วิธีรักษาโรคหัวใจแบบนี้จะมีหลายระดับ ไล่ตั้งแต่การกินยา การจี้หัวใจด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูง และการฝังเครื่องมือพิเศษที่ทำให้การเต้นของหัวใจคงที่ สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะก็มีหลายปัจจัย การพักผ่อนไม่เพียงพอ การโหมออกกำลังกายมากเกินไป การสูบบุหรี่ ดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มชูกำลังเกินปริมาณที่พอเหมาะ การรับประทานยา หรือฉีดยาที่กระตุ้นหัวใจ เป็นต้น


 
4. โรคหัวใจ หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง

      หลอดเลือดแดงใหญ่ในร่างกายของเราทำหน้าที่เป็นเส้นทางลำเลียงเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายโรคหัวใจประเภทหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองเกิดจากการเสื่อมไปตามอายุ หรือการเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแดงใหญ่ผิดปกติ เกิดการโป่งพองหรือแตก ในประเทศไทยตำแหน่งที่พบบ่อยคือ หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้อง และในช่องอก

 
 
5. หัวใจพิการแต่กำเนิด

      หัวใจพิการแต่กำเนิดเป็นโรคหัวใจเพียงแค่ชนิดเดียวที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของเรา  เป็นความผิดปกติของการเจริญเติบโตของหัวใจขณะที่อยู่ในครรภ์มารดา ตามงานวิจัยหัวใจพิการแต่กำเนิดสามารถที่จะเกิดได้ตั้งแต่ช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ อาการก็จะมีหลากหลาย อย่างเช่น มีรูโหว่ภายฝนห้องหัวใจ หลอดเลือดหัวใจบางกว่าปกติ ลิ้นหัวใจตีบตันหรือรั่ว สามารถทำการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram) ได้ตั้งแต่ขณะอยู่ในครรภ์มารดา

 

6. โรคลิ้นหัวใจพิการจากไข้รูห์มาติก

      ไข้รูห์มาติกพบในเด็กอายุ 5 – 15 ปี เกิดจาการติดเชื้อที่เรียกว่า “เสตปโตคอคคัส” ที่บริเวณลำคอ ผู้ป่วยมีอาการไข้ ปวดข้อ ข้อบวม และที่สำคัญก็คือมีโอกาสที่จะทำให้เกิดอาการอักเสบที่หัวใจ โดยเฉพาะบริเวณที่ลิ้นหัวใจทำให้เกิดภาวะลิ้นหัวใจพิการ (ตีบหรือรั่ว) ถ้าอาการหนักอาจทำให้หัวใจวาย และเสียชีวิตได้ ปกติแล้วแพทย์จะใช้ยาเพื่อทำการรักษาไปก่อน เพื่อประคับประคองการทำงานของหัวใจ ควบคู่ไปกับการรักษาอาการแทรกซ้อนอื่นๆ แต่ถ้าหากการทำงานของหัวใจแย่ลง หรือเริ่มมีสัญญาณของหัวใจวาย มีเลือดคั่งในหัวใจ แพทย์จะต้องทำการผ่าตัดเปลี่ยน หรือซ่อมลิ้นหัวใจ ขึ้นอยู่กับลักษณะของอาการที่ปรากฏออกมา



โรคหัวใจมีกี่ประเภท ? มีอาการแบบไหนบ้างที่หลายคนยังไม่รู้ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/252


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)