Author Topic: กระชายมหิดล: วิตามิน-อาหารเสริม จำเป็นแค่ไหน เสียเงินฟรีหรือเปล่า?  (Read 183 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline siritidaporn

  • Pro Member
  • *
  • Posts: 807
  • Karma: +0/-0

เหตุผลหลักของอาหารเสริมวิตามิน คือกินแล้วช่วยบำรุงร่างกายและหัวใจ แต่อันที่จริงแล้วอาหารเสริมและวิตามินเหล่านี้ช่วยบำรุงร่างกายได้ตามที่คิดหรือเปล่า?

ในช่วงต้นปี 2021 ที่ผ่านมา วารสาร American College of Cardiology (JACC) ตีพิมพ์ชุดรีวิวอาหารเสริมและวิตามินที่อ้างสรรพคุณบำรุงหัวใจเอาไว้ โดยระบุว่าผู้ที่กินอาหารเสริมและผู้ที่กินอาหารเสริมหลอก ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงต่อหัวใจวาย หลอดเลือดหัวใจ หรือสาเหตุการเสียชีวิตจากโรคหัวใจอื่นๆ ให้น้อยลงเลย และยังระบุว่าการเลือกกินอาหารที่วิตามินจากพืชผักผลไม้ต่างๆ ยังดูมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ระบบร่างกายมีปัญหาในการดูดซึมวิตามินต่างๆ อาจจำเป็นต้องได้รับอาหารเสริมวิตามินตามที่แพทย์แนะนำ

สำหรับอาหารเสริมวิตามินที่อ้างว่ามีสรรพคุณในการลดความเสี่ยงโรคระบบหัวใจหลอดเลือด เช่น โอเมก้า-3 (omega-3 หรือ น้ำมันปลา) ข้าวยีสต์แดง และโคเอนไซม์ คิวเทน (coenzyme Q10) Dr. Pieter Cohen รองศาสตราจารย์ คณะแพทยศาสตร์ ประจำ Harvard Medical School ระบุว่า



โอเมก้า-3 หรือน้ำมันปลา

โอเมก้า-3 คือ กลุ่มของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวชนิดหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต่อระบบการทำงานต่างๆ ภายในร่างกาย ในเม็ดอาหารเสริมจะบรรจุกรดไขมันโอเมก้า-3, DHA และ EPA ที่ช่วยลดอาการบวมอักเสบได้ ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด และอาจป้องกันการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าอาหารเสริมโอเมก้า-3 หรือน้ำมันปลาจะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจวายกับผู้ที่มีความเสี่ยงได้

อย่างไรก็ตาม หากคุณไม่ได้เป็นโรคหัวใจ สามารถบริโภคน้ำมันปลา 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และกินอาหารประเภทถั่ว พืชตระกูลถั่ว และไขมันดี เช่น น้ำมันมะกอก ก็สามารถช่วยให้หัวใจแข็งแรงโดยไม่ต้องกินอาหารเสริมโอเมก้า-3


ข้าวยีสต์แดง

ข้าวยีสต์แดง คือ ข้าวที่หมักกับยีสต์สีแดงที่มีชื่อว่า Monascus purpureus ในสีแดงของยีสต์มี โมนาโคลิน เค (monacolin K) ที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งของยาลดคอเลสเตอรอลที่ชื่อว่า โลวาสแตติน การวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกหลายชิ้นระบุว่า อาหารเสริมข้าวยีสต์แดงที่มีปริมาณโมนาโคลิน เค ราว 4-10 มิลลิกรัม สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลได้

แต่อาหารเสริมข้าวยีสต์แดงส่วนใหญ่มีปริมาณโมนาโคลิน เค ราว 600 มิลลิกรัมต่อแคปซูล และมักระบุให้กิน 2 แคปซูลต่อวัน แต่ก็ไม่สามารถรู้ได้จริงว่าในแคปซูลแต่ละเม็ดมีปริมาณโมนาโคลิน เคมากน้อยแค่ไหน และตามกฎหมายอเมริกัน หากยาตัวไหนระบุว่ามีปริมาณส่วนประกอบอะไรเท่าไร จะไม่ใช่อาหารเสริม แต่เป็นยา ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเหมือนซื้อเบียร์มา 1 กระป๋องแล้วลองคาดเดาดูว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่เท่าไร ซึ่งเบียร์ส่วนใหญ่มักมีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ที่ 3.2-8% เป็นต้น ในอาหารเสริมข้าวยีสต์แดงก็มีปริมาณโมนาโคลิน เคในแต่ละแคปซูลไม่เท่ากันเช่นกัน

ถ้าอยากลดปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกายจริงๆ แนะนำยาที่ให้ผลโดยตรง และราคาถูกกว่าอย่างยาสแตตินจะดีกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องตรวจร่างกายและปรึกษาแพทย์ก่อนกินยานี้ด้วยเช่นกัน


โคเอนไซม์ คิวเทน (Coenzyme Q10)

จริงๆ แล้วโคเอนไซม์ คิวเทนเป็นสารที่ร่างกายสร้างเองได้ และเป็นแหล่งพลังงานระดับเซลล์ที่สำคัญ ช่วยสร้างพลังงานให้กับเซลล์กล้ามเนื้อ แพทย์ผู้ชำนาญโรคหัวใจบางรายแนะนำให้กินอาหารเสริมโคเอนไซม์ คิวเทนเพื่อป้องกันกล้ามเนื้อบาดเจ็บที่อาจเป็นผลมาจากการกินยาสแตติน เนื่องจากราว 10% ของผู้ที่กินยาสแตตินพบว่ามีอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ แต่สาเหตุที่แท้จริงของอาการกล้ามเนื้อบาดเจ็บยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด เพราะกล้ามเนื้อบาดเจ็บเป็นอาการที่พบได้ในผู้สูงอายุ และยังมีอีกหลายๆ สาเหตุที่อาจเป็นไปได้

หากใครที่กินยาสแตตินแล้วมีอาการกล้ามเนื้อบาดเจ็บ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเช็กให้ละเอียดว่าอาการมาจากการกินยาจริงหรือไม่ โดยอาจหยุดยาไป 1-2 เดือนแล้วลองกลับไปกินยาใหม่ (ทั้งหมดต้องขึ้นอยู่กับพิจารณาของแพทย์เท่านั้น อย่าหยุดยาเอง) หากเป็นผลมาจากการกินยาจริงๆ แพทย์อาจพิจารณาให้ลดจำนวนการกินยาลง หรือลองเป็นยาตัวอื่น หรือจะลองกินโคเอนไซม์ คิวเทนระหว่างที่กินยาสแตตินไปด้วยและเช็กร่างกายเรื่อยๆ เพราะอาหารเสริมโคเอนไซม์ คิวเทนราคาไม่แพงมาก แต่หากกินแล้วไม่ได้ผลอะไร ก็ไม่มีความจำเป็นต้องกิน

กระชายมหิดล: วิตามิน-อาหารเสริม จำเป็นแค่ไหน เสียเงินฟรีหรือเปล่า? อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://mmed.com/products/


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)