Author Topic: อาหารสุขภาพ ของผู้ป่วยติดเตียง !  (Read 115 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline siritidaporn

  • Pro Member
  • *
  • Posts: 807
  • Karma: +0/-0

อาหารเพื่อสุขภาพ เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ที่มีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง จนต้องใช้เวลาส่วนใหญ่นอนอยู่บนเตียง ซึ่งในบางรายอาจจะไม่รู้สึกตัวเลย ในขณะที่บางคนอาจจะขยับตัวได้บ้าง แต่ก็ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อย่างเต็มที่ อาจจะมีสาเหตุมากมายที่ทำให้ผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุต้องนอนติดเตียงอยู่ตลอดเวลา เช่น การเจ็บป่วยจากการเป็นโรค ประสบอุบัติเหตุ การผ่าตัดใหญ่ เป็นต้น

และการนอนติดเตียงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ เช่น การเกิดแผลกดทับ การขาดสารอาหารอย่างรุนแรง เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งจะต้องมีคนดูแลอย่างใกล้ชิด รวมถึงเรื่องที่สำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือการรับประทานอาหารของผู้ป่วยติดเตียง อย่างที่ทราบกันว่า ผู้ป่วยติดเตียงนั้น เสี่ยงที่จะเกิดภาวะขาดสารอาหารอย่างรุนแรง ซึ่งบางกรณีผู้ป่วยอาจจะไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ด้วย หรืออยู่ในภาวะที่ไม่รู้สึกตัว จึงทำให้การรับประทานอาหารเป็นไปได้ยาก จนต้องนำไปสู่การให้อาหารทางสายยาง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดสารอาหารนั่นเอง

สำหรับอาหารที่จะต้องให้กับผู้ป่วยติดเตียงควรเป็นอาหารที่อ่อน เพราะจะทำให้กระเพาะสามารถย่อยได้ง่าย เนื่องจากผู้ป่วยที่ภาวะติดเตียงนั้น จะลุก นั่ง เดิน ถือว่าลำบากมาก ซึ่งบางรายอาจจะไม่ได้ขยับตัวเลยก็มี ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้น มีผลต่อระบบย่อยอาหาร เพราะฉะนั้นเมื่อผู้ป่วย ลุกเดินเองไม่ได้ จึงต้องรับประทานอาหารที่อ่อน เพื่อที่จะได้ช่วยส่งเสริมระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้ง่ายขึ้น หรือผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือไม้รู้สึกตัว ก็ต้องให้อาหารทางสายยางให้อาหาร เพื่อที่จะได้ไม่เกิดภาวะขาดสารอาหาร รวมไปถึวช่วยรักษาสมดุลของระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายด้วย ซึ่งการให้อาหารทางสายยางนั้น ผู้ดูแลจะต้องมีความชำนาญในการให้อาหาร รวมไปถึงอาหารเองจะต้องมีคุณค่าทางอาหารที่ครบ 5 หมู่ และเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง ด้วย อย่างไรก็ตาม อาหารที่จะนำไปให้ผู้ป่วย ต้องมีความสะอาดและปลอดภัยเมื่อผู้ป่วยได้รับอาหารเข้าไปในร่างกาย อาหารจะต้องมีการคำนวณปริมาณสารอาหารให้สมดุลตามหลักทางการแพทย์ ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันที่ดี วิตามินเกลือแร่ ที่จำเป็นและเพียงพอต่อร่างกาย ผสมเข้ามาไว้ด้วยกัน ต้องออกแบบโดยนักโภชนาการที่มีความเชี่ยงชาญในเรื่องของอาหารทางสายยาง

ทั้งนี้ข้อสำคัญที่ควรคำนึงถึงอีกเรื่องหนึ่งเวลาจัดอาหารให้ผู้ป่วยติดเตียงคือ หากผู้ป่วยติดเตียงมีโรคประจำตัว ยกตัวอย่างเช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง ก็อาจจำเป็นต้องจัดอาหารพิเศษเพื่อให้เหมาะสมกับโรคนั้นๆ การจัดอาหารเฉพาะโรค ควรปรึกษานักโภชนากาและแพทย์ผู้ทำการรรักษาด้วย เพราะข้อจำกัดและสภาวะของโรคต่างๆ ของแต่ละคนย่อมต่างกัน จึงส่งผลให้การจัดอาหารแตกต่างกันด้วย แต่โดยทั่วไปแล้ว ลักษณะอาหารสำหรับผู้สูงอายุควรเป็น อาหารให้พลังงานพอเหมาะ แต่มีสารอาหารเยอะ เคี้ยวกลืนได้ง่าย ย่อยได้ง่าย อ่อนนุ่ม น่ารับประทาน สีสันสวยงาม อุณหภูมิเหมาะสม กลิ่นหอม มีรสชาตไม่จัดมาก อาจใช้เครื่องเทศ สมุนไพร ช่วยเพิ่มกลิ่นและรส และที่สำคัญเรื่องของสุขอนามัย อาหารจะต้องมีควาสะอาด การเตรียมอาหารถูกสุขลักษณะ และมีมีอนามัยที่ดี สำหรับโรคประจำตัวของผู้ป่วยติดเตียง การให้อาหารจะต้องสอดคล้องกับแผนการรักษาของแพทย์ สำหรับวัตถุดิบเพื่อนำมาประกอบอาหารให้ผู้ป่วยติดเตียง ควรเลือกข้าวกล้อง หรือแป้งไม่ขัดสีให้ได้อย่างน้อย 50% ของปริมาณข้าวแป้งทั้งวัน ผลไม้ควรมีให้หลากหลาย หวานมาก – หวานน้อย สลับกันไป หากเป็นผลไม้ที่มีเนื้อสัมผัสที่แข็ง อาจหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือใช้วิธีปั่นเป็นน้ำผลไม้ปั่น (ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม) ผักควรเลือกผักหลากหลายสี ผักสุกอาจกินได้ง่ายกว่าผักดิบ หากเป็นผักดิบต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาด และอาจหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อให้เคี้ยวได้ง่ายขึ้น เนื้อสัตว์ วรเลือกเนื้อประเภทที่มีความอ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย เช่น ปลา หรืออาจสลับกับเต้าหู้ ไข่ หากเป็นเนื้อสัตว์ที่มีความเหนียวมากขึ้น เช่น ไก่ หรือ หมู อาจหั่นเนื้อสัตว์เป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือใช้วิธีบด/สับ ถ้าหากจะให้ผู้ป่วยติดเตียงดื่มนม ควรเลือกนมพร่องมันเนย/นมขาดมันเนย หากมีอาการท้องเสีย อาจรับประทานเป็นโยเกิร์ต หรือนมปราศจากแลกโตส หรือนมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ ที่มีการเสริมแคลเซียมแทน สำหรับวิธีการปรุงอาหารควรปรุงอาหารด้วยวิธีที่หลากหลาย จะทำให้สามารถลดการใช้น้ำมันได้ เลือกเมนูอาหารที่มีหลากหลายรสชาติ จะทำให้การใช้น้ำตาล/เกลือ มีปริมาณที่ลดลงโดยอัตโนมัติ






อาหารสุขภาพ ของผู้ป่วยติดเตียง ! อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://thetastefood.com/


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)