Author Topic: หนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อเงินสด หนี้เงินกู้ ถูกฟ้อง ปรึกษาทนายเจตน์...ด่วน !!!  (Read 394 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline jetsaridlawyer

  • Newbie
  • *
  • Posts: 18
  • Karma: +0/-0

ถูกฟ้องคดี หนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อเงินสด หนี้เงินกู้

ควรรีบปรึกษาทนายเจตน์ ส่งคำฟ้องมาให้ช่วยดูโดยด่วน
1. เพื่อจะดูข้อต่อสู้เรื่องอายุความ หรือ
2. เพื่อจะดูข้อต่อสู้เรื่องไม่มีอำนาจฟ้อง หรือ
3. เพื่อขอเจรจาผ่อนชำระ หากไม่มีทางสู้ตามข้อ 1 และ 2


การไปศาลโดยไม่มีทนาย หรือ ไม่ปรึกษาทนาย เท่ากับเสียเปรียบเจ้าหนี้ไปครึ่งทางแล้ว



คดีแพ่ง ถึงแม้ว่าหนี้จะขาดอายุความแล้ว เจ้าหนี้ก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/9 ที่บัญญัติว่า “สิทธิเรียกร้องใดๆ ถ้ามิได้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ” และ ป.พ.พ. มาตรา 193/10 “สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความ ลูกหนี้มีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้”

การที่สิทธิเรียกร้อง หรือ หนี้ขาดอายุความ เป็นเพียงเหตุให้ลูกหนี้ปฎิเสธการชำระหนี้ได้เท่านั้น ไม่เป็นเหตุให้ทำให้หนี้นั้นระงับแต่อย่างใด เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิที่จะฟ้องร้องได้เสมอ โดยศาลไม่มีอำนาจที่จะพิพากษายกฟ้องได้

เมื่อถูกธนาคารหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ฟ้อง ลูกหนี้ต้องยกเหตุที่ขาดอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ เพื่อปฎิเสธการชำระหนี้ตามฟ้อง ถ้าลูกหนี้ไม่ยกเหตุขาดอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ไม่ว่าจะเพราะเหตุใดก็ตาม ศาลก็ไม่อาจยกเอาเหตุหนี้ขาดอายุความยกเป็นเหตุให้ยกฟ้องได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/29 ที่บัญญัติว่า “เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้”

ดังนั้น หนี้ที่ขาดอายุความ ไม่เป็นเหตุให้หนี้ระงับแต่อย่างใด แต่ถ้ายังเป็นหนี้กันอยู่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี แม้จะขาดอายุความหากยังไม่ชำระหนี้ให้แล้วเสร็จ ก็ยังคงเป็นหนี้กันตลอดไป

หนี้บัตรเครดิต มีอายุความ 2 ปี
หนี้เบิกเงินเกินบัญชี เป็นสินเชื่อประเภท (OD) กับ บัญชีเดินสะพัด มีอายุความ 10 ปี
หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล มีอายุความ 5 ปี
หนี้บัตรกดเงินสด / สินเชื่อเงินสด มีอายุความ 10 ปี (ไม่มีลักษณะเป็นการออกเงินทดรอง) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9043/2554 และ ฎีกา 2922/2561
หนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ มีอายุความ 2 ปี
      – ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ อายุความ 2 ปี
      – ค่าเสียหายจากการที่ผู้เช่าซื้อใช้ทรัพย์สิน อายุความ 6 เดือน
      – ค่าขาดราคา ค่าขาดประโยชน์ ค่าติดตาม เรียกให้ส่งคืนหรือใช้ราคาแทน อายุความ 10 ปี
      – การฟ้องติดตามเอารถนต์คืน ไม่มีอายุความ

หนี้ตามสัญญากู้ยืม ที่มีการผ่อนต้นคืนพร้อมดอกบี้ยเป็นงวด ๆ มีอายุความ 5 ปี
      1. ลูกหนี้ไม่มาชำระหนี้เลยนับแต่วันครบกำหนดชำระในงวดแรก การนับระยะเวลาเป็นวัน สัปดาห์ เดือน ปี มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมเข้าด้วยกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง ดังนั้น อายุความในการฟ้องคดีจะเริ่มนับถัดจากวันที่ผิดนัดชำระหนี้งวดแรก และจะสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด 5 ปี
      2. ลูกหนี้ที่มาชำระหนี้บางส่วน ไม่ว่าจะเป็นเงินต้น ดอกเบี้ย ดอกเบี้ยผิดนัด หรือ เบี้ยปรับ (ถ้ามี) อายุความในการฟ้องคดี ย่อมสะดุดหยุดลง และเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใดให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น คำว่า “ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น” หมายถึงให้เริ่มนับอายุความใหม่ในวันถัดจากวันที่ได้มีการกระทำอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 และมาตรา 193/15 โดยเริ่มนับอายุความใหม่ตามอายุความของมูลหนี้เดิม คือ 5 ปี นับแต่วันที่มาชำระหนี้บางส่วนและจะสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด 5 ปี

หนี้เงินกู้ (หนี้ตามสัญญากู้ยืมทั่วไปที่กำหนดชำระเงินต้นคืนทั้งหมดในครั้งเดียว) มีอายุความ 10 ปี ส่วนดอกเบี้ยค้างชำระ มีอายุความ 5 ปี นับแต่วันที่อาจฟ้องเรียกเอาดอกเบี้ยได้ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และมาตรา 193/33 (1) หากกรณีที่ลูกหนี้มาชำระหนี้บางส่วน ไม่ว่าจะเป็นเงินต้น ดอกเบี้ย ดอกเบี้ยผิดนัด หรือเบี้ยปรับ (ถ้ามี) อายุความในการฟ้องคดีย่อมสะดุดหยุดลง และเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใดให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น คือ ในวันที่ลูกหนี้มาชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 และ มาตรา 193/15 โดยเริ่มนับอายุความใหม่ตามอายุความของมูลหนี้เดิม คือ 10 ปี นับแต่วันที่มาชำระหนี้บางส่วนและจะสิ้นสุด เมื่อครบกำหนด 10 ปี

การที่ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14

หนังสือรับสภาพหนี้ คือ หนังสือที่ลูกหนี้ทำให้แก่เจ้าหนี้ รับรองว่าต้นเป็นหนี้อยู่จริง ก่อนที่สิทธิเรียกร้องนั้นจะขาดอายุความ “การทำหนังสือรับสภาพหนี้” มีเหตุผลที่ทำขึ้น คือ เพื่อสงวนสิทธิ์ของฝ่ายเจ้าหนี้มิให้สิทธิเรียกร้องหนี้สินของตนต่อลูกหนี้นั้นต้องขาดอายุความ อีกเหตุผลที่ทำขึ้น คือ เพื่อสงวนสิทธิของฝ่ายเจ้าหนี้มิให้สิทธิเรียกร้องหนี้สินของตนต่อลูกหนี้นั้นต้องขาดอายุความ อีกเหตุผลหนึ่ง คือ ใช้เป็นหลักฐานที่ทำขึ้นในภายหลังเพื่อป้องกันปัญหาเพราะในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น ทั้งสองฝ่ายไม่ได้ทำหนังสือ หรือ สัญญาใดๆ ไว้เป็นหลักฐานเลย สัญญารับสภาพหนี้อาจทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้กับลูกหนี้ เคยเป็นหนี้กันมาก่อน แต่ไม่มีหลักฐานในการเป็นหนี้กัน ก็มาตกลงทำหนังสือรับสภาพหนี้กันว่า เคยเป็นหนี้กันจำนวนเท่าใด จะชดใช้กันอย่างไร คิดดอกเบี้ยกันหรือไม่ ซึ่งการทำสัญญารับสภาพหนี้นี้จะทำให้หนี้ที่ไม่เคยมีหลักฐานแต่เดิมกลายเป็นหนี้ที่มีหลักฐานฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ซึ่งเป็นประโยชน์กับเจ้าหนี้ อย่างไรก็ดี การรับสภาพหนี้จะต้องเกิดขึ้นภายในอายุความตามหนี้เดิมและเป็นผลให้อายุความสะดุดหยุดลงนับแต่วันที่ทำหนังสือรับสภาพหนี้ และเริ่มนับอายุความใหม่ตามมูลหนี้เดิม

ในการเริ่มนับอายุความนั้น ให้นับจากวันที่ผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย จนถึงวันที่ศาลประทับรับฟ้องคดี ฉนั้น แม้ว่าหนี้ขาดอายุความแล้ว เจ้าหนี้ยังฟ้องลูกหนี้ให้ชำระได้ตลอดเวลา

หนี้บัตรเครดิต
หนี้สินเชื่อเงินสด ให้การต่อสู้คดี
ติดต่อสำนักงานทนายความเจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์




 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)