Author Topic: ฉนวนกันเสียง แก้ปัญหาเสียงท่อของระบบเครื่องระเหย  (Read 1850 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline siritidaporn

  • Pro Member
  • *
  • Posts: 810
  • Karma: +0/-0


ปัญหา

พื้นที่การผลิตสินค้าของโรงงานแห่งหนึ่งมีระดับเสียง 8 ชั่วโมง เกินมาตรฐาน 85 dBA ลักษณะของพื้นที่เป็นห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 30 เมตร ยาว 40 เมตร สูง 6 เมตร ผนังห้องเป็นระบบผนังที่มีผิวเรียบมัน ในห้องใหญ่นี้มีห้องคอนโทรลขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 8 เมตร สูง 3 เมตรอยู่ด้วย พนักงานที่สัมผัสเสียงเกินค่ามาตรฐานคือพนักงานที่ปฏิบัติงานนอกห้องคอนโทรล สำหรับพนักงานที่ปฏิบัติงานในห้องคอนโทรลนั้นมีปัญหาเรื่องเสียงรบกวน ทำให้ต้องตะโกนคุยกันแทนการสื่อสารแบบปกติ


สาเหตุ

เมื่อเข้าตรวจสอบบริเวณพื้นที่ทำงานเบื้องต้นพบว่าภายในห้องใหญ่มีเสียงรบกวนจากแหล่งกำเนิดโดยตรง (direct sound) และเสียงสะท้อนพื้นและผนัง (reverberation sound) แต่จากการใช้เครื่องมือในการชี้บ่งพบว่าแหล่งกำเนิดเสียงหลักในพื้นที่มาจากท่อของระบบเครื่องระเหย (evaporator) ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว 6 นิ้ว และ 10 นิ้ว (ท่อลด) ซึ่งต่อเชื่อมกันมีความยาวรวมทั้งเส้น 6 เมตร สูงจากระดับพื้น 3 เมตร เสียงแนวท่อวัดได้ 103-106 dBA ส่งผลให้ระดับเสียงเฉลี่ยภายในพื้นที่ทำงานอยู่ที่ 86-94 dBA


แนวทางการปรับปรุง

    จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางเสียงยืนยันว่าท่อลดในระบบเครื่องระเหยเป็นแหล่งกำเนิดเสียงหลัก
    ตรวจสอบความถี่เสียงแนวท่อพบว่า major frequencies อยู่ในช่วง 4000-8000 Hz
    เก็บข้อมูลเสียงทั่วทั้งพื้นที่และนำมาแสดงผลในรูปของ “แผนที่ความถี่เสียงก่อนปรับปรุง”
    คำนวณหาค่าการลดทอนเสียงของท่อ ด้วยวัสดุแบบต่างๆ พร้อมเลือกความหนาที่เหมาะสม
    พบว่าการเลือกใช้ “acoustic jackets” ติดไปที่ท่อทั้งแนวเป็น optimum solution
    ติดตั้งระบบลดเสียงให้กับท่อทั้งเส้น พร้อมเก็บข้อมูลเสียงหลังการปรับปรุงอีกครั้ง


ผลการปรับปรุง

    ระดับเสียงเฉลี่ยบริเวณที่พนักงานทำงานลดลงจาก 86-94 dBA เหลือ 77-83 dBA
    พนักงานที่ปฏิบัติงานในห้องคอนโทรล สามารถสื่อสารกันได้ปกติ ไม่ต้องตะโกน
    แก้ปัญหาเสียงดังเกินค่ามาตรฐานได้ โดยไม่ต้องทำการดัดแปลงเครื่องจักร หรือเปลี่ยนวิธีการทำงาน





ฉนวนกันเสียง แก้ปัญหาเสียงท่อของระบบเครื่องระเหย อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)