ถึงแม้ว่าภาวะฟันร้าวจะเกิดขึ้นได้บ่อยในผู้สูงอายุเนื่องจากความยืดหยุ่นของเนื้อฟันและอวัยวะรอบรากฟันลดลง แต่ที่จริงแล้วฟันร้าวสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงวัย วันนี้เรามีวิธีการรับมือกับภาวะฟันร้าวมาฝากคุณพ่อคุณแม่ทุกคน หากลูกน้อยกำลังกับภาวะดังกล่าวจะได้รักษาได้ทันเวลา
ฟันร้าวเกิดจากอะไรได้บ้าง
- พฤติกรรมเสี่ยงต่อปัญหาฟันที่ทำโดยความเคยชิน เช่น นอนกัดฟัน หรือขบฟันเป็นเวลานาน
- การรับประทานอาหารที่แข็งหรือรสจัดเกินไป
- ประสบอุบัติเหตุทำให้ฟันกระแทกกับของแข็ง
- ฟันผุจนเป็นรูขนาดใหญ่ ทำให้ฟันซี่นั้นไม่แข็งแรงและเสี่ยงต่อฟันร้าว
ลักษณะทั่วไปของอาการฟันร้าว
1. ผิวเคลือบฟันร้าว
เป็นรอยร้าวเล็กตื้น ส่งผลต่อผิวเคลือบฟันด้านนอก
2. ปุ่มฟันแตก
ปุ่มฟันแตกก็ต่อเมื่อฟันที่ใช้บดเคี้ยวแตกออก มักเกิดขึ้นบริเวณที่อุดฟันแต่มักไม่ส่งผลต่อประสาทฟัน ทำให้ไม่รู้สึกปวดมาก
3. ฟันร้าวถึงรากฟัน
มักเกิดกับฟันที่ใช้บดเคี้ยวเกิดรอยร้าวเป็นแนวดิ่งลงไปถึงรากฟัน แต่ฟันก็ยังไม่แยกออกจากกัน หากฟันร้าวไปยังรอยต่อของเหงือกและฟันแล้ว อาจต้องถอนฟันซี่นั้นออกทันที
4. ฟันแยก
เกิดจากภาวะฟันร้าวสะสมซึ่งอาจแยกฟันซี่นั้นออกจากกัน หมอฟันเด็กจะแนะนำให้รักษาฟันบางส่วนเอาไว้
5. รากฟันแตกในแนวดิ่ง
เป็นรอยร้าวจากรากฟันขยายขึ้นมายังฟันที่ใช้บดเคี้ยว หมอฟันเด็กอาจผ่าตัดรากฟันในกรณีที่ยังรักษาฟันได้
ขั้นตอนการรักษาจากหมอฟันเด็ก
หมอฟันเด็กจะทดสอบอาการฟันร้าวโดยการให้คนไข้กัดก้อนสำลีหนาๆ เมื่อหยุดกัดและเริ่มอ้าปากขึ้นจะรู้สึกปวดไปอีก 10-20 วินาที
หมอฟันเด็กจะใช้เครื่องมือตรวจผิวฟันเพื่อตรวจหาขอบรอยร้าวของฟันและย้อมฟันเพื่อให้เห็นรอยร้าวชัดขึ้น
หมอฟันเด็กจะใช้เครื่องมือ Probe เพื่อตรวจหาอาการเหงือกบวม รวมถึงหารอยแตกของฟันในแนวดิ่งซึ่งเป็นสาเหตุของเหงือกระคายเคือง
หมอฟันเด็ก X-ray ฟัน เพื่อดูปัญหาที่เกิดจากรอยร้าวของฟันว่าลามไปถึงโพรงประสาทฟันหรือไม่
หากพบรอยร้าวที่ฟัน หมอฟันเด็กจะใช้วัสดุอุดฟันเพื่อซ่อมแซมฟันซี่นั้น
หมอฟันเด็กอาจครอบฟัน โดยในช่วงแรกอาจให้ใส่ที่ครอบฟันชั่วคราวแล้วจึงเปลี่ยนเป็นที่ครอบฟันถาวร
หมอฟันเด็กอาจรักษารากฟันหากพบรอยร้าวไปถึงโพรงประสาทฟัน โดยนำโพรงประสาทฟันที่ถูกทำลายออกและซ่อมแซมความแข็งแรงของฟัน
หมอฟันเด็กอาจถอนฟันร้าว หากพบความเสียหายรุนแรงต่อโครงสร้างฟัน เส้นประสาทฟัน หรือรากฟันข้างใต้
หากพบว่าฟันที่ซี่ร้าวมีการติดเชื้อจนคนไข้รู้สึกปวดฟันเวลาเคี้ยวอาหาร หมอฟันเด็กจะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ และหากเกิดหนองในช่องปาก อาจผ่าตัดระบายหนองออก
แนะนำวิธีป้องกันฟันร้าว
แปรงฟันให้ถูกวิธี และควรแปรงอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือทุกครั้งหลังมื้ออาหารอย่างน้อย 30 นาที
เลือกแปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่ม เพื่อลดแรงกระแทกของเคลือบฟัน
หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรดสูง หรือแข็งเกินไปเพราะทำให้ฟันร้าวง่าย
ดื่มน้ำหลังจากรับประทานอาหารทันที เพื่อลดความเป็นกรดในช่องปาก
ครอบฟันหากต้องการรักษาอาการนอนกัดฟัน
หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการกระแทก เช่น การเล่นกีฬา หากเลี่ยงไม่ได้แนะนำให้ใส่ฟันยางหรือหน้ากากป้องกัน
พบหมอฟันเด็กเป็นประจำทุก 6 เดือน
หากได้รับอุบัติเหตุเกี่ยวกับฟันควรรีบพบหมอฟันเด็กทันที หากเกิดฟันหลุดออกจากปากควรทำความสะอาดฟันซี่นั้นไว้เพื่อให้หมอฟันเด็กต่อด้วยกาวอีกที
ฟันหน้าร้าวเป็นเส้น อย่าปล่อยให้ฟันร้าวสร้างรอยร้าวในใจลูกน้อย อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://bit.ly/43cwHxV