Author Topic: ดูแลสุขภาพ: ทำไม ‘ วัยทอง ’ ถึงเสี่ยง โรคกระดูกพรุน  (Read 542 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline siritidaporn

  • Pro Member
  • *
  • Posts: 776
  • Karma: +0/-0

สงสัยไหมว่า วัยทอง หรือ วัยหมดประจำเดือน (Menopause) มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับ โรคกระดูกพรุน เหตุใดผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน ถึงมีแนวโน้มสูญเสียมวลกระดูก และเสี่ยงเป็น โรคกระดูกพรุน จะตอบข้อข้องใจ และให้คำแนะนำคุณผู้หญิงในการดูแลตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยทอง


ผู้หญิง วัยทอง ต้องเจอความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง?

ผู้หญิงจะมีรังไข่ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการมีประจำเดือนและภาวะเจริญพันธุ์ แต่เมื่อผู้หญิงอายุย่างเข้าสู่ช่วงปลายของวัย 30 จะเริ่มผลิตฮอร์โมนได้ลดลง จนเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 40 ประจำเดือนของผู้หญิงอาจมาในระยะเวลานานขึ้น หรือมาในระยะเวลาที่สั้นลง มามากขึ้น หรือมาน้อยลง มาถี่ขึ้น หรือมาห่างจากเดิม และเมื่ออายุเฉลี่ยประมาณ 51 ปี รังไข่ของผู้หญิงจะหยุดการผลิตไข่ และก็จะไม่มีประจำเดือนอีก

สิ่งเหล่านี้อาจนำมาซึ่งอาการและความผิดปกติของร่างกาย เมื่อต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ช่องคลอดแห้ง ร้อนวูบวาบ หนาวสั่น เหงื่อออกตอนกลางคืน มีปัญหาการนอนหลับ อารมณ์เปลี่ยนแปลง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ผมบางลง ผิวแห้ง และโรคกระดูกพรุน


กระดูกพรุนคืออะไร?

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ โรคกระดูกที่เป็นผลมาจากประสิทธิภาพในการสร้างกระดูกใหม่ลดลง การซ่อมแซมเพื่อทดแทนกระดูกเก่าหรือกระดูกที่ได้รับบาดเจ็บก็ลดลง หรือทำได้ช้าลง ทำให้เกิดภาวะกระดูกเปราะ แตกหักง่าย กระดูกพรุนเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ด้วยปัจจัยทางกายภาพ โดยข้อมูลของสภากาชาดไทย ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2565 พบว่า ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนร้อยละ 30 มีภาวะโรคกระดูกพรุน ดังนั้น ผู้หญิงในวัยนี้จึงต้องระมัดระวังสุขภาพเป็นพิเศษ


ทำไมประจำเดือนหมด ถึงเสี่ยงกระดูกพรุน

โดยปกติ มวลกระดูกจะสลายและสร้างใหม่ได้รวดเร็วอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งอายุ 30 ปี การเสริมสร้างและซ่อมแซมของมวลกระดูกจะเริ่มช้าลง และร่างกายจะเริ่มสูญเสียมวลกระดูกไปบางส่วน

ในผู้หญิง ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีบทบาทในการขับเคลื่อนระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย ทั้งช่วยควบคุมการมีรอบเดือนของผู้หญิงให้เป็นไปตามปกติ และยังมีส่วนในการเสริมสร้างมวลกระดูกและป้องกันการสลายของมวลกระดูก

เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน ร่างกายของผู้หญิงจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ช้าลง ทำให้ระดับฮอร์โมนชนิดนี้ในร่างกายลดลงอย่างมาก และเมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่เพียงพอ การสลายของมวลกระดูกมากกว่าการเสริมสร้างซ่อมแซม มวลกระดูกจึงลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้กระดูกที่โดยปกติมีลักษณะเป็นรูพรุนคล้ายฟองน้ำที่เคยได้รับการเติมเต็มด้วยมวลกระดูกกลายเป็นรูว่าง ๆ ความหนาแน่นของกระดูกลดลง กระดูกจึงเปราะ และแตกหักได้ง่ายนั่นเอง

เข้าสู่วัยทอง ป้องกันกระดูกพรุนอย่างไรได้บ้าง?

เริ่มแรก เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยใกล้หมดประจำเดือน หรือเมื่อมีสัญญาณว่าคุณกำลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ควรวางแผนเพื่อตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก เพื่อวางแผนในการป้องกันโรคกระดูกพรุนร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นควรปรับไลฟ์สไตล์เพื่อสุขภาพกระดูกที่ดี ดังนี้

1.    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หากยังอายุไม่มาก หรือเป็นช่วงก่อนวัยหมดประจำเดือน สามารถออกกำลังกายประเภทเวทเทรนนิ่ง (Weight Training) หรือออกกำลังกายประเภทใช้แรงต้าน (Resistance Exercise) จะช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกได้ดี หากอายุมาก หรือเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว สามารถออกกำลังกายง่าย ๆ ที่มีน้ำหนักกดลงตามข้อต่าง ๆ อย่างการเดิน เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ๆ ก็ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก และยังดีต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจด้วย

2.    เสริมแคลเซียมและวิตามินดี สองอย่างนี้ควรมาคู่กัน เพราะวิตามินดีจะช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูก หากต้องการเสริมสารอาหารเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์ร่วมด้วย

3.    เลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมีผลต่อระดับฮอร์โมนต่าง ๆ และสมดุลแคลเซียมในร่างกาย เป็นปัจจัยที่ทำให้กระดูกไม่แข็งแรง

4.    ทำความรู้จักกับยาประเภทที่อาจทำให้สูญเสียมวลกระดูก ยาสเตียรอยด์ (steroid) ยารักษาอาการชัก (anticonvulsants) ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) และยารักษาโรคไทรอยด์ สามารถเพิ่มอัตราการสูญเสียมวลกระดูกได้ หากจำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาให้สอดคล้องกับการป้องกันหรือลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน แพทย์อาจแนะนำการปฏิบัติตัว อาหาร หรือการใช้ยาเพิ่มเติม เพื่อความเหมาะสม

โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่ไม่ได้มีอาการแสดงชัดเจนจนกว่าจะเกิดกระดูกแตก หรือหัก เมื่อทราบถึงปัจจัยเสี่ยง การตรวจเช็กความหนาแน่นของมวลกระดูกกับแพทย์เฉพาะทาง และวางแผนป้องกันไว้ก่อน จึงเป็นคำแนะนำที่ดีที่สุดที่จะช่วยลดความเสี่ยงและความเจ็บป่วยที่ไม่พึงประสงค์จากโรคนี้ได้


ดูแลสุขภาพ: ทำไม ‘ วัยทอง ’ ถึงเสี่ยง โรคกระดูกพรุน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://www.healthyhitech.net/


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)