Author Topic: Flipbook อีบุ๊กสัญชาติไทยลุยแดนปลาดิบ  (Read 1245 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai

สัมภาษณ์




ในตลาดโลกกระแส "อีบุ๊ก" มาแรงขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดกับการเปิดตัว "ไอแพด" ของแอปเปิล และการหั่นราคา "คินเดิล" ของร้านหนังสือออนไลน์ชื่อดัง "อะเมซอนดอทคอม" ทำให้ยอดขายที่ไปได้ดีอยู่แล้วยิ่งดีขึ้นไปอีก โดย "เจฟฟ์ เบซอส" ผู้ก่อตั้ง และซีอีโอ "อะเมซอนดอทคอม" ถึงกับประหลาดใจเมื่อเห็นตัวเลขยอดขายอีบุ๊กสำหรับคินเดิล เพราะแซงหน้าหนังสือปกแข็งไปแล้ว ทั้งที่ขายหนังสือมาแล้ว 15 ปี แต่ขายอีบุ๊กบนคินเดิลเพียง 33 เดือนเท่านั้น

สำหรับบ้านเราหลัง "ไอแพด" ออกสู่ตลาดกระแส "อีบุ๊ก" ก็เริ่มกลับมาอยู่ในความสนใจอีกครั้ง

ใครจะคิดว่าบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยเล็ก ๆ จะพัฒนา "อีบุ๊ก" สัญชาติไทยขึ้นมาโดยมีเป้าหมายเพื่อโกอินเตอร์ และวันนี้ก็ได้เข้าไปโลดแล่นในตลาดญี่ปุ่นแล้ว

"ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับ "ปริญญา พงศ์พิพัฒน์" รองประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจ การค้า และการตลาด บริษัท ทีเอ็นที มีเดียแอนด์เน็ตเวิร์ค จำกัด บริษัทเล็กคิดการณ์ใหญ่มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

- ความเป็นมาของบริษัท

เราเป็นบริษัทคนไทยเล็ก ๆ ตั้งเมื่อ 9 ปีก่อน รายได้หลักมาจากการพัฒนาเว็บไซต์ และพัฒนาซอฟต์แวร์โซลูชั่น จุดเด่นคือเราใช้ระบบจัดการข้อมูลเว็บไซต์ (CMS-Content Management System) การทำเว็บไซต์ที่ใช้ฟังก์ชั่นอินเตอร์แอ็กทีฟแม็ป อีไดเร็กทอรี่ ส่วนการพัฒนาซอฟต์แวร์โซลูชั่นมีทั้งโปรแกรมเทรดทองคำแบบเรียลไทม์ ที่เรียกว่า Gold Fex ซึ่งมีโบรกเกอร์ค้าทองในไทยใช้บริการอยู่หลายราย

พัฒนาระบบดิจิทัลไกด์สำหรับช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ ระบบ "อีไลบรารี" และล่าสุดได้ใช้โมเดล Software as a Service "SaaS" เพื่อให้บริการลูกค้าเนื่องจากต้องการให้ลูกค้าใช้งานได้ง่ายที่สุด โดยเฉพาะกับระบบอีบุ๊กที่พัฒนาขึ้นภายใต้ชื่อ "Flipbook"

- นำเข้าไปทำตลาดในญี่ปุ่นได้อย่างไร

เราจับมือกับสมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (TSEP) รวมตัวกันไปออกบูทที่ประเทศญี่ปุ่นไปครั้งแรก ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก แต่หลังจากได้ปรับกลยุทธ์ในการจัด

บูทโดยใช้คอนเซ็ปต์ลดการใช้กระดาษ ลดโลกร้อนพรีเซนต์แทนการจัดบูทแบบ เดิม ๆ ที่ผู้ประกอบการไทยมักทำเวลาไปงานเอ็กซ์โป ทำให้การร่วมงาน Web & Mobile Marketing Expo (Web-Mo) เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมาได้รับการตอบรับดีมากจนได้พาร์ตเนอร์ญี่ปุ่นรับทำตลาดให้โปรแกรมอีบุ๊กของเรา โดยเราเป็นผู้ดูแลระบบเป็นคนหาลูกค้าให้ ซึ่งไปได้ดีมากเพราะการทำตลาดในญี่ปุ่นต้องอาศัยคอนเน็กชั่นของตัวแทนเพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า

ตอนนี้มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการอีบุ๊กผ่านระบบของเราเฉลี่ย 500GB ต่อเดือน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

- ทำไมเลือกเปิดตลาดญี่ปุ่น ทั้งที่เขาเป็นเจ้าเทคโนโลยี

ตลาดญี่ปุ่นใหญ่มาก แต่มีลักษณะเฉพาะตัวสูง ขณะเดียวกันคนญี่ปุ่นตื่นตัวกับอีบุ๊กมาก มีการอ่านอีบุ๊กผ่านหลายช่องทาง ทั้งโทรศัพท์มือถือ โน้ตบุ๊ก และไอแพคขายได้เยอะมาก แต่จะให้ผู้ผลิตอีบุ๊กลงทุนซื้อซอฟต์แวร์สร้างอีบุ๊กก็เป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงเกินไป เพราะต้องใช้ทุนสูง ขณะที่ถ้าใช้ Flipbook ผ่านเว็บ Flipbooksoft.com จะเสียแค่ค่า convert ไฟล์เท่านั้น

ใช้บริการง่ายไม่ต้องดูแลระบบเอง ค่าใช้จ่ายเพียง 200 เยนต่อหน้า ทำให้แม้จะมีคู่แข่งเยอะในญี่ปุ่นก็ไม่มีปัญหา เพราะตลาดมีขนาดใหญ่ มีโอกาสเติบโตสูง

- ลูกค้าส่วนใหญ่คือใคร

ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่ต้องการสร้างอีบุ๊กเพื่อนำไปโปรโมตสินค้า หรือบริการต่าง ๆ โดยเฉพาะพวกฟรีก๊อบปี้ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างพวกสมุดหน้าเหลือง แหล่งรวมขายบ้านขายคอนโดฯ เขาจะแปลงเป็นอีบุ๊กแล้วนำไปให้ลูกค้าโหลดบนเว็บไซต์ และกระจายบนโซเชียลเน็ตเวิร์กต่าง ๆ

การทำอีบุ๊กเป็นเทรนด์ในการทำตลาด เพราะต่างกับการแปะไฟล์ PDF ไว้เฉย ๆ แม้จะอ่านได้เหมือนกัน แต่ Look & Feel ของลูกค้าต่างกัน แถมอีบุ๊กยังตอบสนองการใช้งานของลูกค้าได้ดีกว่าไฟล์ปกติ ช่วยลดต้นทุนในการพิมพ์เอกสารอีกด้วย

- โปรแกรม Flipbook ทำงานยังไง

ลักษณะการทำงานของโปรแกรม คือ เมื่อลูกค้า log in เข้าหน้าเว็บแล้วก็โหลดไฟล์ .pdf เข้าระบบให้ convert ออกมาเป็นอีบุ๊กที่มีเป็น html หรือ flash ซึ่งเร็ว ๆ นี้กำลังจะพัฒนาให้สามารถ convert สู่ฟอร์แมตอื่น ๆ เพิ่มขึ้น รวมถึงการต่อยอดให้กลายเป็นอีแค็ตตาล็อกแทร็กระบบจีพีเอสได้ด้วยให้กลายเป็นแอ็กทีฟแม็ป ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทมีความชำนาญอยู่แล้วก่อนที่จะพัฒนาให้กลายเป็นอีบุ๊กที่ใช้เป็นโซเชียล มีเดียได้

- แรงบันดาลที่เข้ามาจับตลาดอีบุ๊ก

อีบุ๊กเริ่มมีมานานแล้ว แต่พอรู้ว่า แอปเปิลจะเปิดตัวไอแพดเมื่อปลายปีที่แล้ว ตอนที่มีข่าวออกมามีแต่คนพูดถึงจึงมองว่าเป็นเทรนด์ที่มาแน่ ๆ ขณะเดียวกันไอแพดยังตอบโจทย์ทั้งการเป็นโซลูชั่นเพื่อความ บันเทิงและลดการใช้กระดาษเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน ทั้งหมดถือเป็นเทรนด์ของตลาดจึงคิดว่าจะสร้างโปรดักต์อะไรที่ตอบเทรนด์นี้ โดยเป็นสิ่งที่ไม่ต้องออกไปเร่งขาย ไม่ต้องทรานส์เฟอร์เทคโนโลยีให้ลูกค้า ไม่ต้องไปสร้างคอร์สอบรมการใช้งาน ทำให้ลูกค้าใช้งานได้ง่ายที่สุดจึงออกมาเป็นการสร้างซอฟต์แวร์แบบ as a service ขึ้นมาจน กลายเป็น Flipbook

- ปัญหา-อุปสรรค Flipbook

เซิร์ฟเวอร์เป็นเรื่องที่ทำให้หนักใจ เนื่องจากเป็นบริการแบบ SaaS จึงต้องอาศัยเซิร์ฟเวอร์ในการรันระบบ เจอปัญหาตั้งแต่วันแรกหลังเปิดตัวเมื่อเดือน พ.ค. มีคนลองใช้พร้อมกัน 200-300 คน ทำให้ระบบล่มเพราะที่ญี่ปุ่นอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์มีความเร็วสูงมาก อัพโหลดไฟล์ขนาด 30MB โดยใช้เวลาไม่ถึง 10 วินาที แต่พอเข้าเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ในไทยกลับเจอปัญหาคอขวด ส่งผลให้ลูกค้าไม่มั่นใจทั้ง ๆ ที่เราใช้เซิร์ฟเวอร์ที่เป็นคลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่งน่าจะรองรับได้แต่กลายเป็นว่าคลาวด์ไม่แท้ตอนนี้จึงต้องย้ายไปใช้เซิร์ฟเวอร์ของอะเมซอนแทน ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น

จริง ๆ ถ้ารัฐบาลเข้ามาช่วยสนับสนุนโดยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่ดีจะช่วยแก้ปัญหาได้มาก และยังเป็นการ ส่งเสริมนักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้สามารถสร้างซอฟต์แวร์แบบ SaaS ได้มากขึ้นด้วย

- วางแผนในอนาคตไว้อย่างไร

กำลังจะพัฒนาให้ระบบสามารถสร้างอีบุ๊กที่แอ็กทีฟบนโซเชียลเน็ตเวิร์กได้ดีมากกว่าจะยึดติดกับไอแพดอย่างเดียว เพื่อให้ขยายไปทำตลาดในประเทศอื่น ๆ ได้ด้วย โดยเฉพาะในตลาดเอเชีย-แปซิฟิกซึ่งมีอัตราการเติบโตของการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กสูงมาก อาทิ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ก่อนเริ่มไปบุกตลาดโซนยุโรปที่อีบุ๊กกำลังบูมมาก แต่ก็หมายถึงคู่แข่งเจ้าถิ่นที่มากกว่าโซนเอเชียจึงต้องรอให้สามารถพัฒนาโซลูชั่นการใช้งานที่โดดเด่นกว่าคู่แข่ง หากลยุทธ์ที่เหมาะสมเพราะ Flipbook มีข้อได้เปรียบเรื่องราคาอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นการ pay per used ต่างซอฟต์แวร์อีบุ๊กของเจ้าถิ่นที่มีต้นทุนค่าไลเซนส์กว่า 1 หมื่นบาทต่อเล่ม

- แล้วการทำตลาดในไทย

สำหรับการทำตลาดในไทย ตั้งเป้าไว้ไม่เกินสิ้นปีนี้จะสร้างศูนย์รวมอีบุ๊กที่ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นช่องทางในการเผยแพร่ เพื่อ ส่งเสริมให้คนไทยได้อ่านอีบุ๊กดี ๆ แบบฟรีก่อน เพื่อเป็นการสร้างกลุ่มผู้นิยมอ่านอีบุ๊กนอกเหนือจากความร่วมมือกับสำนักพิมพ์ต่าง ๆ เพื่อสร้างอีบุ๊กสโตร์เต็มตัว

โดยอีบุ๊กที่จะนำมารวบรวมไว้ในช่วงแรก น่าจะเป็นงานเขียนของนักเขียนหน้าใหม่ที่ต้องการเปิดตัวกลุ่มบล็อกเกอร์ที่ต้องการรวมเล่มงานเขียน เพราะต้นทุนการสร้างอีบุ๊กถูกกว่าผลิตเป็นเล่มกระดาษ ทั้งการเปิดตัวแบบฟรีเปเปอร์ช่วยสร้างความนิยมได้ง่ายกว่า

ส่วนนิตยสารผู้หญิง วาไรตี้ ดารา จะเป็นกลุ่มแรก ๆ หลังเปิดตัวอีบุ๊กสโตร์ เนื่องจากกลุ่มผู้หญิงตัดสินใจซื้อง่ายกว่าถ้าสินค้าโดนใจ และแมกาซีนแบบอีบุ๊กยังสามารถใส่เครื่องมือทางการตลาด รวมถึงการสร้างกลุ่มแฟนคลับได้ง่าย ซึ่งขณะนี้ได้คุยกับหลายสำนักพิมพ์แล้ว คาดว่าปลายปีนี้จะเริ่มเห็น

เพียงแต่ปัจจัยที่จะช่วยให้อีบุ๊กในไทยบูม คือ ต้องทำให้ราคาอีบุ๊กแตกต่างจากหนังสือเล่มมาก ๆ เพราะปัจจุบันราคายังต่างกัน 10-20% เท่านั้น ซึ่งตนมองว่าน่าจะทำได้ โดยเฉพาะหนังสือประเภทหนังสือพิมพ์ แมกาซีนที่มีรายได้หลักมาจากโฆษณา ขณะที่ต้นทุนในการพิมพ์สูงแบบที่เรียกว่ายิ่งพิมพ์มาก ยิ่งขาดทุน การทำอีบุ๊กจึงน่าจะตอบโจทย์ได้

ในปีหน้าตลาดไทยจะมีความพร้อมมากขึ้น ทั้งจากการมีบรอดแบนด์ที่เร็วขึ้นหลังการเปิดให้บริการมือถือ 3 จี และการเข้ามาทำตลาดอย่างเป็นทางการของไอแพดและพฤติกรรมผู้บริโภคมีความนิยมซื้อสินค้า ออนไลน์มากขึ้น แต่ยังติดปัญหาระบบการจ่ายเงินออนไลน์โดยเฉพาะสินค้ามูลค่าไม่ถึง 500 บาท เป็นมูลค่าที่คนตัดสินใจซื้อไม่ยาก

ที่มา: prachachat.net


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)