Author Topic: รวมการซื้อปืน “ถูกกฎหมาย” ในแต่ละประเทศ  (Read 286 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline siamwebsite

  • Sr. Member
  • ****
  • Posts: 419
  • Karma: +0/-0
    • http://www.facebook.com/siamwebsite
    • http://instagram.com//siamwebsite
    • http://www.twitter.com/siamwebsite

สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีพลเมืองครอบครองอาวุธปืนมากที่สุดในโลก คิดเป็น 48% ของพลเมืองที่มีปืนไว้ในครอบครองกว่า 650 ล้านคนทั่วโลก องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่เดินหน้าเก็บข้อมูลด้านความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากอาวุธปืนของสหรัฐฯ อย่าง Gun Violence Archive ระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา มีการใช้ ‘ปืน’ เป็นอาวุธลงมือก่อเหตุมากกว่า 9,538 ครั้ง มีพลเมืองอเมริกันเสียชีวิตแล้วถึง 2,522 คน และได้รับบาดเจ็บสูงถึง 4,304 คน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ มาตรา 2 (ที่แก้ไขเพิ่มเติม) ที่ให้สิทธิพลเมืองสหรัฐฯ ในการครอบครองและพกพาอาวุธปืนได้ คนเหล่านี้จึงเข้าถึงอาวุธปืนได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เยเมน ประเทศในแถบคาบสมุทรอาหรับที่กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาการใช้ความรุนแรง ภัยสงคราม และต้องการความช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเร่งด่วน รัฐบาลไม่สามารถประกันความปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชนและบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนมีลักษณะเข้าข่าย ‘รัฐล้มเหลว’ (Failed State) ซึ่งประเทศนี้นับเป็นหนึ่งในประเทศที่พลเมืองครอบครองปืนมากที่สุดในโลก เป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐฯ อังกฤษ หนึ่งในประเทศแถบยุโรปที่เผชิญกับเหตุรุนแรงและการก่อการร้ายอย่างต่อเนื่อง ตลอดช่วงปี 2017 ที่ผ่านมา แต่อาวุธที่ใช้ในการลงมือก่อเหตุส่วนใหญ่กลับเป็นมีด รถยนต์ และระเบิด จากสถิติของ Gun Control Network พบว่า นับตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา มีเหตุการณ์ที่อาวุธปืนถูกใช้เป็นอาวุธเพียง 154 ครั้งเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก หากเทียบกับสหรัฐฯ จีน เป็นหนึ่งในประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วพลเมืองส่วนใหญ่ของจีนจะไม่ได้รับอนุญาตให้พกพาและครอบครองอาวุธปืนไว้ภายในที่พักอาศัย โดยจะต้องเก็บไว้ในสถานที่ที่ทางการกำหนดหรือได้รับอนุญาตเท่านั้น อัตราการเกิดเหตุกราดยิงจึงถือว่าน้อยมาก เม็กซิโก ประเทศทางตอนใต้ของสหรัฐฯ ที่ขึ้นชื่อเรื่องการก่อเหตุอาชญากรรมและการค้ายาเสพติด เผยตัวเลขการคาดการณ์ว่า พลเมืองเม็กซิกันเป็นเจ้าของอาวุธปืนมากกว่า 15 ล้านกระบอก (2010) โดยในปี 2012 มีเพียง 3,118,592 กระบอกเท่านั้นที่ทำการขึ้นทะเบียนกับทางราชการ และมีผู้เสียชีวิตจากอาวุธปืนสูงถึง 13,505 คนในปี 2014 แคนาดา ประเทศที่มีผู้นำที่มีความสามารถและได้รับความนิยมจากมหาชนมากที่สุดคนหนึ่งของโลกอย่าง จัสติน ทรูโด เป็นอีกประเทศที่ขั้นตอนการขอซื้ออาวุธเริ่มมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จากการเปิดเผยข้อมูลของ gunpolicy.org พบว่า พลเมืองแคนาดาเป็นเจ้าของอาวุธปืนมากกว่า 8,619,328 กระบอก (2011) โดยสำนักข่าว CBC News รายงานว่า เฉพาะเดือนมกราคม ปี 2018 ที่ผ่านมา เกิดเหตุกราดยิงในกรุงออตตาวา เมืองหลวงของแคนาดามากถึง 13 ครั้ง ซึ่งคิดเป็น 40% ของเหตุกราดยิงที่เกิดขึ้นทั้งหมดตลอดปี 2013 เลยทีเดียว ญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในประเทศที่มีมาตรการควบคุมและจำกัดอาวุธปืนที่รัดกุมมากที่สุดในโลก โดย Business Insider รายงานว่า ประเทศที่มีประชากรมากกว่า 127 ล้านคนแห่งนี้ แทบจะมีผู้เสียชีวิตจากอาวุธปืนเฉลี่ยไม่เกิน 10 คนต่อปี และจากผลสำรวจของ smallarmssurvey.org เมื่อปี 2007 พบว่า การครอบครองอาวุธปืนของชาวญี่ปุ่นอยู่ในระดับต่ำมาก (คิดเป็น 0.6 คน จากประชากรทั้งหมด 100 คน) ไทย ต้องบรรลุนิติภาวะ (มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป) ผ่านการตรวจเช็กประวัติเบื้องต้น ไม่เคยต้องโทษในคดีอาญาหรือมีคดีความติดตัว ไม่เป็นคนสติฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นบุคคลที่ไร้ความสามารถ ประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่ง มีเงินหรือหลักทรัพย์และต้องมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง (โดยจะต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ยื่นเรื่องขอซื้อปืนเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน) หากผู้ที่ต้องการซื้อปืนอาศัยอยู่ภายในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ไปติดต่อดำเนินการที่ ศูนย์บริการประชาชน กรมการปกครอง ถนนนครสวรรค์ เขตดุสิต กรุงเทพฯ ถ้าหากผู้ซื้ออาศัยอยู่ต่างจังหวัด ให้ไปติดต่อดำเนินการที่ที่ว่าการอำเภอในท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่ (ตามทะเบียนบ้าน)



https://www.จําหน่ายอาวุธปืนนอกแท้นําเข้า.com/news-details.php?ID=800&N=รวมการซื้อปืน%20“ถูกกฎหมาย”%20ในแต่ละประเทศ%20ยากง่ายแค่ไหน!

--------------------
ช่องทางการติดต่อ
Line ID : @962nuaht

--------------------
ขายปืน
ซื้อปืน
ขายปืนมือสอง
ขายปืนทุกประเภท
ปืนนอกราคาถูก
ปืนหลุดจำนำ
สินค้าประเภทปืน
ปืนลูกซอง
กระสุนปืน

รับทำเว็บไซต์
รับทำเว็บไซต์ ราคาถูก
เว็บไซต์ขยายสายงาน
สยามเว็บไซต์ SIAMWEBSITE
--------------------


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)